พระเครื่อง

เพลกับย่ำค่ำ

เพลกับย่ำค่ำ

30 ก.ย. 2553

คำวัด 'วัด' เป็นพจนาตถ์เพื่อการเรียนรู้พุทธศาสน์เบื้องต้น ที่พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม นำคำที่ใช้พูด ใช้เขียนกันเป็นปกติอยู่ในวัด คือในแวดวงของพระสงฆ์ และที่เรียกว่าคนวัดในพระพุทธศาสนา และจากคำศัพท์และความหมา

 พระธรรมกิตติวงศ์ ได้อธิบายความหมายของคำว่า เพล เป็นคำย่อมาจากคำว่า เพลา ซึ่งแปลงมาจากคำว่า เวลา อีกทอดหนึ่ง

 กลองเพล หมายถึง กลองตีบอกเวลา เป็นกลองพิเศษขนาดใหญ่ ใช้ตีบอกเวลาฉันเพลของพระภิกษุสามเณร คือตีในเวลา ๑๑ นาฬิกาหรือเวลา ๕ โมงเช้าซึ่งเป็นเวลาฉันเพลของทุกวัน

 สมัยโบราณเสียงกลองเพลในวัดซึ่งดังไปถึงหมู่บ้านและในทุ่งในสวนด้วยเป็นการบอกเวลาให้ชาวบ้านรู้ว่าขณะนี้เป็นเวลาเท่าไร เพราะสมัยก่อนยังไม่มีนาฬิกาดู ต้องอาศัยเสียงกลองเพลเป็นเครื่องบอกเวลา

 กลองเพลในบางวัดใช้ตีคู่กับระฆังหลังจากพระสงฆ์ในวัดทำวัตรเย็นจบแล้ว ในกรณีเช่นนี้เรียกว่า ย่ำค่ำ
 ส่วนคำว่า “ย่ำ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ “ก. เหยียบหนักๆ ซ้ำๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่ เรียกว่า ย่ำเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลอง หรือฆ้องถี่ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ย่ำกลอง ย่ำฆ้อง, ย่ำยาม ก็เรียก, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้าทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา).”

 ในขณะที่คำว่า “ย่ำสนธยา” หรือ “ยามสนธยา” เราหมายถึง เวลาโพล้เพล้เข้าไต้เข้าไฟ เพราะ “สนธยา” มาจากคำว่า “สนธิ” ซึ่งแปลว่า “การต่อ, ที่ต่อ” ตามปรกติ “สนธยา” จะหมายถึงช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางคืนกับกลางวัน คือ ตอนเช้ามืด หรือระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือ ตอนพลบค่ำ ก็ได้ แต่ตามที่เข้าใจโดยทั่วๆ ไป มักจะหมายถึง “ตอนพลบค่ำ” หรือ “ยามโพล้เพล้เข้าไต้เข้าไฟ”

 คำว่า “สนธยา” นี้ พจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ดังนี้ “น. เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ, บางทีก็ใช้ว่า ย่ำสนธยา: ช่วงเวลาที่ต่อระหว่างกลางวันกับกลางคืน คือเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นหรือพระอาทิตย์ตก.