
ชั่วโมงเซียน-เฑาะว์ฬ่อ-เฑาะว์รันโตกับ...ยันต์หลังเหรียญ"หลวงปู่หนู กนฺตสีโล"
พระครูสันติธรรมญาณ หรือ หลวงปู่หนูจันทร์ กนฺตสีโล เจ้าอาวาสวัดป่าศิริวัฒนา เจ้าคณะอำเภอหนองหาน-กู่แก้ว ต.คอนสาย อ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี หรือในนามที่ชาวบ้านโนนถั่วดินเรียกท่านว่า หลวงปู่หนู แม้ว่าท่านจะรับนิมนต์นั่งปรกอธิษฐานจิตวัตถุมงคลในทุกงาน แต่ในการจ
ทั้งนี้เมื่อหลวงปู่หนูจัดสร้างวัคตถุมงคลรุ่นแรก ซึ่งประกอบด้วยเหรียญรูปเหมือน เนื้องทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้อทองแดง รวมทั้งรูปหล่อลอยองค์ พระพุทธรูปศิลปะคันทราช จึงได้รับความนิยมจากลูกศิษย์อย่างล้นหลาม
ด้วยเหตุแห่งความนิยมของลูกศิษย์ จึงอยากนำยันต์บนเหรียญมาอธิบาย เพื่อให้การสะสมมีคุณค่ามายิ่งขึ้น แม้ว่าอักขระเลขยันที่ปรากฎบนหลังเหรียญรุ่นแรกมียันต์ไม่กี่ตัวแต่ก็มีพุทธที่เรียกว่า "ครอบจักรวาล หรือ ดีทุกด้าน" ซึ่งมียันต์ที่น่าสนใจดังนี้
ยันต์ในองค์พระ คือ “นะ อะ สะ อุ มะ” มาจาก แก้ว ๔ ดวง ที่ใช้หนุนธาตุให้คาถาตัวอื่นขลัง ส่วนใหญ่จะเพียง ๔ คือ “นะ มะ อะ อุ” การเติม “สะ” เข้าไปนั้นเข้าใจว่าเป็นคาถามหาอำนาจที่ว่า “สัต ถา เท วะ มะนุส สา นัง” แปลว่า “พระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
“นะ บริเวณเศียร อะ บริเวณ อก ส่วน มะ สะ อุ เขียนไว้ที่ บริเวณพระบาท(ขา)”
คาถาบทนี้หลวงปู่ศุข แห่งวัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ท่านใช้ว่า “สัต ถา เท วะ มะนุส สา นัง มะ อะ อุ อิ ติ” มีพุทธคุณด้านป้องกันภัยแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง “อิ ติ” ย่อมาจากคาอิติปิโสรัตนมาลา ซึ่งเป็นพุทธคาถารวม ๕๖ พระคาถา ที่ ว่า “ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ”
คำว่า “อิ” ย่อมาจาก “อิฏโฐสัพพัญญุตะญานัง อิฏฐังธัมมังอะนุปปัตโต อิจฉันโตอาสะวักขะยังอิทธิมันตังนะมามิหัง” โดยมีอุปเท่ห์การใช้ที่ว่า “จงหมั่นภาวนา ป้องกันศาสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ทั้งให้แคล้วคลาด นิราศไพรี ศิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา”
ส่วน “ติ” ย่อมาจาก “ติณโณโยวัฏฏะทุกขัมมา ติสโสภูมีอะติกกันโต ติณณังโลกานะมุตตะโมติณณังโอฆังนะมามิหัง” โดยมีอุปเท่ห์การใช้ที่ว่า “บทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอบทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน”
"นะ มะ อะ อุ" เป็นดวงแก้ว ๔ ดวง ที่หนุนให้คาถาตัวอื่นๆ มีความเข้มขลัง โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้ "นะ" แทนแก้วใสสวยมณีโชติ สารพัดนึกกายสิทธิ์ฤทธิรวย "มะ" แทนแก้ว แก้วไพฑูรย์-หนุนความคิด ของขลังฤทธิ์ดีเด็ดคนเข็ดขาม "อะ" แทนแก้ว แก้ววิเชียร แก้วปัพชรน้ำเม็ดงาม หนักแน่นความจิตมั่นป้องกันภัย
"อุ" แทนแก้ว แก้วปัทมราชเสริมวาสนา การขายค้าหน้าที่ชมสมสมัย คาถานี้จะพบในเหรียญยันต์น้ำเต้าของ "พระครูรัตนรังษี" หรือ "หลวงพ่อพุ่ม จันทโชโต" วัดบางโคล่นอก เขตยานนาวา กทม.
ส่วนตัวเฑาะว์ (มีตัว ว. การันต์) ที่ใช้ประกอบวางอย่างระหว่างอุณาโลม บนเศียรพระ คือ “เฑาะว์ฬ่อ”โดยมีอุปเท่ห์การใช้ที่ว่า “มีพุทธคุณด้านเมตตา มหานิยม” โดยการเขียนตัว “เฑาะว์ฬ่อ” ในเหรียญหลวงปู่หนู เขียนเพียงครึ่งตัวเท่านั้น ทั้งนี้หากเป็น “ยันต์เฑาะว์” ของ หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จ.สมุทรสงคราม หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จ.อยุธยา จะเรียกว่า “ยันต์เฑาะว์รันโต” โดยระหว่างลงยันต์บนกระหม่อม หลวงพ่อจะภาวนา โดยเริ่มจากการตั้งนะโม ๓ จบก่อน จากนั้นก็จะบริกรรม “ท้อรันโต ศีละสมาธิ ท้อรันโตตันติ นะมัตถุโน ท้อรันโต นะกัมมัถฐานัง ท้อพุทธา นะมามิหังฯ”
ในขณะที่การเรียกสูตรเฑาะว์ตำราของ อ.เทพ สาริกบุตร ผู้รวมพระคัมภีร์รวมนะอักขระวิเศษต่างๆ และผู้ชำระตำราไสยศาสตร์ไทย จะใช้ว่า “ท้อรันโต สิละสมาธิ ท้อรันติ มะละมัตตะโน ท้อรันโต กัมมะถานัง ท้อรันตันตัง นะมามิหัง” นอกจากนี้แล้วก่อนที่จะเขียนอุณาโลมให้บริกรรมว่า “ท้ออุณาโลมาเนาวะนาถัง ท้อทุเสสังสัมภะโว พุทธังสรณังคัจฉามิ ธัมมังสรณังคัจฉามิ สังฆังสรณังคัจฉามิ” โดยมีอุปเท่ห์คือ “ให้ลงใส่กระดานชนวนทำผงทาตัว เป็นมหาทรหดคงทน ให้ลงใส่ในใบพลูแล้วม้วนกิน เวลาจะกินให้เสกด้วยคาถานี้ “ท้อฬ่อ” กินเข้าไปเถิดอยู่คงดี”
นอกจากนี้แล้วเมื่อมีการเขียนเส้น ล้อมรอบ หลายๆ ชั้น และ มีการใช้ยันต์ ตัวอื่นๆ มาเขียน ประกอบด้วย เช่น ของหลวงปู่ศุข แห่งวัดมะขามเฒ่า ทำให้มีการ เรียกชื่อตามตัวยันต์อื่นๆ ที่เป็นยันต์ประกอบ เช่น เฑาะว์หะวัง เฑาะว์พุทธคุณ เฑาะว์พระนิพพาน เฑาะว์พระรัตนไตร เฑาะว์อะระหัง ในขณะที่สำนักวัดกลางบางแก้ว นครปฐมมีเฑาะว์ ๒ ตัว ที่ปรากฏในวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลัง คือ "เฑาะว์มหาอุด" และ "เฑาะว์มหาพรหม"
ชาติภูมิหลวงปู่หนูจันทร์
"หนูจันทร์ รัตนขันแสง" เป็นชื่อและสกุลเดิมของ “หลวงปู่หนู” เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๕ ชีวิตสมณะของท่าน เริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๘ อายุได้๑๓ปี บรรพชาเป็นสามเณรหนูจันทร์ ที่วัดโพธิ์ศรีบ้านจีต ต.บ้านจีต อ.หนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีหลวงปู่บุญมี เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นพระอาจารย์องค์แรกของท่าน
หลวงปู่หนู ท่านมุ่งมั่น ศึกษาวิทยาคม คงแก่เรียนศึกษาปฏิบัติและรอบรู้ในสรรพวิชามากมายหลายแขนงรูปหนึ่งของภาคอีสาน เครื่องรางของขลังที่ท่านปลุกเสก มีพุทธคุณโดดเด่นในหลายด้าน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอานุภาพพร้อมประสบการณ์อันเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้ที่มีไว้บูชามาแล้วอย่างโชกโชนหลายเหตุการณ์ พระเครื่องและเครื่องรางของขลังของท่านปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่ลูกศิษย์และได้รับความต้องการจากประชาชนชาวอีสานเป็นอย่างมาก
วัตถุมงคลที่จัดสร้างในนามหลวงปู่หนูเป็นครั้งแรก ซึ่งได้ประกอบพิ ณ อุโบสถ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างในครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมทำบุญนำปัจจัยรายได้มาปรับปรุงเสนาสนะบริเวรภายในวัด และร่วมสมทบทุนจัดงานพิธีฉลองโบสถ์พระราชทาน ที่จะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้า พุทธศาสนิกชนร่วมบุญได้ที่วัดป่าศิริวัฒนา โทร.๐๘๙-๖๑๙-๔๔๘๔ , ๐๘๖-๒๓๔-๗๓๙๗ และ ๐๘๐-๘๔๐-๙๐๔๘
อ.โสภณ