วิปัสสนา-กรรมฐาน-สมถกรรมฐาน
วัดและศาสนสถานที่เน้นปฏิบัติธรรม หรือที่นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า "วัดปฏิบัติ" นั้น มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่สำนักสงฆ์ สำนักปฏิบัติธรรม ธรรมสถาน รวมทั้งที่เป็นวัดโดยตรง ซึ่งแต่ละแห่งก็จะเน้นการปฏิบัติที่เข้มงวดแตกต่างกัน ในการปฏิบัติธรรมนั้นจะมีคำอยู่ ๓ คำที่ม
ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "วิปัสสนา" แปลว่า การเห็นแจ้ง ความเห็นวิเศษ ญาณพิเศษ ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง
วิปัสสนา หมายถึง การรู้แจ้งเห็นจริงสภาวธรรมตามที่เป็นจริง คือปัญญาที่เห็นความจริงของสังขารทั้งปวงว่า ตกอยู่ในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นถือมั่นในสังขารเสียได้
วิปัสสนา เป็นชื่อของปัญญาสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยการฝึกอบรมกรรมฐาน
ในขณะที่คำว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า กรรมฐานเป็นอุบายเรื่องปัญญา กรรมฐานทำให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึง การปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก
วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้โดยการพิจารณาสภาวธรรม หรือนามรูป ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ให้เป็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่า สภาวธรรมเหล่านี้ตกอยู่ในสามัญลักษณะ หรือ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิงที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลัก คู่กับสมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก
ส่วนคำว่า "สมถกรรมฐาน" คือ กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ได้แก่ การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจโดยใช้สติเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญา มุ่งให้จิตสงบระงับจากนิวรณ์ ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตใจ ไม่ให้บรรลุความดีเป็นสำคัญ
สมถกรรมฐาน เป็นอุบายวิธีหยุดความฟุ้งซ่านแห่งจิต ซึ่งมักจะฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ หยุดความคิดของจิตไว้ โดยใช้สติยึดดึงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมาบริกรรมจนกระทั่งจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้น และสงบระงับไม่ฟุ้งซ่านต่อไป
สมถกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งบริหารจิตเป็นหลัก คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน ที่มุ่งการอบรมปัญญาเป็นหลัก
"พระธรรมกิตติวงศ์"