พระเครื่อง

คำวัด - มรณภาพ-มรณัสสติ

คำวัด - มรณภาพ-มรณัสสติ

03 มี.ค. 2554

เสียงกลองจากวัดที่เราได้ยินกันจนคุ้นหู คือการตีกลองเพลเวลา ๑๑.๐๐ น. เพื่อบอกเวลาฉันเพล ทั้งนี้จะตีโดยใช้ไม้เดียว ๓ ลา (ลา มาจากการรัวกลองหรือระฆังจนข้อมือล้า) จากช้าไปเร็วสุด จบด้วยการตี ๓ ครั้ง ส่วนเสียงระฆังนั้นหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนัก โดยเฉพา

   ยิ่งเป็นการตีกลองพร้อมๆ กับการตีระฆังมักไม่ค่อยได้ยิน เพราะเมื่อไรที่จังหวะการตีกลองระฆังไม่เป็นจังหวะเหมือนย่ำค่ำ แสดงว่า มีเหตุร้ายเกิดขึ้นในวัด เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น พระภิกษุมรณภาพ หรือต้องอาบัติหนักถึงขั้นปาราชิก เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรีบออกไปที่วัดทันที

 ในกรณีการมรณภาพของพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี และพระพรหมกวี เจ้าคณะภาค ๑๐ และเจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม กทม. หากใครอยู่ใกล้วัดจะได้ยินเสียงการตีกลองระฆังไม่เป็นจังหวะ เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรีบออกไปที่วัดทันที

 ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า "มรณภาพ" อ่านว่า “มอ-ระ-นะ-ภาพ” ไว้ว่า ตาย หรือความตาย

 มรณภาพ เป็นกัปปิยโวหารที่ใช้แก่ภิกษุ สามเณรโดยเฉพาะ เว้นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อพระภิกษุสามเณรทุกระดับชั้นตาย ไม่ใช้ว่าตาย มรณะ ถึงแก่กรรม หรือสิ้นลมหายใจ เป็นต้น อันเป็นคำสาธารณะทั่วไป แต่ใช้ว่า มรณภาพ หรือถึงแก่มรณภาพ เหมือนกันหมด เช่นใช้ว่า
 “พระขาวมรณภาพ”
 “มหาเขียวถึงแก่มรณภาพ”
 “สมเด็จฯมรณภาพในปีนั้นพอดี”
 ในกรณีสมเด็จพระสังฆราช ใช้ว่า สิ้นพระมรณภาพชนม์

 ส่วนคำว่า “มรณัสสติ” เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า การระลึกถึงความตาย เป็นวิธีบำเพ็ญกรรมฐานข้อหนึ่งในอนุสสติ ๑๐ เขียนว่า มรณสติ ก็มี

 มรณัสสติ คือการใช้สติพิจารณากำหนดความตายเป็นอารมณ์ นึกถึงความตายอันมีแก่ตนเองแน่นอน โดยนึกว่า “มรณธัมโมมหิ มรณัง อนติโต” แปลว่า “เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้” นึกอย่างนี้เป็นประจำจนเกิดความเคยชิน จิตก็จะสงบเป็นสมาธิ คลายความยึดมั่น ถือมั่นในชีวิตลงได้

 มรณัสสติ มีอานิสงส์ คือ เมื่อระลึกอยู่เนืองๆ ย่อมส่งผลให้มองเห็นสามัญลักษณะของชีวิต คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ชัดเจน ทำให้ได้สติคิดทำให้ปล่อยว่า เสียสละ ไม่สะสม ไม่กลัวความตาย และจะไม่หลงตาย

"พระธรรมกิตติวงศ์"