ศรัทธาสายมู

รู้จัก พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม  ที่ เวฟ สาริน นิมนต์ฉันเพลถึงบ้านพัก

รู้จัก พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม ที่ เวฟ สาริน นิมนต์ฉันเพลถึงบ้านพัก

26 มิ.ย. 2566

ท ำความรู้จักกับ เกจิดังแห่งเมืองตรัง พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ หรือ วัดในเตา หลัง เวฟ สาริน นิมนต์ฉันเพลที่บ้าน


ความศรัทธาในเกจิอาจารย์ มีกันทุกวงการ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ศักดิ์ดา พานิชย์ ได้โพสต์ข้อความว่า "วันนี้ 26 มิถุนายน 2566 “คุณเวฟ สาริน” และ “คุณบุ้ง”ภรรยา พร้อมครอบครัว นิมนต์ พระอาจารย์ประสูติ ฉันเพลที่บ้าน พร้อมกับทำบุญบ้าน  บรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นมื่น แถมพระอาจารย์เมตตา อุ้มลูกคุณเวฟ นั่งตักด้วย บอกแล้ว พระอาจารย์ผมเวลายิ้มใจดีจริงๆๆครับ "

รู้จัก พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม  ที่ เวฟ สาริน นิมนต์ฉันเพลถึงบ้านพัก

ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กคนเดียวกัน ได้โพสต์รูปบรรยากาศภายในบ้านของเวฟ สาริน และครอบครัว นิมนต์ พระเกจิดังในภาคใต้ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม เจ้าอาวาสวัดในเตา จ.ตรัง ฉันภัตราหารเพล และถ่ายรูปเป็นที่ระลึก 

รู้จัก พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม  ที่ เวฟ สาริน นิมนต์ฉันเพลถึงบ้านพัก

สำหรับ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม เป็นอีกหนึ่งพระเกจิทางใต้ท่านคมในฝัก เก่งกล้าพุทธาคม โดยประวัติของ พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม แห่งวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์(วัดในเตา) จ.ตรัง  นับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ท่านหนึ่งในช่วง4-5ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งถ้ามีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ๆ จะต้องมีพระอาจารย์ประสูติ วัดในเตา ร่วมพิธีด้วยเสมอ พระเครื่องและวัตถุมงคลที่ท่านสร้างมีเยอะมากพอสมควร แต่จำนวนการสร้างแต่ละอย่างจะไม่มากนักแต่หลากหลาย โดยเฉพาะ เครื่องรางของขลัง ที่ท่านสร้างออกมาจะเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์โดยตลอดมา เช่น หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ที่เป็นตะกรุดจะหายากมากไม่ค่อยมีหมุนเวียนในสนามพระ

พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม แห่งวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์(วัดในเตา) จ.ตรัง

ซึ่ง พระอาจารย์ประสูติ มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์วิชาการผูก"หุ่นพยนต์" ซึ่งหุ่นพยนต์ ของพระอาจารย์ประสูติ จะเป็นได้ทั้งหญิงและชาย หุ่นพยนต์ รุ่นแรก ท่านทำจากตะกรุดจารอักขระด้ายที่ร้อยจะเป็นสีเหลืองทอง ยุคต่อมาจะเป็นไหมสีขาว และต่อมาก็เป็น หุ่นพยนต์มงคลเก้า หรือ หุ่นพยนต์มหามงคล 9, หม่อมกวัก,หน้ากากมโนราห์ หน้ากากพรานบุญ,เสือนอนกิน,เจ็ดนารีพันหลัก,ตะกรุด,ผ้ายันต์,ศาสตร์ดวงตราพลังจักรวาล,และอีกมากมาย 

สำหรับ วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ หรือวัดในเตา หมู่ที่ 1 ต.ในเตา อ.ห้วยยอด จ.ตรัง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากวัดหนึ่ง เป็นสายสำนักเขาอ้อ ซึ่งพระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาส วัดในเตาในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย อีกทั้งยังเป็นพระนักพัฒนา ทำให้เป็นที่นับถือศรัทธาจากชาวบ้านโดยทั่วไป ทั้งใน จ.ตรัง จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และใกล้เคียง


พระอาจารย์ประสูติ มีนามเดิมว่า สูตร คงฤทธิ์ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2508 ณ หมู่ที่ 2 บ้านห้วยหลุด ต.ห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายประดิษฐ์ และนางสนิท คงฤทธิ์ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนยางพารา หาเงินส่งเสียให้ลูกๆ ได้เล่าเรียนหนังสือ


เมื่อวัยเยาว์ ท่านได้เรียนหนังสือระดับประถมศึกษา ณ โรงเรียนบ้านทุ่งต่อ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ได้ไปพักอยู่ประจำที่วัดในเตา กับ หลวงปู่แสง ธมฺมสโร เจ้าอาวาสวัดในเตา ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองตรัง สายสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง เลยทำให้ พระอาจารย์ประสูติ มีโอกาสได้ศึกษา เล่าเรียนสรรพวิชาต่างๆจากหลวงปู่แสง จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนห้วยยอด จ.ตรัง

พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม แห่งวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์(วัดในเตา) จ.ตรัง
การอุปสมบท ไพระอาจารย์ประสูติ ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดห้วยยอด จ.ตรัง ในปี 2529 โดยมีพระครูนิมิตสังฆคุณ เจ้าคณะอำเภอห้วยยอด เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระอาจารย์ประสูติ เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้วก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและพระปริยัติธรรม สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ก่อนกราบลาพระอุปัชฌาย์ เพื่อออกธุดงค์วัตร เสาะแสวงหาพระเกจิอาจารย์ชื่อดังตามภาคต่างๆ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาความรู้ เริ่มต้นเรียนจากหลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา

พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม แห่งวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์(วัดในเตา) จ.ตรัง

ซึ่งขณะนั้นในบริเวณรอบวัด ถือเป็นพื้นที่สีแดง แต่หลวงปู่แสงและพระอาจารย์ประสูติ สามารถอยู่จำพรรษาได้อย่างปกติสุข เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้าน กราบลาอาจารย์ออกธุดงค์ เพื่อไปศึกษาวิชาความรู้หลังร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่แสง ท่านได้กราบลา เพื่อเดินทางไปศึกษาวิชากับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น เดินทางไปภาคเหนือ เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ครูบาเหมย วัดศรีดงเย็น จ.เชียงใหม่ เดินทางลงมายังภาคกลาง เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดถ้ำแผด จ.กาญจนบุรี
ส่วนภาคใต้ ท่านเดินทางไปยังหลายวัด เพื่อขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ อาทิ หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน จ.ชุมพร, พระครูบุญญาภินันท์ หรือพระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา, หลวงปู่ชื่น วัดทุ่งชน จ.ตรัง เป็นต้น

พระครูรัตนสิกขการ หรือ พระอาจารย์ประสูติ ปิยธมฺโม แห่งวัดถ้ำพระพุทธโกษีย์(วัดในเตา) จ.ตรัง
การออกธุดงค์เสาะแสวงหาพระอาจารย์ ของพระอาจารย์ประสูติ เพื่อศึกษาวิชาความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ทำให้เป็นพระนักปฏิบัติดี ปฏิบัติมั่นในพระธรรมวินัย ศีลาจารวัตรงดงาม แข็งแกร่งในวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีสมาธิแก่กล้า จนเป็นที่เลื่องลือ ในด้านการปลุกเสกเครื่องรางของขลังเด่นในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม


พระอาจารย์ประสูติ เดินทางกลับ จังหวัดตรัง และใน ปี พ.ศ.2540 พระอาจารย์ประสูติ ท่านได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยยอด อ.ห้วยยอด จ.ตรัง อีกครั้ง และต่อมา พ.ศ.2535 หลวงปู่แสง เจ้าอาวาสวัดในเตา มรณภาพลง ทำให้วัดแห่งนี้แทบจะกลายเป็นวัดร้างไป เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาสและพระลูกวัดอาศัยอยู่อย่างถาวร แม้จะมีพระสงฆ์หลายรูปหมุนเวียนกันมาเพื่ออยู่จำพรรษาที่วัดในเตา แต่ท้ายสุดไม่สามารถอยู่ได้และต้องย้ายออกไป


อย่างไรก็ตาม เมื่อชาวบ้านรับทราบว่า พระอาจารย์ประสูติ เดินทางกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดห้วยยอด ในฐานะที่เป็นศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่แสง มากที่สุด และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเช่นเดียวกับหลวงปู่แสง บรรดาชาวบ้านจึงได้ไปกราบนิมนต์ขอให้พระอาจารย์ประสูติ เป็นเจ้าอาวาสวัดในเตา นับตั้งแต่ พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน แม้ชื่อจริงของท่านคือ สูติ แต่ลูกศิษย์ลูกหาตลอดจนผู้ที่เคารพนับถือ ถนัดที่จะเรียกท่านว่า พระอาจารย์ประสูติ จนติดปาก จะมีบ้างที่ศิษย์ต่างจังหวัดจะเรียกว่า "หลวงพ่อประสูติ" ทั้งนี้ พระอาจารย์ประสูติ มีวิชาความรู้เกี่ยวกับพิธีการปลุกเสกจตุคามรามเทพ มาแต่สมัยยังเป็นสามเณร ที่วัดห้วยยอด ด้วยเคยติดตามหลวงปู่แสง ไปร่วมพิธีปลุกเสก ณ วิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530
ด้วยชื่อเสียงของท่านที่ขจรขยายไปทั่ว ทำให้วัดในเตา เป็นสถานที่หนึ่ง ในพิธีปลุกเสกจตุคามรามเทพไปโดยปริยาย

ดังนั้น หากในประเทศไทยหรือในภาคใต้ มีวัดแห่งใดประสงค์ที่จัดสร้างจตุคามรามเทพ นอกเหนือไปจากวิหารหลวง จ.นครศรีธรรมราช และวัดเขาอ้อ จ.พัทลุง เพื่อประกอบพิธีแล้ว วัดในเตา จ.ตรัง เป็นอีกหนึ่งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นิยมใช้ในการทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องรุ่นต่างๆ
สำหรับวัดในเตา ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.2203 มีพระพุทธรูปที่สวยงามและศักดิ์สิทธิ์ ในสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประดิษฐานอยู่คู่กับวัด 3 องค์ คือ พระพุทธโกษีย์ พระธรรมรูจี และพระศรีไกรสร โดยได้นำเอาชื่อของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ประดิษฐานอยู่ในถ้ำ มาตั้งเป็นชื่อวัด

และภายในถ้ำแห่งนี้ เป็นที่ร่ำลือกันว่า มีเหล็กไหล ฝังอยู่มานานหลายร้อยปีแล้ว เป็นผลทำให้มีชาวบ้านจำนวนมาก แอบลักลอบเข้าไปขุดเหล็กไหล สร้างความเสียหายอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์ประสูติ จึงได้นำเหล็กไหล ที่ได้กระทำพิธีขอพลีขึ้นมาจากใต้ถ้ำ รวมน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ไปฝังเอาไว้ใต้พระประธานภายในอุโบสถวัด เพื่อต้องการแก้ปัญหาการทุบทำลายถ้ำ ขโมยเหล็กไหล และพระอาจารย์ประสูติ ท่านได้นำเหล็กไหล บางส่วนมาสร้างเป็นพระเครื่องต่างๆ หลากหลายรูปแบบ แต่จำนวนการสร้างแต่ละแบบน้อยมากเลยไม่ค่อยมีใครพบเห็น และหลายๆคนที่มีก็ไม่ยอมปล่อยให้เช่าบูชากัน พระเครื่องและเครื่องรางของขลัง ยุคแรกๆของท่านส่วนใหญ่จะสร้างน้อยเพราะทำกันเองที่วัด และพระเกจิอาจารย์อีกท่านหนึ่งที่มักจะเจอคู่กันบ่อยๆในพิธีต่างๆ คือ พระอาจารย์หรีด วัดป่าโมกข์ จ.พังงา ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาจารย์อีกรูปหนึ่งของ พระอาจารย์ประสูติ