ศรัทธาสายมู

เปิดปฏิทินเช็กวันทำบุญ ฤกษ์ยามที่ดี กับ วันพระและฤกษ์ดี เดือนตุลาคม 2566

เปิดปฏิทินเช็กวันทำบุญ ฤกษ์ยามที่ดี กับ วันพระและฤกษ์ดี เดือนตุลาคม 2566

26 ก.ย. 2566

กางปฏิทินเช็กให้พร้อม กับ วันทำบุญทำกุศล พร้อมฤกษ์ดิถีมงคล สำหรับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ของเดือนตุลาคม 2566

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ และ วัน 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี
 

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น

เปิดปฏิทินเช็กวันทำบุญ ฤกษ์ยามที่ดี กับ วันพระและฤกษ์ดี เดือนตุลาคม 2566

สำหรับ วันพระในเดือนตุลาคม 2566 นั้น ได้แก่ 

วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีเถาะ
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีเถาะ
วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีเถาะ(วันออกพรรษา)

ส่วนฤกษ์มงคลต่างๆ ในเดือนตุลาคม 2566 ที่น่าสนใจมีดังนี้ 

เปิดปฏิทินเช็กวันทำบุญ ฤกษ์ยามที่ดี กับ วันพระและฤกษ์ดี เดือนตุลาคม 2566

ฤกษ์คลอดเดือนตุลาคม 2566 ฤกษ์ผ่าคลอด
ฤกษ์คลอดลูก 2566    เวลาผ่าคลอดมงคล    ดิถีมงคล
วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566    07.55 – 18.42 น.    เทวีฤกษ์
วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2566    09.06 – 18.56 น.    มหัธโนฤกษ์
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566    07.55 – 15.06 น.    ภูมิปาโลฤกษ์
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566    08.36 – 19.30 น.    ราชาฤกษ์

ฤกษ์ออกรถเดือนตุลาคม 2566 

วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม 2566      เวลาดี 06.09 น. – 08.39 น.    ดิถีมงคล ราชาโชค, ชัยโชค, อำมฤตโชค
วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566  เวลาดี  13.39 น. – 15.09 น. ดิถีมงคล    ชัยโชค
วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566      เวลาดี 09.19 น. – 10.48 น.    ดิถีมงคล มหาสิทธิโชค (วันธงชัย ตุลาคม 2566)
วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566      เวลาดี  06.01 น. – 09.19 น.    ดิถีมงคล มหาสิทธิโชค
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 เวลาดี     13.13 น. – 15.36  น. ดิถีมงคล    ชัยโชค, อำมฤตโชค

ฤกษ์แต่งงาน เสริมความมั่นคง

วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566
วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม 2566


ฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่
วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2566
วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566
วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม 2566