ศึกษาประวัติเกจิสายเหนียว 'หลวงพ่อนอ จันทสโร' วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
ทำความรู้จักสำหรับเซียนรุ่นใหม่ กับ ประวัติของพระเกจิอาจารย์ ที่ จอมพล ป. เทิดทูนเหนือหัว 'หลวงพ่อนอ จันทสโร' วัดกลางท่าเรือ อยุธยา เจ้าตำรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ
'ตะกรุดข้า ดอกละ 500 ยิงออกไม่ต้องเอาไป ' นี่คือคำกล่าว ที่เล่าขานกันเป็นตำนาน ของหนึ่งในครูบาอาจารย์รุ่นเก่าแห่งแดนสรรพวิทยาคม เมืองกรุงศรีอยุธยา ของ พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลางท่าเรือ ที่มีเรื่องเล่ากล่าวขานในหมู่นักเลงพระเครื่อง ผุ้นิยมวัตถุมงคล ที่ว่ากันว่า ตะกรุดหนังเสือของท่านเหนียว ฟันแทง ยิงไม่เข้า ไม่ออก เป็นเกจิอาจารย์ที่แม้แต่ จอมพลแปลก ขีตะสังคะ หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีเคารพนับถืออย่างสูง
สำหรับประวัติของ พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ จันทสโร วัดกลางท่าเรือ นั้น ท่านเกิดวันอังคารที่ 31 มกราคม 2435 ตรงกับขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ณ บ้านศาลาลอย อ.ท่าเรือ เป็นบุตรของ นายสวน นางพุฒ งามวาจา บรรพชา อายุ 17 ปี ณ วัดกษัตราธิราช อุปสมบท ปี 2458 ณ วัดศาลาลอย มรณภาพ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2521 ตรงกับขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย รวมสิริอายุ 86 ปี 63 พรรษา
โยมบิดาของท่านตั้งนามว่า "นอ" อายุได้ 7 ขวบ ได้เข้าเล่าเรียนอักขระสมัยกับพระสวย ที่เป็นหลวงลุงที่วัดกษัตราธิราช และได้บรรพชาเป็นสามเณรที่นั่น อายุครบบวชจึงได้อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศาลาลอย และได้เล่าเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์นาค และพระอาจารย์วงษ์ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ที่มีอาคมแก่กล้าเป็นที่นับถือในหมู่คนทั่วไป
โดยจากข้อมมูลที่ค้นคว้าได้นั้น กล่าวว่า พระอาจารย์วงษ์ ท่านเก่งทางด้านคงกระพัน พระอาจารย์นาคเก่งทางด้านมหาอุด โดยได้ศึกษามาจากสำนักวัดประดู่ทรงธรรม พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตักศิลามหาเวทย์ ที่เข้มขลังแต่ครั้งโบราณนานมา หลวงพ่อนอ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางท่าเรือ เพราะญาติโยมที่เคยเห็นสรรพคุณของท่านมาก่อนได้ นิมนต์มาช่วยสร้างวัด เพราะตอนนั้นวัดกลางท่าเรือเป็นวัดที่แทบจะเป็นวัดร้าง หลวงพ่อนอจึงได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวกับกรรมการวัดว่า ไม่เป็นไรหรอก เมื่อไว้ใจให้ฉันมาช่วยสร้างวัด คอยดูนะ ฉันจะจารตะกรุดสร้างวัดให้พวกแกดู การก็เป็นความจริง หลวงพ่อนอลงตะกรุดโทนตะกรุดหนังหน้าผากเสือหาเงินเข้าสร้างโบสถ์และเสนาสนะ ปรากฏว่า ตะกรุดโทนหลวงพ่อนอ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านท้ายิงได้ทุกดอก ยิงออกไม่ต้องเอาเงินทำบุญ
สำหรับหนังหน้าผากเสือนั้น ในทางความเชื่อแต่โบราณมา กล่าวไว้ว่า ดีทางมหาอำนาจสูงมาก แต่ทั้งนี้เสือนั้นมีดี 3 อย่าง ได้แก่ 1.เป็นเจ้าป่า มีตบะเดชะมหาอำนาจ แค่เพียงกลิ่นสาปเสือโชยไปกระทบสัตว์อื่นเป็นต้องหวาดกลัว 2.ถึงแม้เสือจะเป็นสัตว์ที่ดุและน่ากลัวแต่คนก็อยากเห็นและอยากเจอเสือ ข้อนี้ท่านว่าเป็นเมตตามหานิยม 3.หากินคล่องไม่มีฝืดเคืองเรื่องอาหาร
หลวงพ่อนอท่านลงตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ถวายพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2495 มีข้อมูลจากบันทึกของสำนักราชเรขาธิการ ลงวันที่ถวาย 10 สิงหาคม 2495 และพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้จัดไตรครองนำมาถวายหลวงพ่อนอ 1 ชุด ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2495
แต่เดิมนั้น หลวงพ่อนอ ท่านสร้างจะใช้แต่หนังเสือเพียงอย่างเดียวมาทำการปลุกเสกเมื่อเสร็จ ก็ทำการแจกจ่ายให้ชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ในระแวกนั้นนำไปใช้พกติก ตัวทำกิจวัตรประจำวัน ทำให้ตระกรุดโดนเหงื่อโดนน้ำโดนฝน ก็ทำให้ตระกรุดเกิดความเสียหาย ยุ่ยเปื่อย เสียรูปทรงง่าย หลวงพ่อคงทราบจากชาวบ้านหรือลูกศิษย์ ก็จึงคิดพัฒนาโดยการนำไม้ไผ่มาเหลาไว้เพื่อใช้เป็นแกนกลางก่อนที่จะนำ หนังเสือมาพันไว้รอบแกนไม้ไผ่อีกทีจากนั้นจึงนำมาถักเชือกลงรัก ซึ่งต่อมายุคหลังๆแกนกลางจะใช้ทองแดง คงไม่มีใครปฏิเสธ เมื่อถ้ามีโอกาสเที่ยวสวนสัตว์ หรือคนสมัยก่อนเมื่อเข้าป่า ก็อยากเห็นหรือเจอเสือ
ในทางกลับกันในใจเมื่อเห็นก็กลัวสุดๆ การสร้างตระกรุดต่างๆมีการนำวัตถุหลายๆอย่างหลายประเภทมาสร้าง หนังเสือก็เป็นส่วนหนึ่งเพราะเป็นอาถรรพณ์วัตถุศักดิ์สิทธิในตัวมีทั้ง เมตตามหานิยม พลังมหาอำนาจ และแคล้วคลาด บวกกับขั้นตอนในการบรรจุวิทยาคม ของหลวงพ่อนอซึ่งขั้นตอนในการปลุดเสกไม่มีอาจารย์ท่านใดเหมือนแน่นอน ก่อนปลุกเสกท่านจะใช้เหล้าเพื่อบูชาครู จากนั้นตัวของท่านจะแดงมาก ท่านจะปิดกุฏิปลุกเสกเงียบๆคนเดียวอยู่ในกุฏิ ช่วงเวลาปลุกเสก ลูกศิษย์จะได้กลิ่นสาปเสืออบอวลทั่วทั้งบริเวณตลอดจนเป็นเรื่องเล่าขานสืบ ต่อมาไม่รู้จบของพิธีกรรมปลุกเสกที่เข้มขลังในยุคนั้น ตระกรุดหนังเสือเป็นเครื่องรางที่มองดูผิวเผินก็ดูจะธรรมดาๆ แต่จริงๆแล้วทุกท่านก็คงประจักษ์กันมานักต่อนักแล้วแม้นจะเป็นเรื่องเล่าขาน สืบต่อหรือประสบการณ์กับตนเองในเรื่องของพุทธคุณไม่เป็นรองวัตถุมงคลใดๆเลย