ศรัทธาสายมู

เปิดประวัติ " หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ ' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

เปิดประวัติ " หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ ' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

30 ต.ค. 2566

เปิดประวัติครูบาอาจารย์ ' หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ ' เกจิอาจารย์ผู้สืบสายวิชา แห่ง ตักศิลาพุทธาคมกรุงเก่า วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา

วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้าง เพียงถูกกล่าวในพงศาวดาร พ.ศ.2163 ความว่า ในคราวที่พระภิกษุสงฆ์ของวัดประดู่แปดรูป ได้ช่วยเหลือพระเจ้าทรงธรรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาหลบหนีจากการก่อกบฏของพวกญี่ปุ่นที่หมายปลงพระชนม์ชีพ ครั้งฝ่ายมหาอำมาตย์พอคุมพลได้ก็ไล่รบญี่ปุ่นล้มตายและแตกไปจากพระราชวัง ต่อมาพระมหาอำมาตย์มีความชอบดังนี้จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ซึ่งต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าปราสาททอง

เปิดประวัติ \" หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ \' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงในคราวที่พระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร หรือที่เรียกกันว่า “ขุนหลวงหาวัด” ทรงผนวชและพำนักที่วัดประดู่ทรงธรรมนี้เป็นวันสุดท้าย ก่อนถูกกวาดต้อนไปอังวะภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.2310 จากผลสงครามได้ส่งผลให้วัดประดู่เป็นวัดร้างจนกระทั่งหลวงพ่อรอดเสือได้มาปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพเป็นวัดและมีพระสงฆ์จำพรรษาเจริญมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

เปิดประวัติ \" หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ \' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

ชื่อหลวงพ่อรอด (เสือ) มีที่มาหลากหลาย สำหรับกระแสแรกนั้นเล่ากันทำนองว่าสาเหตุที่เรียกหลวงพ่อรอด ก็เพราะท่านมีชื่อเดิมว่ารอด แต่ดุอย่างเสือ อีกกระแสหนึ่งพอสรุปได้ว่าสาเหตุที่ได้ชื่ออย่างนั้นก็เพราะท่านรอด ชีวิตจากเสือ แต่เดิมนั้นหลวงพ่อรอด พำนักอยู่วัดบางหว้าใหญ่ หรือวัดระฆัง ฝั่งธนบุรี ในเวลาต่อมา ก่อนที่ท่านจะมาปฏิสังขรณ์วัดประดู่ (และวัดโรงธรรม) นั้น

เปิดประวัติ \" หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ \' เกจิอาจารย์แห่ง วัดประดู่ทรงธรรม

หลวงพ่อรอดได้จอดเรือเพื่อแวะพักค้างคืนที่บ้านเสือข้าม ชาวบ้านในละแวกนั้นมาขอให้ย้ายไปจอดที่อื่นเพราะเกรงว่าหากถึงเวลาเสือข้ามฟากตอนดึกๆ อาจไม่ปลอดภัย แต่หลวงพ่อรอดไม่ยอมย้าย เมื่อท่านไม่ยอมทำตามคำขอร้องชาวบ้านที่ว่าจึงลากลับ โดยในระหว่างทางต่างพูดกันทำนองว่าหากย้อนมาในตอนเช้า หลวงพ่อรอดยังอยู่ก็แสดงว่าเป็นพระดีมีวิชา แต่ถ้าถูกเสือกินก็ต้องเก็บซากศพเผาเอาบุญแล้วกัน ครั้นถึงตอนเช้าของวัน ต่อมากลับพบว่าท่านนั่งหัวร่ออยู่ในเรืออย่างอารมณ์ดี เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้เรียกขานกันว่า หลวงพ่อรอด (เสือ) แต่นั้นมา

 บางท่านก็ว่าหลวงพ่อรอด ท่านสำเร็จวิชาเสือสมิง สันนิษฐานว่าหลังจาก กรุงศรีอยุธยาถึงคราวต้องล่มสลาย วัดส่วนใหญ่ทั้งในและนอกเกาะเมืองล้วนไม่มีพระเณรพำนักพักพา เนื่องจากว่าต้องหลบหนีข้าศึกเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไป ถึงจะไม่ถูกพม่าฆ่าฟันแต่ก็อาจอดตายอยู่ดี เพราะหาคนที่จะใส่บาตรหรือถวายอาหารไม่ได้ ด้วยว่าส่วนใหญ่ต่างหนีภัยสงครามเอาตัวรอดกันทุกหมู่บ้าน หลวงพ่อรอดก็เช่นกัน
 

กล่าวคือท่านได้หลบหนีจากวัดประดู่ไปอยู่วัดระฆัง หรือวัดบางหว้าใหญ่สมัยนั้นอยู่ระยะหนึ่ง กระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ จึงย้อนกลับมาปฏิสังขรณ์วัดประดู่ และวัดโรงธรรม (ซึ่งอยู่ใกล้กัน) ขึ้นใหม่ และได้ใช้ชื่อวัดประดู่โรงธรรม เรื่อยมาตั้งแต่บัดนั้น โดยมีท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 1 จากหลักฐานทั้งหลายอันได้แก่ พระนิพนธ์เรื่องความทรงจำของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันวัตถุมงคลของสายวัดประดู่ทรงธรรม เป็นของที่น่าหามาห้อยคอ ติดตัว ไม่ว่าจะของหลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม หลวงพ่อนาค วัดประดู่ทรงธรรม หรือเหรียญรวมเจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม (ปลุกเสกโดยหลวงพ่อสละ หลวงพ่อนาค หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อแทน หลวงพ่อกี๋ ร่วมกันปลุกเสก) ล้วนเป็นเหรียญที่น่าใช้


ตักศิลาพระเวทย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

 วัดประดู่ทรงธรรมเปรียบเสมือนสำนักเขาอ้อ เป็นตักศิลาใช้ศึกษาเล่าเรียนทั้งทางด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติสมถกรรมฐาน การเล่นฤทธิ์ต่างๆ พร้อมทั้งเรียนวิธีการลงอักขระเลขยันต์ต่างๆ และวิชาศิลปะ 20 ประการ เช่น ตำราพิชัยสงคราม มวยโบราณ กระบี่กระบอง การต่อสู้ ตำรายาสมุนไพร ตำราพระคาถา และอักขระเลขยันต์และหลักธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎก อีกทั้งสำนักวัดประคู่ทรงธรรมเป็นสถานที่ประสาทวิชาแก่พระเกจิคณาจารย์เมืองกรุงเก่า

  วิชาที่ขึ้นชื่อของสำนักนี้คือ วิชาการทำตะกรุดเป็นที่โด่งดังมาก ซึ่งต่อมาหลังจากเป็นที่รู้จักที่อื่นมีการสร้างตามมา อาทิ ตะกรุดมหาระงับ ตะกรุดมหารูด ตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ตราธิราช ตะกรุดมหาพิชัยสงคราม ตะกรุดมหาละลวย ตะกรุดมหาอำนาจ ตะกรุดมหาปราบ เป็นต้น

            หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ

ในปัจจุบัน วัดประดู่ทรงธรรม นั้น ยังมีอีกหนึ่งเกจิอาจารย์ที่สืบสานสายวิชาพุทธาคมอันทรงคุณค่า นั่นคือ หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ ศิษยานุศิษย์และผู้ศรัทธา ขานนามท่านว่า เพชรแท้แห่งเมืองกรุงเก่า


หลวงพ่อเพ็ชร หรือหลวงตาเล็ก ท่านมีนามเดิมว่า นายเพ็ชร มีสมทน ปัจจุบันหลวงพ่อท่านมีอายุ 72 ปี จะย่างเข้าสู่ 73 ปีแล้ว หลวงพ่อท่านเป็นศิษย์พุทธาคมสายตรง สำนักวัดประดู่ทรงธรรม อย่างจริงแท้แน่นอน เพราะท่านเป็นศิษย์เอกก้นกุฏิคอยอุปัฏฐาก​ดูแล หลวงตารอด , หลวงพ่อบุญนาค สีลสํวโร , หลวงพ่อสละ เถรปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งสำนักวัดประดู่ฯ ตั้งแต่บวชจนหลวงพ่อครูบาอาจารย์ได้มรณภาพลง

หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ
หลวงพ่อเพ็ชรท่านบวชโดยมี พระธรรมญาณมุนี (หลวงพ่อไวทย์ มุตฺตกาโม) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสวัดพนัญเชิงวรวิหาร เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระญาณไตรโลก เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระครูสีลสังวร (หลวงพ่อบุญนาค สีลสํวโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ทรงธรรม รูปที่ 9 เป็นพระกรรมวาจาจารย์


พระเทพวรเวที (หลวงพ่อวิน โฆสิโต) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมวงศ์อิศรวรารามวรวิหาร เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระครูอุดมนครคณารักษ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดประดู่ทรงธรรม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2529 และได้รับฉายาทางธรรมว่า "ปริปุณฺโณ" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ผู้ที่เปี่ยมไปด้วยบุญ

หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ

หลวงพ่อเพ็ชรท่านจะอยู่คอยเป็นลูกมือช่วยหลวงพ่อสละ หลวงพ่อบุญนาค และหลวงพ่อบุญรอดจัดหาวัสดุการทำน้ำมนต์ ถอนไล่คุณไสย สะเดาะเคราะห์ และหาของวัสดุอุปกรณ์รวมถึงมวลสารเตรียมจัดไว้เพื่อลงทำตะกรุด ทำพระเครื่องเพื่อสงเคราะห์แจกจ่ายให้แก่ญาติโยม​ศิษยานุศิษย์ผู้ที่มีความเคารพศรัทธาที่ได้เดินทางมากราบนมัสการ พอหลวงพ่อสละอาพาธ ท่านก็ได้เมตตามอบครอบตำราที่ท่านจดเอง และตำราเก่าของ​วัดประดู่ทรงธรรม และของท่านอาจารย์ก๋งจาบ​ สุวรรณ​ ให้แก่หลวงพ่อเพ็ชรไว้ศึกษา เอาไว้ช่วยสงเคราะห์ญาติโยมสืบต่อแทนท่านในภายภาคหน้า

หลวงพ่อเพ็ชร  ปริปุณฺโณ


ครูบาอาจารย์โดยตรงของหลวงพ่อเพ็ชร
1. หลวงพ่ออู๋ วัดประดู่ทรงธรรม
2. หลวงพ่อบุญนาค วัดประดู่ทรงธรรม
3. หลวงพ่อสละ วัดประดู่ทรงธรรม
4. หลวงพ่อผูก วัดประดู่ทรงธรรม
5. หลวงปู่บุญรอด วัดประดู่ทรงธรรม
6. หลวงปู่หน่าย วัดบ้านแจ้ง