วันสารทจีน 2567 ตรงกับวันอะไร วันไหว้ ฤกษ์ไหว้วันไหน
เช็กเลย วันสารทจีน 2567 ตรงกับวันอะไร วันไหว้ ฤกษ์ไหว้วันไหน ขั้นตอนการจัดโต๊ะไหว้ ของสักการะ ธูปกี่ดอก? พิธีกรรมเก่าแก่เพื่อความเป็นสิริมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน
ประวัติ วันสารทจีน ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ความหมาย คือวันที่ครอบครัวจะทำพิธีจัดโต๊ะไหว้สักการะบรรพบุรุษผู้ล่วงลับตามความเชื่อดั้งเดิมว่าเป็น " วันประตูนรกเปิด" ให้ดวงวิญญาณกลับมาหาลูกหลานเพื่อรับบุญกุศลที่อุทิศไปให้
วันสารทจีน 2567 ตรงกับวันไหน?
เทศกาลวันสารทจีน ปีนี้ ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2567 ส่วนวันจ่าย หรือ ฤกษ์ไหว้สารทจีน 2567 ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม 2567 หรือครอบครัวไหนจะจัดโต๊ะไหว้ก่อนหน้า 1 วันก็ไม่ผิด
การจัดโต๊ะไหว้สารทจีน 2567 ของเซ่นไหว้ มีอะไรบ้าง?
อาหารจานหลัก ของคาว
ไก่ต้ม เป็ดต้มทั้งตัว หมูพะโล้ ปลานึ่ง กุ้ง ฯลฯ จัดเป็นชุด ซาแซ (3 อย่าง) หรือ โหงวแซ (5 อย่าง) ตามความสะดวก
ของหวาน
นิยมขนมที่มีความหมายมงคล อาทิ ขนมเข่ง , ซาลาเปา , ขนมเทียน , ขนมกุยช่าย , ขนมเปี๊ยะ , ขนมถ้วยฟู
ผลไม้มงคล 9 อย่าง ไหว้สารทจีน
- ส้ม หมายถึง ความโชคดี ร่ำรวย
- กล้วย ความหมาย กวักโชคลาภ
- แอปเปิ้ลแดง ความหาย สุขภาพดี
- สับประรด ความหมาย รุ่งเรือง มั่งคั่ง ร่ำรวย
- องุ่น ควาหมาย ความร่ำรวย และมีอายุยืน
- แก้วมังกร หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์
- สาลี่ หมายถึง เชื่อว่าจะมอบโชคลาภและสิ่งดีๆ
- ลูกพลับ หมายถึง ความยั่งยืน ความมั่นคง
- ทับทิม ส่งเสริมความสามัคคีในครอบครัว
วันสารทจีน 2567 ฤกษ์ไหว้ การจัดโต๊ะไหว้
ระหว่างวันที่ 17-18 สิงหาคม 2567 จะจัดของเซ่นไหว้ 3 ชุด ดังนี้
ชุดไหว้เจ้าที่ (ตอนเช้า) ชุดอาหารคาว 3 หรือ 5 อย่าง ตามสะดวก ขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง ผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง ใช้ธูป 5 ดอกประกอบพิธี
ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ เหมือนกับของไหว้เจ้าที่แต่ให้เพิ่ม อาหารที่บรรพบุรุษชอบทาน ข้าวสวย น้ำชา น้ำแกง หรือขนมที่มีน้ำใสๆเข้าไปด้วย ใช้ธูป 3 ดอกประกอบพิธี
ชุดสำหรับไหว้สัมภเวสี จัดโต๊ะไหว้นอกบ้าน ช่วงบ่าย จัดชุดของคาว ของหวาน ผลไม้ และกระดาษเงิน-กระดาษทอง ตามความสะดวก ใช้ธูป 1 ดอกประกอบพิธี หลังเสร็จการไหว้ให้จุดประทัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากบริเวณบ้าน
ขั้นตอนการไหว้สารทจีน 2567 คำกล่าว บทสวด
คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย (สวด 9 จบ)
"อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ"
จากนั้นให้บูชาต่อ
"นำมอ ตี่จ้างหวาง ผ่อสัก ม่อฮอสัก"
ขอนอบน้อมแด่องค์พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (องค์ตี่จั๊งอ๊วงโพธิสัตว์)
หลังเสร็จจากการไหว้ 3 รอบแล้ว นิยมไปทำบุญให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับเกี่ยวกับผู้เสียชีวิตด้วยการทำบุญบริจาคโลงศพ, ผ้าห่อศพ, น้ำมันเตาเผาศพ, สร้างหรือบูรณะเมรุ ทำบุญให้ผู้เสียชีวิตที่ไร้ญาติ ปล่อยนก ปล่อยปลา รวมถึงรักษาศีล 5 การทำความดี ละเว้นความชั่วด้วย