ศรัทธาสายมู

เปิดพิกัดพระพิฆเนศโบราณ กว่า 4,800 ปี กรมศิลป์ยันพระพิฆเนศ ก่อนสมัยพุทธกาล

แรงศรัทธา เปิดพิกัดพระพิฆเนศโบราณ กว่า 4,800 ปี หลังคนงานดูดทรายพบเจอเมื่อ 50 ปีก่อน กรมศิลป์ยันเป็นพระพิฆเนศ ก่อนสมัยพุทธกาล

29 ส.ค. 2567 พระครูอินทรธรรมวงศ์ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุคีรีอินทรวิหาร ต.กะเปา อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัจจุบันอาตมาอายุ 87 ปี ได้บวชเรียนตั้งแต่สมัยหนุ่มมากว่า 60 พรรษา ได้เดินทางไปศึกษาธรรมะจากที่ต่างๆ หลายแห่ง ไม่ว่าจะเดินทางไปเรียนบาลีที่ อ.ไชยา , เรียนกรรมฐานที่วัดเพลงกลางสวน ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ และได้เดินทางไปยังวัดอื่นๆ ในภาคใต้อยู่หลายปี

 

ก่อนจะกลับมาจำวัดแห่งนี้ ส่วน พระพิฆเนศ ที่เห็นอยู่ในวัด อาตมาได้ซื้อมาจากคนงานดูดทราย เพื่อหาแร่ดีบุกในอำเภอตะกั่วป่า ในราคา 15,000 บาท เมื่อ 50 ปีที่แล้ว เนื่องจากคนงานไม่รู้จักว่าเป็นพระอะไร

 

เปิดพิกัดพระพิฆเนศโบราณ กว่า 4,800 ปี กรมศิลป์ยันพระพิฆเนศ ก่อนสมัยพุทธกาล

 

จากนั้นจึงได้นำมาไว้ที่วัด เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ซึ่งภายในพิพิธภัณฑ์มีของเก่าโบราณมากมายไม่ว่าจะเป็น เครื่องปั้นดินเผา อาวุธปืน ถ้วยชาม พระพุทธรูปปางต่างๆ ธนบัตร ลูกปัด หม้อดิน ไหที่ทำจากดินเผา เครื่องลายคราม สำหรับพระพิฆเนศ องค์นี้ได้รับการยืนยันจากกรมศิลปากร จังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าเป็นพระพิฆเนศก่อนพุทธกาลอายุไม่น้อยกว่า 4,800 ปี เป็นหิน

 

หน้าตักกว้างประมาณ 15 นิ้ว สูงประมาณ 33 นิ้ว ซึ่งทางกรมศิลปากร นครศรีธรรมราชได้ขอเพื่อนำไปไว้ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอาตมาก็ไม่ได้ให้ไป เนื่องจากที่วัดเองได้มีการตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ องค์พระพิฆเนศเป็นเทพในศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งปราชญ์ เทพแห่งความสำเร็จ องค์นี้ถือว่ามีความสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

เปิดพิกัดพระพิฆเนศโบราณ กว่า 4,800 ปี กรมศิลป์ยันพระพิฆเนศ ก่อนสมัยพุทธกาล

เนื่องจากเป็น พระพิฆเนศ เก่าแก่และโบราณ ที่ปัจจุบันถือว่าหาดูได้ยาก วัดมหาธาตุคีรีอินทรวิหาร เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย เดิมชื่อวัด ย่านมะปราง ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2414 ก่อสร้างโดยพระม่วง ขุนหลวงอินและขุนหลวงวิเชียร และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดอินทราวาส ในช่วงพระเทพรัตนกวี เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

และต่อมาสมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายกได้ประทานชื่อวัดอินทราวาสเป็นวัดพระมหาธาตุคีรีอินทรวิหาร เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 จนปัจจุบัน ซึ่งทางวัดเองได้เปิดพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนที่เลื่อมใสในพระพิฆเนศ ได้เข้าไปสักการะ กราบไหว้ทุกวันโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ หากใครสนใจ สามารถเดินทางเข้าไปชมได้ที่วัดโดยห่างจากถนนสายสุราษฎร์ธานี –ตะกั่วป่า หลักกิโลเมตรที่ 54 บ้านเขาวง เดินทางเข้ามาเพียง 3 กิโลเมตรก็จะถึงวัด

 

 

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ข่าวยอดนิยม