บทสวดบูชาพระแม่คงคา อธิษฐานขอพร ขอขมาวันลอยกระทง
เปิดบทสวดคาถาบูชา ขอขมาพระแม่คงคา มหาเทวีแห่งสายน้ำ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการไหว้ขอพรและขอขมาพระแม่คงคาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงเทศกาลลอยกระทง
พระแม่คงคา มหาเทวีแห่งสายน้ำ หนึ่งในเทพผู้ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูสู่ความเชื่อของคนไทยซึ่งในแต่ละปีจะมีการไหว้ขอพรและขอขมาพระแม่คงคาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงเทศกาลลอยกระทง สืบเนื่องจากผู้คนสมัยก่อนก่อนมีการเลือกที่ตั้งของชุมชนใกล้กับแหล่งน้ำ เพื่อความสะดวกในการใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิต และการเพาะปลูก ชาวบ้านอาศัยแหล่งน้ำในการทำการเกษตร แหล่งน้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ประกอบกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน จึงเกิดเป็นพิธรกรรมในการไหว้ขอพร ขอขมาแหล่งน้ำ ทำให้หลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา
เมื่อชาวไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาและความเชื่อจากพราหมณ์ ฮินดูที่มี บูชาพระม่คงคาของชาวฮินดู ทำให้มีความสอดคล้องกับการบูชาแหล่งน้ำชาวไทย จึงกลายเป็นประเพณีการบูชาพระแม่คงคา และที่เรียกว่า ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย พระแม่คงคา ได้รับความนับถือเป็นเทพผู้ปกป้องสายน้ำ ทั้งยังเปี่ยมไปด้วยเมตตาจึงเป็นเทพแห่งการให้อภัย การชำระล้างความชั่วและการทำให้บริสุทธิ์
คำขอขมาพระแม่คงคา
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต
หรือจะกล่าวเป็นภาษาไทยว่า
วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย
ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้
พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต
ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา
ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด
อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ
ของขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา
อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา
อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา
รับขมาลูก เทอญ
การขอขมาพระแม่คงคาใช้ธูป 3 ดอก แทนพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ พร้อมเทียน 1 เล่ม แต่ตามความเชื่อทางฝั่งอินเดีย เชื่อว่าสามารถบูชา หรือขอขมาด้วยกำยานเพียงอย่างเดียวก็ได้เช่นกัน
คาถาบูชาพระแม่คงคา
โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ
สำหรับคนที่อยากชำระล้างบาปแต่ไม่มีโอกาสเดินทางไปประกอบพิธียังแม่น้ำคงคา ก็สามารถทำพิธีไหว้บูชาได้โดยจะต้องกระทำต่อหน้ารูปพระแม่คงคา หรือแม่น้ำสายใหญ่ด้วยการสวดมนต์พระเวทย์และบูชาด้วยการอารตีซึ่งในถาดอารตีนั้นควรจะมีดอกไม้สีส้มหรือสีเหลืองและดอกบัว ผลไม้รสหวาน 5 ชนิด น้ำนม ตะเกียงน้ำมัน กำยาน และขนมหวาน เมื่อกล่าวคำบูชาเรียบร้อยแล้วให้ลอยเครื่องบูชาบางส่วนไปกับสายน้ำ เว้นตะเกียงกับกำยาน เก็บเครื่องบูชาที่เหลือไว้รับประทานเพื่อความเป็นสิริมงคล