ศรัทธาสายมู

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

16 ม.ค. 2566

สุดยอดวัตถุมงคลมากประสบการณ์ ของ หลวงพ่อกวย เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หรือ ที่เรียกกันว่า เหรียญหนุมาน อะระหังหลังเต็ม หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค จ.ชัยนาท

“หลวงพ่อกวย ชุตินธโร” วัดโฆสิตาราม (วัดบ้านแค) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เหรียญหลังหนุมาน พ.ศ.2521 เป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งของหลวงพ่อกวย พุทธคุณเหมือนดังสักหนุมานกับหลวงพ่อทีเดียว

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

ในอดีตหลวงพ่อกวยเป็นอาจารย์สักยันต์ที่ขึ้นชื่อและนิยมกันอย่างมาก คือยันต์ลายหนุมานเชิญธง

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

เหรียญรุ่นดังกล่าว จัดเป็นเหรียญรุ่น 3 หรือที่เรียกกันว่า “เหรียญรุ่นฝังลูกนิมิต” หรือ “เหรียญหลังหนุมาน” จัดสร้างเนื่องในโอกาสผูกพัทธสีมาและฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ.2521

จัดสร้างเนื้ออัลปาก้า จำนวนประมาณ 20,000 เหรียญ แบ่งออกเป็นเหรียญกะไหล่ทองประมาณ 500 เหรียญ สมนาคุณแก่ผู้ที่บริจาคข้าวสาร 1 กระสอบในงานผูกพัทธสีมา จะได้รับเหรียญกะไหล่ทอง 1 เหรียญ ส่วนเหรียญที่เหลือเป็นเนื้ออัลปาก้า ออกให้ทำบุญเหรียญละ 100 บาท
เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์


ลักษณะเป็นเหรียญโล่ ด้านหน้าเป็นรูปเหมือนนั่งขัดสมาธิเต็มองค์  และมียันต์นะอุดปืนอยู่สองข้าง ใต้รูปเหมือนหลวงพ่อกวย เขียนคำว่า “หลวงพ่อกวย ชุตินธโร วัดโฆสิตาราม”

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

ด้านหลังเป็นรูปหนุมานเชิญธง ขอบด้านล่าง ระบุว่า “ที่ระลึกในงาน พ.ศ. ๒๕๒๑ ผูกพัทธสีมา”

ปัจจุบันหายากมากและราคาเช่าบูชาสูง

เดิมชื่อ กวย ปั้นสน เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2448 ณ หมู่บ้านบ้านแค หมู่ 9 ต.บางขุด อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ในช่วงวัยเยาว์มารดาได้นำมาฝากไว้กับหลวงปู่ขวด ที่วัดบ้านแค เพื่อให้เรียนหนังสือ

ครั้นเมื่อครบอายุบวช เข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2467 ที่วัดโบสถ์ ต.โพธิ์งาม อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท มีพระชัยนาทมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อปา วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หริ่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ชุตินธโร

อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านแค ตอนนั้นหลวงปู่มา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ หัดเทศน์เวสสันดรชาดก หลังจากนั้นไปเรียนวิชาแพทย์โบราณกับหมอเขียน เพื่อรักษาโรคระบาด หรือโรคห่าและโรคไข้ทรพิษ

พ.ศ.2472 เดินทางไปเรียนวิชาวิปัสสนากัมมัฏฐานและวิทยาคม ตลอดจนวิธีทำเครื่องรางของขลังกับหลวงปู่ศรี วิริยโสภิโต แห่งวัดพระปรางค์ จ.สิงห์บุรี

เหรียญหลังหนุมานเชิญธง หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ยอดนิยมมากประสบการณ์

พ.ศ.2477 ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหนองแขม ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท เพื่อเรียนแพทย์แผนโบราณต่อกับโยมป่วน บ้านหนองแขม และเรียนต่อกับหมอใย บ้านบางน้ำพระ

ขณะที่พักจำพรรษาที่วัดหนองแขม มีพระภิกษุชื่อแจ่ม เดินทางท่องเที่ยว ไปพบตำราเป็นสมุดข่อยอยู่ในโพรงไม้ แต่เอามาไม่ได้ เพราะตำรานั้นมีอาถรรพ์แรงมาก จึงได้มาชักชวนให้ไปดู ปรากฏว่ามีตำราอยู่โพรงไม้จริง มีรอยคนเอาพวงมาลัยดอกไม้ ธูปเทียนมาบูชาใต้โคนไม้ จึงได้จุดธูปบอกเล่าและอธิษฐานว่า “ถ้าหากว่าท่านจะให้ตำรานี้ให้ข้าพเจ้าเอาไปเก็บรักษาไว้ ข้าพเจ้าจะนำเอาตำรานี้ไปทำประโยชน์แก่วัดและช่วยเหลือประชาชนเท่านั้น” ก่อนอัญเชิญตำรานั้นมาเก็บไว้

ครั้งหนึ่ง เมื่อไปจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ได้มาเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้เรียนวิชาทำแหวนแขน, ตะกรุด, มีดหมอ และอื่นๆ ศิษย์ร่วมรุ่นที่เป็นที่รู้จักกันคือ หลวงปู่พิมพา วัดหนองตางู อ.บรรพตพิสัย

ต่อมาเมื่อช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กลับมาอยู่วัดบ้านแค สักยันต์ให้ศิษย์ มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ขนาดลงมือสักกันทั้งกลางวันกลางคืน ในช่วงนั้น ข้าวยากหมากแพง โจรร้ายเต็มบ้านเมือง โดยเฉพาะแถบภาคกลางตอนล่าง นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี เป็นแหล่งกบดานของโจรเสือร้ายหลายกลุ่ม ชาวบ้านแคได้อาศัยบารมีเพื่อคุ้มครองครอบครัวและทรัพย์สินของมีค่าต่างๆ ก็จะเอามาฝากหลวงพ่อที่วัด

จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ที่บ้านแค เล่าว่า พวกโจรเสือไม่มีใครกล้ามาลองดี มีอยู่รายหนึ่งเป็นเสือมาจากอ่างทอง พาสมุนล้อมวัดบ้านแคตอนกลางคืน เห็นว่าวัวควายของชาวบ้านที่ลานวัดมีเยอะมาก แต่ก็โดนตะพดจนต้องรีบพาสมุนกลับและก็ไม่มาแถวบ้านแคอีกเลย

    เล่ากันว่าในสมัยนั้น เมื่อโจรเสือเดินผ่านวัด ต้องยิงปืนถวายทุกครั้ง
 

ลําดับสมณศักดิ์ วันที่ 5 ธันวาคม 2511 ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน

ปี พ.ศ.2521 เข้ารับการรักษาอาพาธที่โรงพยาบาลพญาไท หมอได้วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคขาดสารอาหารมาเป็นเวลา 30 ปี

มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2522 สิริอายุ 74 ปี พรรษา 54

  ปัจจุบัน วัดโฆสิตาราม และบรรดาศิษย์ ยึดถือเอาวันที่ 12 เมษายนของทุกปี เป็นวันทำบุญประจำปี เพื่ออุทิศและรำลึกถึง