ศรัทธาสายมู

"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า แห่ง วัดป่าดานวิเวก

"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า ลูกศิษย์หลวง"ปู่มั่น" พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สายปฏิบัติกรรมฐาน วัดป่าดานวิเวก

"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร หรือ พระอาจารย์ปรีดา ฉันทกโร" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า พระผู้ปกปักรักษาอย่างถวายชีวิต ลูกศิษย์หลวงปูมั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นรุ่นน้องของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สายปฏิบัติกรรมฐาน เหล่าศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศต่างน้อมนำคำสอน ฝึกฝนปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิต

 

\"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร\" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า แห่ง วัดป่าดานวิเวก

ประวัติ "หลวงปู่ทุย ฉันทกโร"

 

"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร" ท่านเป็นชาวอุบลราชธานีโดยกำเนิด ไปเติบโตที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุยังน้อย สมัยบวชเรียนเป็นลูกศิษย์หลวงปูมั่น ภูริทัตโต ท่านเป็นรุ่นน้องของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งหลวงตามหาบัวเป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ที่มีปฏิปฏิปทาของพระป่าในสมัยโบราณที่ถือธุดงควัตร 13 อย่างแน่นแฟ้น และเป็นผู้ปกปักรักษาป่าอย่างถวายชีวิต ซึ่งหลวงปู่ทุยได้เจริญรอยตาม หลังจากที่หลวงตามหาบัวสร้างวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี ท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่นี่ช่วงหนึ่ง

 

"หลวงปู่ทุย" ได้ประมวลเรื่อง "พระป่า สมัยกรุงรัตนโกสินทร์" ไว้ตอนหนึ่งว่า พระธุดงคกรรมฐาน ประมาณปี พ.ศ. 2500 ป่าเขาลำเนาไพรได้ถูกทำลายลง ทรัพยากรบำไม้ ซึ่งเคยเป็นสถานที่บำเพ็ญศีลบำเพ็ญศีล บำเพ็ญธรรมถูกทางกฎหมายบ้านเมืองครอบครอง จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพราะเป็นยุคเป็นสมัยโลกาภิวัฒน์โลกาธิปไตยทั่วโลกดินแดนทรัพยากรที่สำคัญๆ ซึ่งเป็นที่สัปปายะ ถูกทำลายให้ลดน้อยลง เนื่องจากคนเกิดเป็นจำนวนมากๆ ไม่มีมีที่อยู่อาศัยหาเลี้ยงชีพโดยพระธุดงค์สายพระอาจารย์มั่น เป็นพระปานิสัยชินกับหลักธรรมชาติ

 

\"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร\" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า แห่ง วัดป่าดานวิเวก

ตามนิสัยของท่านรักธรรมชาติมาก ท่านจึงชอบสงวนที่ป่าเขาลำเนาไพร มีมากมีน้อยท่านไม่ค่อยทำลาย หลังจากท่านฝึกกรรมฐานจนสำเร็จ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล จังหวัดอุตรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) ก็แนะนำให้ท่านธุดงควัตรมาที่ดงสีชมพูนี้เมื่อปี พ.ศ. 2509 ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่สีแดง ที่คอมมิวนิสต์ยึดครองอยู่

 

ท่านอยู่ที่นี่ได้ 2 ปี ก็ตั้งวัดป่าดานวิเวกขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ชื่อของวัดมาจากพื้นที่แห่งนี้เป็นดานหินทราย ส่วนชื่อที่เป็นทางการคือวัดแสงอรุณ ภายในบริเวณวัดประกอบด้วยพื้นที่ป่าหลายส่วนรวมกัน 2,400 ไร่ ส่วนพื้นที่ของวัดเองประมาณ 14 ไร่ เป็นเขตบำสงวนแห่งชาติที่เข่าโดยถูกต้องตามกฎหมาย รวมกันพื้นที่ของกรมป่าไม้ที่ให้ให้วัดอีก 700 ไร่ และพื้นที่ สปก.อีก 1,400 ไร่ 

 

\"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร\" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า แห่ง วัดป่าดานวิเวก

 

สำหรับวัดป่าดานวิเวก  ไม่มีสิ่งก่อสร้างโดนอกจากศาลาใหญ่หลังหนึ่งและกุฏิที่อยู่ห่างๆ กันไปเท่าที่จำเป็น อาสนะของพระสูงกว่าพื้นดินเพียงคืบเดียว หลวงปู่ทุยท่านมีปฏิปทาว่าจะไม่สร้างวัตถุถาวรใดๆ เกินความจำเป็น มุ่งปลูกป่าอย่างเดียว กฎข้อหนึ่งในสิบข้อของวัดนี้คือห้ามตัดไม่ใดๆ จนกว่าไม้นั้นจะล้มเองจึงนำไปใช้ประโยชน์ได้ และการใช้ประโยชน์จากไม้นั้นต้องเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์เท่านั้น คือนำไปใช้ในการทำศาลา โรงเรียน สะพาน แล้วแต่ชุมชนนั้นจะช่วยกันพิจารณา

 

การทำบุญถวายพระ ไม่ต้องใช้เงิน หลวงปู่ทุย ท่านตั้งใจพาปฏิบัติแบบโบราณ ยึดกับของเก่า ไม่ใช้เทคโนโลยี ท่านบอกว่า เทคโนโลยีเข้ามาจะเป็นผลเสีย คนสมัยนี้วิ่งเร็วเกินตัวเองไปมากอันตราย

 

 

ตามข้อมูลของ "กำนันสัญญา" เปิดเผยว่า "หลวงปู่ทุยท่านไม่ขอรับตำแหน่ง หรือ สมณศักดิ์ใดๆ ท่านบอกว่า ขอเป็นพระเฉยๆ ก็พอแล้ว สำหรับพระใหม่ที่จะมาบวชต้องมาอยู่ให้หลวงปู่ทดสอบก่อน 2 เดือน ไม่ได้บวชกันง่ายๆ และเมื่อบวชแล้วท่านให้เดินเท้าเปล่าตลอด พระทุกรูปจึงเท้าหนา และถือบิณฑบาตทุกวัน ไม่มีเว้น นอกจากเจ็บป่วยจริงๆ พระรูปไหนอ้วนท่านจะเรียกไปคุยแสดงว่าขี้เกียจภาวนา

 

ขนาดท่านประธานองคนตรีสุรยุทธ์ จุลานนท์ มาบวช ท่านเป็นโรคเก๊าท์ก็ยังเดินเท้าเปล่าบิณฑบาตทุกวัน ไม่ว่าฝนตก หรืออากาศหนาวยังไงท่านก็ปฏิบัติเหมือนพระลูกวัดท่านอื่นๆ"

 

\"หลวงปู่ทุย ฉันทกโร\" พระปฏิบัติผู้ดำรงค์มั่นต่อผืนป่า แห่ง วัดป่าดานวิเวก

 

ข่าวยอดนิยม