ศรัทธาสายมู

ประวัติ 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' ตอนที่ 2 วิธีการสร้างปลอกเท้า

ประวัติ 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' ตอนที่ 2 วิธีการสร้างปลอกเท้า

14 ก.พ. 2566

ประวัติพระเกจิอาจารย์ ผู้มีสมญานาม เทพเจ้าแห่งเมืองนครศรีธรรมราช 'พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์' ตอนที่ 2 เรื่องราวการสร้างปลอกเท้า เกร็ดชีวิตอุปนิสัย ที่หลายคนไม่เคยรู้


ผมมองผ่านช่องหน้าต่างของ บ้านพักอาจารย์ดำออกไป ยอดเจดีย์ขาวสูง ของ วัดธาตุน้อย อยู่ในระยะสายตา พร้อมกับฟังเรื่องราว เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า ปลอกเท้า ที่วางอยู่เบื้องหน้า และเรื่องราวของ เทพเจ้าแห่งเมืองนครศรีธรรมราช จากปากคำต่อ 

หม้อยา และ ปลอกเท้าของ พ่อท่านคล้าย ภาพโดย คณพศ เข็มทองวงศ์ ถ่ายเมื่อ พฤษภาคม 2565
อาจารย์ดำ ธาตุน้อย ซึ่งมีเชื้อสายโดยตรงเกี่ยวพันเป็นเครือญาติกับพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ได้เล่าให้ฟังว่าพ่อท่านคล้ายนั้น ตลอดชีวิตท่านต้องใส่ปลอกเท้า ซึ่งเป็นเสมือนเท้าปลอมมาโดยตลอด


วิธีการที่ท่านจะทำปลอกเท้าใส่นั้นท่านก็จะสั่งให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านไปหาไม้ไผ่ ซึ่งมีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นต้นที่หันลำไผ่ ไปยังทิศตะวันออกจากนั้นท่านก็จะมาทำขั้นตอนในการทำให้เป็นปลอกเท้าของท่านเอง

หุ่นพ่อท่านคล้าย
ท่านจะมีอุปสรรคเรื่องเท้าของท่านแต่พ่อท่านคล้ายก็ยังได้เดินเข้าสู่เส้นทางพระศาสนาตั้งแต่อายุ 19 ปี โดยเริ่มต้นบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2438 ที่วัดจันดี ต.หลักช้าง บรรพชาโดยอาจารย์ พระอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี (ทุ่งปอน) และว่ากันว่าพ่อท่านคล้ายนั้นสามารถท่องจำพระปาฏิโมกข์จนได้แม่นยำ
 

เมื่ออายุครบ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา หรือศาลาน้ำ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ ณ วัดวังม่วง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช โดยมี พระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้ไปจำพรรษา อยู่ที่วัดทุ่งปอน หรือวัดจันดี


เมื่อเป็นพระภิกษุแล้วในเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังในด้านวิชาอาคมของพ่อท่านคล้ายไม่ได้ถูกระบุอย่างชัดเจนมากนักว่า ท่านได้ศึกษา มีแต่เพียงที่ระบุไว้ว่าได้เรียนกับ พระครูกรายหรือ พ่อท่านกราย ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านเอง

แต่ที่แน่นอนชัดเจนนั้น นั่นก็คือ หลวงปู่หมุน แห่งวัดบ้านจาน เป็นหนึ่งในศิษย์ ที่มาเรียนร่ำเรียนวิชากับพ่อท่านคล้ายที่ วัดธาตุน้อย


ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้มีโอกาสถามนอกเหนือจากอาจารย์ดำ ที่เป็นเชื้อสายของพ่อท่านคล้ายยังมีผู้ที่เคยได้ปฏิบัติรับใช้ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่มีอายุของท่านได้บอกเล่าสิ่งหนึ่งมาว่า ในความเป็นจริงแล้วภาพที่เราเห็นว่า พ่อท่านคล้าย เป็นคนที่ดูเคร่งขรึมเงียบๆแต่ในความเป็นจริงอุปนิสัยของท่านนั้นก็ถือว่าท่านเป็นคนที่มีความสนุกสนานแต่ท่านมักจะไม่ค่อยพูดมากนัก นั่นก็เพราะส่วนหนึ่งเป็นเหตุมาจากสิ่งที่เรียกว่าวาจาสิทธิ์ของท่านเอง
 

จึงทำให้เกิดความสงสัยต่อไปว่า แล้วคำว่า วาจาสิทธิ์ ที่ พ่อท่านคล้าย ได้มา เป็นเสมือนนามประจำตัวของท่านนั้นได้มาจากที่ไหน

อาจารย์ดิว เจ้าพยัคฆ์ จันดี หนึ่งในผู้ที่มีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับ พ่อท่านคล้าย เช่นกัน ได้พาผมขึ้นรถแล้วขับมุ่งตรงไปในทิศทางถนนเส้นเดียวกับวัดสวนขันและมุ่งไปยังสถานที่หนึ่งซึ่งเป็นจุดกำเนิดในสิ่งที่ได้มาของวาจาสิทธิ์นั่นเอง

โปรดติดตามตอนต่อไป .....