
ประวัติของ 'หลวงปู่สรวง' เทวดาเล่นดิน เกจิอาจารย์ผู้บูชาไฟ
อ่านประวัติของพระเถระ ฉายา เทวดาเล่นดิน หลวงปู่สรวง เถราจารย์ผู้บํูชากองไฟเป็นนิจ พระสงฆืผู่ไม่มีใครทราบอายุ
หลังจากที่เป็นข่าวคราวมาตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังมีการหายไปของ รูปหล่อที่สร้างจากปูนปลาสเตอร์ หลวงปู่สรวง อดีตครูบาอาจารย์ ที่ถูกขนานนามว่า เทวดาเล่นดิน ที่ประดิษฐานภายในวัดพลับพลาชลาราม บ้านขวาว หมู่ 9 ต.ทุ่งกุลา อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และทำให้มีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ไปต่างๆ นาๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อ การค้ยนหาวัตถุมงึคลในิงค์พระ รวมไปถึงเรื่องโชคลาภ ที่อาจจะถูกเจ้ามือหวยลักขโมยไปไม่ให้ใครมาขอหวย ล่าสุดวันนี้ ( 10 เม.ย.) ได้มีการค้นพบรูปหล่อหลวงปู่สรวง ในบ่อน้ำห่างจากวัดไป 4 กม.
ทำให้หลายคน เกิดความสนใจว่า เกจิอาจารย์ที่มีนามว่า หลวงปู่สรวงคือใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร
พระครูโกศลสิกขกิจ หรือหลวงพ่อพุฒ วายาโม ประธานมูลนิธิหลวงปู่สรวง เจ้าคณะอำเภอภูสิงห์ (ธ.) และเจ้าอาวาสวัดไพรพัฒนา ศิษย์เอกผู้รับมรดกธรรมของหลวงปู่สรวง ได้เคยให้สัมภาษณ์เรื่องราวของหลวงปู่สรวงไว้ว่า หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั้น เมื่อก่อนนี้ชาวบ้านในท้องถิ่น อ.ขุขันธ์ และอำเภอใกล้เคียง ที่มีภูมิลำเนาอยู่แถบชายแดน ตามเชิงเขาพนมดงรัก หรือ พนมดองแร็ก ซึ่งเป็นแนวเขตแดนระหว่าง กัมพูชากับประเทศไทย มักจะเห็นท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรม
พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้าน โคกและเวียน ไปที่นั่นที่นี่บ้างนาน ๆ จะกลับมาเห็นในที่เดิมอีก ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านในฐานะผู้มีคุณวิเศษ เหนือคนทั่วไปและเรียกขานว่า “ลูกเอ็าวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบส ที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำเขาลำเนาไพร
พระครูโกศลสิกขกิจ กล่าวต่อไปว่า ในสมัยนั้นยังมีป่าพรรณไม้อุดมสมบูรณ์และสัตว์ป่านานาพันธุ์ ได้มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่สรวง เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย และตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่สรวงได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหว หลวงปู่สรวงจึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ ตามลำพังเป็นส่วนมาก ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่สรวงที่แท้จริง ได้รู้แต่ว่าหลวงปู่สรวงเป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้ามาในประเทศไทยนานแล้วคนแก่คนเฒ่า ผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านเล่าบอกว่า ตั้งแต่เป็นเด็กๆ เกิดมาก็เห็นท่านในสภาพลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันถ้าผิดจากเดิมไปบ้างก็เล็กน้อยเท่านั้น ประกอบด้วยหลวงปู่สรวง เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครที่จะสามารถรู้อายุและประวัติที่แท้จริงของท่านได้
ในเรื่องอายุของหลวงปู่สรวง มีผู้ยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวงหรือดาบสซวงตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งในจำนวนนั้นมีพระเถระสำคัญอยู่หลายท่านเช่น หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฏ์บำรุง หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง ต่างยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวง,ดาบสซวงตั้งแต่ตัวเองยังเด็ก
ข้อมูลจากหนังสือหลวงปู่สรวง ออยเตียนสรูญ บำเพ็ญกุศลครบ 100 วัน ของวัดไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ระบุเราองราวของหลวงปู่สรวงไว้อีกว่า หลวงปู่สรวงเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สมถะ มีความอุเบกขาสูงสุดให้ความเมตตากับผู้ที่ได้พบเห็นทุกคน ให้ความสำคัญกับทุกคนเท่ากันหมดไม่ว่าเขาคนนั้นจะเป็นคนยากจน เป็นเศรษฐี คนเข็ญใจหรือรู้จักหลวงปู่มานาน ก่อนหลังหรือได้ติดตามรับใช้หลวงปู่มานานๆ ก็ตาม ท่านไม่เคยเอ่ยปาก นับว่าเป็นศิษย์หรือให้สิทธิ์พิเศษแก่คนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะแม้แต่ครั้งเดียว ทุกคนจะได้รับความเมตตาจากหลวงปู่สรวงเท่ากัน จึงทำให้มีผู้มากราบไหว้หลวงปู่เป็นประจำและจะกลับมากราบไหว้หลวงปู่อีก เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ความเป็นอยู่ของหลวงปู่ ท่านจะอยู่อย่างเรียบง่ายจำวัดอยู่ตามกระท่อมปลายนาหลังเล็กๆ มีไม้กระดานเพียงไม่กี่แผ่น บางครั้งก็มีเพียง 2-3 แผ่น พอนอนได้เท่านั้นทุกแห่งที่หลวงปู่จำวัดอยู่จะมีเสาไม้ไผ่สูงๆปักอยู่ มีเชือกขึงระหว่างกระท่อมกับเสาไม้ หรือต้นไม้ที่อยู่ใกล้ๆ มีว่าวขนาดใหญ่ทำด้วยจีวรหรือกระดาษผูกไว้เป็นสัญลักษณ์ และที่สำคัญคือหลวงปู่จะก่อกองไฟไว้เสมอ บางครั้งลูกศิษย์เอาของไปถวาย หลวงปู่ก็จะโยนเข้ากองไฟ ฉะนั้นถ้าเห็นว่ากระท่อมใดมีสิ่งของดังกล่าวก็หมายความว่าที่แห่งนั้นหลวงปู่เคยจำวัดหรือเคยอยู่มาก่อน
หลวงปู่สรวง มรณภาพ เมื่อปี 2543 คำสอนของ หลวงปู่สรวง ที่เราได้ยินบ่อย ๆ คือ ออย เตียน สรูล แปลว่า ให้ทาน มีความสุข และพรที่หลวงปู่สรวงให้เราตลอดมา บายตึ๊กเจีย แปลว่า ข้าวน้ำดี หมายถึง ให้อยู่ดีมีสุข อุดมสมบูรณ์ด้วย ความพอเพียง ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีพุทธศาสนิกชนจากทั่วประเทศพากันเดินทางเข้ามากราบไหว้หลวงปู่สรวง ที่วัดไพรพัฒนา เป็นจำนวนมาก