ศรัทธาสายมู

เปิด ฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล เดือน มิถุนายน 2566 ทำบุญ 'ขึ้นบ้านใหม่' วันไหนดี

เปิด ฤกษ์ดี ฤกษ์มงคล เดือน มิถุนายน 2566 ทำบุญ 'ขึ้นบ้านใหม่' วันไหนดี

29 พ.ค. 2566

สำหรับใครที่ซื้อบ้านใหม่ และวางแผนจะทำบุญ 'ขึ้นบ้านใหม่' หรือกำลังมองหา ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ที่จะปลูกบ้านใหม่ ย้ายเข้าบ้านใหม่ ในเดือน มิถุนายน 2566 นี้ อย่าลืมดูฤกษ์ ดูยาม ที่จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลกันนะคะ

ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี สำหรับฉลอง ขึ้นบ้านใหม่ เดือน มิถุนายน 2566 ได้แก่

 

วันพฤหัสบดีที่ 1 มิ.ย. 2566

 

เวลา 07.51 – 08.40 น. ราชาฤกษ์

เวลา 10.30 – 11.25 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 12.15 – 13.05 น. ภูมิปาโลฤกษ์

เวลา 13.55 – 14.45 น. เทวีฤกษ์

เวลา 15.35 – 16.25 น. ราชาฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันจันทร์ และวันพุธ (กลางคืน)

 

วันเสาร์ที่ 3 มิ.ย. 2566

 

เวลา 07.45 – 08.35 น. ราชาฤกษ์

เวลา 10.40 – 11.35 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 12.25 – 13.15 น. ภูมิปาโลฤกษ์

เวลา 14.05 – 14.59 น. เทวีฤกษ์

เวลา 15.49 – 16.39 น. ราชาฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันพฤหัสบดี และวันศุกร์

 

วันพุธที่ 14 มิ.ย. 2566

 

เวลา 14.29 – 15.19 น. เทวีฤกษ์

เวลา 16.09 – 16.59 น. ราชาฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันพุธ (กลางคืน) และวันเสาร์

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 15 มิ.ย. 2566

 

เวลา 07.09 – 07.59 น. ราชาฤกษ์

เวลา 09.54 – 10.44 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 12.34 – 13.24 น. ภูมิปาโลฤกษ์

เวลา 14.14 – 15.04 น. เทวีฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันจันทร์ และวันพุธ (กลางคืน)

 

วันเสาร์ที่ 17 มิ.ย. 2566

 

เวลา 07.01 – 07.52 น. ราชาฤกษ์

เวลา 09.49 – 10.44 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 11.34 – 12.24 น. ภูมิปาโลฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับเกิดวันพฤหัสบดี และวันศุกร์

 

วันจันทร์ที่ 26 มิ.ย. 2566

 

-เวลา 09.31 – 10.26 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 11.16 – 12.02 น. ภูมิปาโลฤกษ์

เวลา 12.53 – 13.43 น. เทวีฤกษ์

เวลา 14.35 – 15.23 น. ราชาฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันอังคาร และวันพฤหัสบดี

 

วันพุธที่ 28 มิ.ย. 2566

 

เวลา 09.27 – 10.22 น. มหัทธโนฤกษ์

เวลา 10.12 – 11.02 น. ภูมิปาโลฤกษ์

เวลา 11.53 – 12.43 น. เทวีฤกษ์

เวลา 13.10 – 14.51 น. ราชาฤกษ์

แต่ไม่เหมาะกับคนเกิดวันพุธ (กลางคืน) และวันเสาร์

 

 

เมื่อเลือก ฤกษ์มงคล ฤกษ์ดี ได้แล้ว ก็เป็นขั้นตอนของการจัดเตรียมสถาน จากนั้นมาดูขั้นตอนการทำพิธี ขึ้นบ้านใหม่ แบบง่ายๆ กันเลย

 

  • อัญเชิญพระพุทธรูปเข้ามาในบ้าน
  • นำข้าวสารอาหารแห้งมาวางไว้บริเวณกลางบ้านเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของบ้านหลังใหม่
  • นำดอกไม้ ธูป เทียน มาจัดโต๊ะหมู่บูชา พร้อมเตรียมเครื่องนมัสการ
  • วางสายสิญจน์จากพระพุทธรูปโดยโยงไปทางมุมห้อง วนรอบตัวบ้านโดยเวียนไปทางขวา แล้วพันรอบบาตรน้ำมนต์และวางสายสิญจน์ที่เหลือบริเวณประธานสงฆ์
  • เจ้าของบ้านจุดธูปเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย
  • พิธีกรกล่าวอาราธนาศีล 5 จากนั้นพระสงฆ์จะให้เจ้าภาพและแขกรับศีล
  • พิธีกรกล่าวนำอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
  • เจ้าภาพถวายภัตตาหารและถวายเครื่องไทยธรรมให้กับพระสงฆ์ทุกรูป
  • พระสงฆ์อนุโมทนาและให้พร
  • นิมนต์พระสงฆ์ 1 รูป ไปเจิมและประน้ำพระพุทธมนต์ที่ประตูบ้าน
  • กราบลาพระสงฆ์