รู้จัก บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร เชื่อกันว่า ใช้ขอขมากรรม
ทำความรู้จัก บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร ของ พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราสโภ สถานปฏิบัติธรรมพระนเรศดอยเชียงดาวเทพพรหมเนรมิต จ.เชียงใหม่ แก้ไขวิบากกรรมเรื่องเจ้ากรรมนายเวร
การสวดมนต์ นั้น หากอธิบายความตาม พจนานุกรมการสาธารณสุขไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2559 ก็คือ การเล่งเสียงในพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อบูชาหรือสรรเสริญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นการอธิฐานถึงพระศาสดาของศาสนาหรือพระผู้เป็นเจ้าอีกนัยหนึ่งคือการสื่อสารกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
ในอีกแง่มุมหนึ่ง การสวดมนต์ คือ การเจริญสติ รำลึกคำสวด ที่เป็นเสมือนคำสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งเพื่อเสริมสร้างบุญบารมี และผู้มีความเชื่อความศรัทธา หรือ คนไทยหัวใจสายมูเตลู มีความเชื่อถือว่า การสวดมนต์ หรือ สวดพระคาถา ใดนั้น เป็นการส่งเสริมความรุ่งเรือง อำนาจ บารมี เมตตามหานิยม รวมทั้งยังมีการเชื่อถือในเรื่องการสวดมนต์แก้กรรม แก้วิบากกรรม ยังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เช่น คาถามหาจักรพรรดิ ของ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในหมู่นักปฏิบัติสายมูเตลู ยังมีอีกบทสวดมสนต์ ที่เรียกว่า “บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร” ได้รับการส่งต่อ บอกกล่าว เล่าประสบการณ์ กันว่า สามารถใช้สวดเพื่อแก้ไขดเวงชะตา ของขมาเจ้ากรรมนายเวร และได้ผลกันไม่น้อย
สำหรับ “บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร” ที่ว่านั้น ที่มาที่ไปเท่าที่สืบค้นได้ เป็นบทสวดมนต์แผ่เมตตาให้เจ้ากรรมนายเวรเพื่อให้เกิดพลังคุ้มครองตัวเองและผู้ป่วยนี้แต่งโดย พระอาจารย์ ดร.สิงห์ทน นราสโภ แรกเริ่มนั้นจัดพิมพ์ในหนังสือ "บทสวดมนต์ดุริยมนตรา" ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร” เนื่องจากเป็นบทสวดมนต์ที่สอนธรรมะให้แก่เจ้ากรรมนายเวร อันได้แก่ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร, อนัตตา ความไม่มีตัวตน, ผลจากการประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ, ปัจฉิมโอวาท และโอวาทปาฏิโมกข์ มีผู้สวดมนต์บทนี้แล้วเกิดผลสัมฤทธิ์สำเร็จ เกิดปาฏิหาริย์หลายต่อหลายคน ดังที่มีเผยแพร่ในเว็บไซต์ต่าง ๆ
บทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 จบ
ไตรสรณคมน์
พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
แผ่เมตตาพรหมวิหาร
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ อัพยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆาโหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ (เมตตา)
สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ (กรุณา)
สัพเพ สัตตา ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ (มุทิตา)
สัพเพ สัตตา กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปฏิสะระณา ยัง กัมมัง กะริสสันติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ (อุเบกขา)
สอนธรรมะแก่เจ้ากรรมนายเวร ปัจฉิมโอวาท และโอวาทปาฏิโมกข์
ทุกกะโต ทุกขะฐานันติ วะทันติ พุทธา
นะ หิ เวเรนะ เวรานิ สะมันตีธะ กุทาจะนัง อะเวเรนะ จะ สัมมันติ เอสะ ธัมโม สะนันตะโนฯ
พุทโธ พุทธัง รักษา ธัมโม ธัมมัง รักษา สังโฆ สังฆัง รักษาฯ พุทโธ พุทธัง อะระหัง ธัมโม ธัมมัง อะระหัง สังโฆ สังฆัง อะระหังฯ พุทโธ พุทธัง กัณหะ ธัมโม ธัมมัง กัณหะ สังโฆ สังฆัง กัณหะ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง ภะวันตุ เม (สวดเพื่อผู้อื่น ภะวันตุ เต)
นะสาเปเส พุรุอะกัง ปะริปัตตัง ปะริขันตัง มัจจุราชา นะ ภาสะติ มัจจุราชา นะ ปัสสะติฯ
สุญญะโต โลกัง อะเวกขัสสุ ......(ใส่ชื่อตนเอง).......
สะทา สะโต อัตตานุทิฏฐิง อูหัจจะ เอวัง มัจจุตะโรสิยา เอวัง โลกัง อะเวกขันตัง มัจจุราชา นะ ปัสสะติ
อิมัง สัจจะวาจัง อะธิฏฐามิ ทุติยัมปิ อิมัง สัจจะวาจัง อะธิฏฐามิ ตะติยัมปิ อิมัง สัจจะ วาจัง อะธิฏฐามิ
โย ทัณเฑนะ อะทัณเฑสุ อัปปะทุฏเฐสุ ทุสสะติ ทะสันนะ มัญญัตตะรัง ฐานัง ขิปปะเมวะ นิคัจฉะติ เวทะนัง ผะรุสัง ชานิง สะรีรัสสะวะ เภทะนัง คะรุกัง วาปิอาพาธัง จิตตักเขปัง วะ ปาปุเณ ราชะโต วา อุปะสัคคัง อัพภักขาณัง วะ ทารุณัง ปะริกขะยัง วะ ญาตีนัง โภคานัง วะ ปะภังคุณัง อะถะวาสสะ อะคะรานิ อัคคิ ฑะหะติ ปาวะโก กายัสสะ เภทา ทุปปัญโญ นิระยัง โส อุปะปัชชติฯ
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว ขะยะ วะยะ ธัมมา สังขารา อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถาติ อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจาฯ
อุททิฏฐัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตา สัมมาสัพพุทเธนะ โอวาทะ ปาฏิโมกขัง ตีหิ คาถาหิ ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานะสาสะนังฯ อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร มัตตัญญุตา จะ ภัตตัสมิง ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง อะธิจิตเต จะอาโยโค เอตัง พุทธานะสาสะนันติฯ
เมตตานิสังสะสุตตะปาโฐ (อานิสงส์ของการเจริญเมตตา)
เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัต์ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฏิพุชฌะติฯ นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติฯ มะนุสสานัง ปิโย โหติฯ อะมะนุสสานัง ปิโย โหติฯ เทวะตา รักขันติฯ นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติฯ ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติฯ มุขะวัณโณ วิปปะสีทะติฯ อะสัมมุฬ๎โห กาลัง กะโรติฯ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติฯ
เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาติฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติฯ
อายุวัฑฒะโก ธะนะวัฑฒะโก สิริวัฑฒะโก ยะสะวัฑฒะโก พะละวัฑฒะโก วัณณะวัฑฒะโก สุขะวัฑฒะโก โหตุ สัพพะทาฯ ทุกขะโรคะภะยา เวรา โสกา สัตตุ จุปัททะวา อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ จะ เตชะสา ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิ ภาค๎ยัง สุขัง พะลัง สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒี จะ ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายู จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เมฯ
บทสวดสรรพมงคล
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
คำแปลบทสวดมนต์สอนเจ้ากรรมนายเวร
ขอให้สรรพสัตว์ผู้เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น อย่ามีเวรต่อกันเลย อย่าพยาบาทปองร้ายกันเลย อย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย ขอให้มีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด (แผ่เมตตา)
ขอให้สรรพสัตว์ ฯลฯ จงพ้นจากความทุกข์โดยประการทั้งปวงเถิด (แผ่กรุณา)
ขอให้สรรพสัตว์ ฯลฯ อย่าได้ปราศจากและอย่าได้พลัดพรากจากสมบัติและบุคคลที่เป็นที่รักที่ตัวมีอยู่เถิด (แผ่มุทิตา)
สรรพสัตว์ ฯลฯ มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม จักได้รับผลแห่งกรรมนั้น (แผ่อุเบกขา)
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างตรัสสอนไว้ว่า ทำทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นจะมาถึงตน
เวรจะไม่ระงับด้วยการจองเวร มันเป็นเช่นนี้ไม่ว่าในกาลเวลาใดก็ตามหรือไม่ว่ากาลไหนๆ ก็ตาม เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวรเท่านั้น ที่กล่าวมานี้เป็นคำสอนที่สืบต่อกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลแล้ว (ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต่างก็ทรงยอมรับว่ามันเป็นจริงอย่างนั้น)
ขอคุณพระศรีรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ปกป้องคุ้มครองรักษา ทั้งคุณญาณบารมีของพระอริยะผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย ช่วยปกป้องคุ้มครอง ช่วยให้มีอายุยืนยาว มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุข และมีพลังคุ้มครอง เป็นต้นเหตุให้เกิดความปลอดภัยจากภัยอันตรายทั้งหลาย ทั้งเป็นเหตุปัจจัยช่วยให้เกิดพลังปาฏิหาริย์อันเป็นอัศจรรย์ ทำให้พญามัจจุราช (เจ้ากรรมนายเวร) ไม่พูดถึง และมองไม่เห็น (ข้าพเจ้าหรือผู้ป่วย)
นี่แน่ ......(ใส่ชื่อตัวเราหรือชื่อผู้ป่วย)...... เธอจงมองโลกหรือตัวเองให้ว่างเปล่า ไม่มีตัวตน เมื่อเข้าใจมองโลกหรือตัวเองว่า ว่างเปล่า (ไม่มีตัวตน) มัจจุราช (เจ้ากรรมนายเวร) จะมองไม่เห็น
ขอกล่าวย้ำ อธิษฐานขอให้เป็นจริงอย่างนั้นอย่างแท้จริง ขอกล่าวย้ำเป็นครั้งที่ ๒ เป็นครั้งที่ ๓
ผู้ใดประทุษร้ายหรือคิดร้ายต่อผู้ไม่เคยคิดร้ายต่อ ลงโทษผู้ที่ไม่เคยทำความผิด ย่อมได้รับภัยร้ายแรง 10 ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างทันตาเห็น คือ
1. ได้รับทุกขเวทนา หรือทุกข์ทรมานอย่างแรงกล้า
2. สรีระร่างกายถูกทำลาย
3. เจ็บป่วยอย่างหนัก
4. มีจิตฟุ้งซ่านอย่างหนักอาจถึงกับเป็นบ้า
5. ถูกทางราชการทำโทษอย่างรุนแรง
6. ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดอย่างร้ายแรง
7. ญาติเสียชีวิตแทน
8. ทรัพย์สมบัติมีอันพินาศฉิบหาย
9. ไฟป่าหรือไฟไหม้บ้านชนิดไม่ทราบสาเหตุไม่น่าจะเกิดภัยเช่นนั้น
10. ตายไปแล้วยังตกนรกชดใช้กรรมต่อ
มานี่ซิภิกษุทั้งหลาย มา ณ บัดนี้ ฉันขอเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลาย (คือสิ่งที่ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ปรุงแต่งให้เป็นตัวตน) มีความเสื่อมสิ้นสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอพึงดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด (คือให้มีสติควบคุมเสมออยู่กับปัจจุบันด้วยความมีสติเสมอ) นี้เป็นคำสอนครั้งสุดท้าย ก่อนที่พระพุทธองค์จะปรินิพพานซึ่งตรัสสอนด้วยความเป็นห่วง
พระพุทธองค์ผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ทรงตรัสรู้เห็นแจ้งกำจัดกิเลสโดยพระองค์เอง ได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ คือหลักคำสอนสำหรับผู้จะปฏิบัติตนเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส เป็นหลักการโดยย่อว่า
ผู้ที่มุ่งต่อพระนิพพาน อันเป็นบรมสุข ต้องมีความอดทน เพียรพยายามเผาทำลายกิเลสให้สิ้นไป เพียรพยายามด้วยความอดทนอดกลั้นอย่างแรงกล้าจนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย (หากจะเร่งปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย) บำเพ็ญตัวเป็นนักบวชก็ขอให้เป็นนักบวชที่แท้จริง ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สงบกาย วาจา ใจ ไม่เบียดเบียนใคร ไม่ทำบาปโดยประการทั้งปวง ทำแต่กุศล ชำระจิตใจให้สะอาดผ่องใส ทั้งไม่กล่าวใส่ร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ รู้จักประมาณตนในการฉัน การบริโภค (ใช้สอยปัจจัย 4) ยินดีอยู่อาศัยในที่เงียบสงัด เพียรพยายามบำเพ็ญภาวนาให้เกิด ภาวนามยะปัญญา ที่แท้จริง นี่แหละคือคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ข้าพเจ้า (พระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน พระอารามสร้างถวายโดยเศรษฐีอนาถะปิณฑิกะ ครั้งนั้นพระพุทธเจ้า พระผู้ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับฟัง เมื่อพระภิกษุทั้งหลายได้มาแล้ว พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ดังนี้
ภิกษุทั้งหลายผู้เจริญเมตตา จนกระทั่งข่มนิวรณ์ได้ เสพเสวยอบรมตนทำให้มาก นำมาใช้เป็นประจำ ทำให้เกิดเป็นรูปธรรม กระทำด้วยความเพียร ไม่ย่อท้อ สะสมเมตตาธรรมไว้เสมอ บำเพ็ญเพียรพยายามด้วยดี ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ เป็นแน่แท้ คือ
1. หลับก็หลับอย่างเป็นสุข
2. ตื่นมาก็เป็นสุข
3. ไม่ฝันร้าย
4. เป็นที่รักของเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
5. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลายด้วย
6. เทวดาคุ้มครองรักษา
7. ปลอดภัยจากไฟไหม้ ปลอดภัยจากพิษ ปลอดภัยจากของมีคม
8. จิตเป็นสมาธิได้เร็ว
9. สีหน้าผ่องใส
10. ตายไปไม่หลงทาง
11. หากไม่สามารถบรรลุความเป็นพระอริยะ อย่างน้อยก็จะได้เกิดเป็นพรหม
ขอให้ท่านมีอายุยืน มีทรัพย์สมบัติ มีสิริ มียศ มีพลัง มีผิวพรรณที่ผ่องใส มีความสุขทุกเมื่อ ปราศจากทุกข์ โศก โรคภัย ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ปราศจากอุปัทวันตรายทุกประการ ขอให้มีอำนาจ มีชัยชนะ มีทรัพย์ มีลาภ มีความสวัสดี มีแต่ความดีงาม มีความสุข มีพลัง มีสิริ มีอายุมั่นยืนยาว มีผิวพรรณผ่องใส มีโภคะสมบัติเจริญรุ่งเรือง มียศ มีอายุยืน มีความสำเร็จในชีวิต จงทุกประการเทอญ
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอสรรพมงคลจงเกิดมี ขอปวงเทพปกป้องคุ้มครองรักษา
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอสรรพมงคลจงเกิดมี ขอปวงเทพปกป้องคุ้มครองรักษา
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอสรรพมงคลจงเกิดมี ขอปวงเทพปกป้องคุ้มครองรักษา