ศรัทธาสายมู

'พระพุทธชัยมงคลคาถา' หนึ่งในยอดพระคาถา ที่ พระเจ้าตากสิน ยังทรงบูชา

'พระพุทธชัยมงคลคาถา' หนึ่งในยอดพระคาถา ที่ พระเจ้าตากสิน ยังทรงบูชา

17 ส.ค. 2566

สวดทุกวันเป็นดี แนะนำ 'พระพุทธชัยมงคลคาถา' พระพุทธมนต์สำคัญแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวร - พระเจ้าตากสิน ทรงใช้สวดบูชา นำมาซึ่งชัยชนะ

พระพุทธชัยมงคลคาถา หรือโดยทั่วไปเรียกกันว่า พระคาถาพาหุงมหากา  เป็นพระคาถาที่ใช้สวดสรรเสริญชัยชนะแปดประการที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีชัยเหนือทั้งมนุษย์ เทวดา พญามาร สัตว์เดรัจฉาน ด้วยเหตุนี้จึงนิยมสวดเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นหนึ่งในพุทธมนต์ที่ใช้ในงานมงคลต่างๆ


ที่มาที่ไปของตำนานการค้นพบพรพคาถาสำคัญนี้ มาจากการที่ หลวงพ่อจรัญ ตธมฺโม หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์

หลวงพ่อจรัญ ตธมฺโม หรือ พระธรรมสิงหบุราจารย์


 ท่านได้ฝันถึงภิกษุโบราณ นามว่า สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว หรือ วัดใหญ่ชัยมงคล ในปัจจุบัน ที่ได้มีการจารึกในใบลานทองคำ และได้ถูกนำมาเผยแพร่อย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา 


บทคาถาพาหุงมหากานี้หลวงพ่อจรัญได้เล่าว่า ไม่ใช่แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของบทคาถาพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

"เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว ก็ทรงเห็นว่าสงครามการกู้ชาติ ต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว จึงทรงโปรดเกล้าให้สร้างพระยอดธง แบบศรีอยุธยาขึ้น แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ และพระองค์ก็เจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"

สำหรับมูลเหตุแห่งการค้นพบพระชัยมงคลคาถา โดยหลวงพ่อจรัญ เล่าว่าเมื่ออาตมาได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว คืนหนึ่งอาตมานอนหลับ แล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง ได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำ สมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโส ผู้รัตตัญญู จึงน้อมนมัสการท่าน ท่นหยุดยืนตรงหน้าอาตมา แล้วกล่าวกับอาตมาว่า

"ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอไปที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อดูจารึก ที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นเจ้า เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะ เหนือพระมหาอุปราชแห่งพม่า และประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทย จากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"

ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งที่บรรจุให้ แล้วก็ตกใจตื่นตอนใกล้รุ่ง อาตมาก็ทบทวนความฝัน ก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้น กำหนดจิตด้วยกรรมฐาน มีสติอยู่เสมอ เรื่องฝันฟุ้งซ่านเป็นไม่มี อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ ในวัดใหญ่ชัยมงคล และจะทำการบรรจุพระบรมธาตุที่ยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ แล้วจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร บอกนายภิรมณ์ ชินเจริญ ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่ง เพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัย ซุ้มเสมาขอที่อาตมาได้สร้างขึ้น ตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำ ที่ก๋งเหล๋งเป็นคนรวบรวมเอามาให้อาตมา ตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ ๆ แต่แตกหัก ผุพัง ทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง

วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันได แล้วมองเห็นโพรงที่ทางเข้าทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม่พอไต่ลงไปภายใน ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่า ลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านไม้ ก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมา เขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง เวลานั้นประมาณ ๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายในพบลานทองคำ ๑๓ ลาน ดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริง ๆ อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ท่านได้จารึกถวายพระพร ก็คือ บทสวดมนต์ที่เรียกว่า "พาหุง มหาการุณิโก" ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว ศรีอโยธเยศ คือผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ ถวายพระพรแด่พระมหาบพิตรเจ้า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช"

พาหุงมหากา คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็ พรพาหุงอันเริ่มด้วย พาหุงสะหัส จนไปถึง ทุคคาหะทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึง มหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วย "ภะวะตุสัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธรรมา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต" อาตมาเรียกรวมกันว่า "พาหุงมหากาฯ"

ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาฯ ให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้น เป็นบทสวดมนต์ที่มีค่ามากที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคีรี จากองคุลิมาล จากนางจิญมานวิกา จากสัจจะกะนิครนธ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มา ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้ ผู้ใดได้สวดไว้เป็นประจำทุกวัน จะมีชัยชนะ มีความเจริญรุ่งเรือง ตลอดกาลนาน มีสติระลึกได้จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ

อานิสงส์ของการสวดพระชัยมงคลคาถา และพุทธคุณ


ที่มาของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา อาตมาได้ตำราเก่าแก่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นใบลานทองคำจารึกของ "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว" ปัจจุบันเรียกว่า วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ได้รจนาถวายพระพรชัยมงคลคาถาแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระพนรัตน์เป็นอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อานิสงส์ของบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่เคยแพ้ทัพ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่เคยแพ้ทัพ นั้นมาจากบทพาหุงมหากาฯ

ผู้ใดสวดมนต์ชัยมงคลคาถา หรือพาหุงมหากาฯ เป็นประจำทุกๆ วันแล้ว มีแต่ชัยชนะทุกประการ เรียนหนังสือก็เกิดปัญญา มีแต่ความเก่งกล้าสามารถ ผู้ใดสวดทุกเช้าค่ำ คิดสิ่งใดที่ดีเป็นมงคล จะสมความปรารถนาทุกประการ

"สวดมนต์เป็นนิจ อธิษฐานจิตเป็นประจำ อโหสิกรรมเสียก่อนและเราก็แผ่เมตตา มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้วเราก็อุทิศเลย"

บทชัยมงคลคาถา บทสวดพาหุงมหากา 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ( 3 จบ )

พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ

สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ

พาหุงสะหัส สะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆ ระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

มาราติเร กะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะยะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกาวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ

เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฉฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต