ศรัทธาสายมู

มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน "พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ"

07 ก.ค. 2567

สายมูพลาดไม่ได้! ร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูในงาน พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ (เทศกาลแห่ราชรถ) วัดพระวิษณุ ทุ่งวัดดอน สาทร ถึง พาหุรัด คลองโอ่งอ่าง ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม นี้

เรื่องเล่าในตำนานกับ พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ หรือ  จักกานนาถ ชาวฮินดูเชื่อว่าจักกานนาถเป็นอวตารในรูปแบบที่เหนือจริง ของพระกฤษณะ และ พระกฤษณะ ก็คือ อวตารที่ 8 ของพระวิษณุ  ดังนั้น  จึงปรากฎกงจักรของพระวิษณุ ในราชรถของ เทพจักกานนาถ

 

มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน \"พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ\"

 

ราชรถคันที่สองมีขนาดเล็กกว่าคันแรกเล็กน้อย  คือ จะมีความสูงแค่ 44 ฟิต  และมี 14 ล้อ เป็นราชรถ สำหรับ เทพวาลารัม (BALARAMA)พี่ชายของพระกฤษณะ  ราชรถคันนี้มีชื่อว่า  ทาลาดห์วาจา  คันที่สามมีขนาดเล็กที่สุด คือมีความสูง 43 ฟิต และมี 12 ล้อ เป็นราชรถสำหรับ เทพีสุพัตตรา (SUBHADRA) น้องสาวของพระกฤษณะ  ราชรถคันนี้ มีชื่อว่า เดวาดาลานา ราชรถทั้งสามคัน  จะมีเชือกผูกโยงให้ชาวฮินดูผู้มีจิตศรัทธามาร่วมใจกันลาก  แม้ว่า  ในอดีต  เชื่อกันว่าใช้ม้าในการลากก็ตาม

 

เมื่อรูปเคารพทั้งสามถูกนำไปประดิษฐานในราชรถเรียบร้อยแล้ว  บรรดาผู้มีจิตอาสาในงานกุศลจำนวนมาก คัดเฉพาะบุคคลสำคัญของเมือง หรือ ผู้มีอุปการะคุณต่อวิหาร จะช่วยกันลากราชรถดังกล่าวตามกันไปเป็นขบวน  มุ่งหน้าไปยังวิหาร กันดิชา(GUNDICHA TEMPLE)

 

เมื่อขบวนเริ่มเคลื่อน จะมีผู้มีจิตศรัทธาสูงส่ง และ  ผู้มีอุปการะคุณต่อวิหารในระดับสูง เดินนำหน้าขบวนรถแล้วช่วยกันใช้ไม้กวาด  ทำการปัดกวาดพื้นถนนก่อนที่ล้อของราชรถจะเคลื่อนมาถึงตำนานกล่าวว่า  กษัตริย์ในอดีตจะเป็นผู้ทำหน้าที่กวาดพื้นถนนด้วยไม้กวาดทองคำ   ถือว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ และ เป็นการแสดงความเคารพต่อเทพเจ้าอย่างสูงสุดด้วยเชื่อกันว่า  ใครก็ตามได้ทำหน้าที่นี้  จะได้บุญกุศลอย่างยิ่ง

 

มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน \"พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ\"

โดยสถานที่จัดงานตั้งจุดเริ่มต้นอยู่ที่ วัดวิษณุ ในซอย ถนนเจริญราษฎร์ แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพฯ ซอยเดียวกับวัดปรก วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีของศาสนาฮินดู นิกายไวษณพ ซึ่งเป็นนิกายในศาสนาฮินดูที่นับถือพระวิษณุเป็นพระเป็นเจ้า หรือเป็นเทพเจ้าองค์สูงสุดผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทพใดๆ โดยพระวิษณุยังมีพระนามอื่นๆ อีก หนึ่งในพระนามที่คนไทยรู้จัก คือ พระนารายณ์  ดวิษณุ หรือ สมาคมฮินดูธรรมสภา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2463 มีอายุครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. พ.ศ. 2563 สร้างขึ้นโดยชาวอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) จากประเทศอินเดีย เพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เนื่องจากสถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขก ไม่สามารถขยายเพิ่มได้อีก

 

มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน \"พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ\"

 

ลักษณะสถาปัตยกรรมของเทวสถานคล้ายพุทธคยาในประเทศอินเดีย อาคารหลัก คือ โบสถ์พระวิษณุ ตั้งเด่นอยู่ทางทิศตะวันออก มีบันไดเดินขึ้นไปสูงหลายสิบขั้น  เมื่อเดินขึ้นไปยังโบสถ์ พบว่าเป็นแท่นบูชา พหุเทวนิยม ตรงกลางมีซุ้มเทพประธานของวัดนี้ คือ พระวิษณุและพระแม่ลักษมี  ส่วนการเดินทางไปวัดวิษณุนั้น สามารถ เดินทางขับรถส่วนตัวก็ได้มีสถานที่จอดรถภายในวัด หรือเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีสุรศักดิ์

 

มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน \"พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ\"

กำหนดการ พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ (เทศกาลแห่ราชรถ) 

วัดพระวิษณุ ทุ่งวัดดอน สาทร ถึง พาหุรัด คลองโอ่งอ่าง
ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม นี้


10:00 - 13:00 น. พิธีสวดมหามนต์ และ การเเสดง ณ วัดพระวิษณุ ทุ่งวัดดอน


13:30 น. พิธีบูชาองค์จักนาถ


14:00 น. เริ่มพิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ


17:00 น. สิ้นสุดการเเห่ราชรถองค์จักนาถ


17:00 - 18:30 น. การแสดงศิลปวัฒนธรรมอินเดีย / พิธีบูชาพระปฏิมา ณ บริเวณริมคลองโอ่งอ่าง หลังศาลรัฐมนูญ


จุดเริ่มต้น : วัดพระวิษณุ ทุ่งวัดดอน สาทร


จุดสิ้นสุด : พาหุรัด คลองโอ่งอ่าง


มาร่วมเฉลิมฉลองพิธีศักดิ์สิทธิ์ ของชาวฮินดูใน \"พิธีแห่ราชรถองค์จักนาถ\"