วิธีการป้องกัน “โรคความดันโลหิตสูง” ปัญหาสุขภาพ ‘หลัก’ ของคนไทย
“โรคความดันโลหิตสูง" ถือเป็นโรคใน 7 กลุ่มโรคที่เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ดังนั้นเรามาป้องกันตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงดีไหม
เราคงได้ยินข่าวกันมามากว่าผู้ป่วยที่เป็น 'โรคความดันโลหิตสูง' โรคเบาหวาน โรคอ้วน หรือโรคอื่น ๆ ใน 7 กลุ่มโรคที่เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ COVID-19 ควรได้รับการฉีดวัคซีนเป็นอันดับต้น ๆ ไม่เช่นนั้นถ้าคนกลุ่มนี้ติดเชื้อ COVID-19 ขึ้นมาจะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและอาการรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
อย่างไรก็ตามเราก็ต้องเข้าใจที่คุณหมอบอกว่า โรคกลุ่มนี้เป็นโรคที่ "ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่สามารถติดต่อ ได้ผ่านการสัมผัส คลุกคลี หรือติดต่อ ผ่านสารคัดหลั่งต่างๆแต่ เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการเลือกดำเนินชีวิต ซึ่งโรคกลุ่มนี้ จะค่อย ๆ สะสมอาการ ค่อย ๆ รุนแรงและอาจเกิด อาการเรื้อรังตามมา”
ซึ่งอยากจะเน้นย้ำคำว่า เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรม การเลือกดำเนินชีวิต หมายถึงวิธีการใช้ชีวิตของเราก็ทำให้เป็นโรคนี้ได้ อย่างการไม่ควบคุมอาหาร จนเกิดภาวะอ้วน เบาหวาน การกินอาหารเค็มมาก ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือทำงานหนักเกินไปจนเครียด เป็นต้น แต่บางคนอาจจะเป็นโรคนี้ด้วยกรรมพันธ์เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของโรคนี้แล้ว เราก็จะสามารถป้องกันตัวเราและคนที่เรารักจากการเป็นโรคนี้ได้ บทความนี้จึงเอาแนวทางการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลศิริราชมาฝากกัน
1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียง
โดยค่าดัชนีมวงกาย (BMI) ที่เหมาะสมอยู่ที่ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อเมตรกำลังสอง หรือรักษาระดับเส้นรอบเอวให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน
2. การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ความรับประทานอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่โดยใช้หลักการ อาหารจานสุขภาพ (Plate Method) ตามภาพด้านล่างนี้การรับประทาน ผักผลไม้ที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและใยอาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้
3. จำกัดโซเดียม (ความเค็ม) ในอาหารน้อยกว่า 2,000 มิลิกรัมต่อวัน
โซเดียมจะเป็นเกลือแร่ที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งสำคัญต่อเราและมักแฝงตัว อยู่ในรสชาติของความเค็ม ดังนั้นควรจำกัดโซเดียมในอาหารน้อยกว่า 2,000 มิลิกรัมต่อวัน (เทียบเท่าเกลือแกง 1 ช้อนชา)
4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
การออกกำลังกายเป็นวิธีในการลดน้ำหนักที่เหมาะสม ควรปฏิบัติอย่างน้อยวันละ 30 นาที ไม่จำเป็นต้องวิ่ง แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำหรือการเดินก็เพียงพอ
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
https://www.siphhospital.com/th
http://healthydee.moph.go.th
https://กรมวิทย์.com
https://unsplash.com