"กระทรวงทรัพย์ฯ " ประกาศจุดยืน ไทยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 20% ภายในปี 2030
ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ ที่เราได้เห็นในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมาไม่ว่าจะอุทกภัย วาตะภัย หรืออัคคัภัย ล้วนมีส่วนมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ออกมาเตือนเราแล้วว่า ถ้าไม่รีบดูแลโลกวันนี้สถานการณ์อาจแย่ลงไปอีกได้
วันที่ 27 ตุลาคม 2564: จากการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC)
ซึ่งมีเป้าหมายการควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน และ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงรักษาระดับการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่าระดับที่จะเป็นอันตรายต่อการดํารงอยู่ของมนุษย์
รัฐบาลไทย โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังได้ลงนาม ในความตกลงปารีสโดยมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลงอย่างน้อยร้อยละ 20 ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งเป็นภารกิจสําคัญ และท้าทายที่ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน และประชาชนทุกคน ที่จะต้องร่วมมือกันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายตามที่กําหนด ซึ่งจะเป็นส่วนสําคัญในการชะลอและบรรเทาภาวะโลกร้อนที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทํา ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (LT-LEDS) ร่วมกับ กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เพื่อที่จะประกาศความมุ่งมั่นของประเทศร่วมกับประชาคมโลก ในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้
โดยประเทศไทยจะมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี ค.ศ.2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission) โดยเร็วที่สุดภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ รวมถึงมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2065
องค์การบริหารจัดการกก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO
หน่วยงานภายใต้การกํากับของ ทส. ซึ่งมีภารกิจหลักในการส่งเสริมสนับสนุนทุกภาคส่วนดําเนินการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อน และเป็น หน่วยงานหลักของประเทศด้านการดําเนินงานโครงการคาร์บอนเครดิต ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญและความจําเป็นในการขับเคลื่อนการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคส่วนต่างๆ ให้มีต้นทุนตำ่สุดจึงได้ริเริ่มดําเนินโครงการ “เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network: TCNN)” ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายฯ แล้วกว่า 122 องค์กร รวมทั้งดําเนินการพฒันาเครือข่ายความร่วมมือกับภาคีต่างๆเช่นสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (GCNT) เครือข่าย Carbon Markets Club กลุ่ม Race to Zero และ Carbon Neutral Now เป็นต้น
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่นชุมชนในการยกระดับกาสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศและมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และยังเป็นการสร้างอุปสงค์คาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยอันจะช่วยสนับสนุนและขับเคลื่อน ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจภายในประเทศให้เกิดสภาพคล่องและขยายตัวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการดําเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ของประเทศไทยในที่สุด นอกจากนี้ TGO ยังร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทยพัฒนา “Thailand Carbon Credit Exchange Platform” เพื่อใช้เป็นแพลตฟอร์มสําหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสําหรับ โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจสําหรับการดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ ซึ่งมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพราะจะเป็นการช่วยดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในบรรยากาศลงมากักเก็บไว้ในมวลชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาโครงการภาคป่าไม้ประเภทต่างๆ จะเปนการเพิ่มแหล่งดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
ทั้งนี้ TGO ได้ร่วมกับ กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทร่วมปลูก บํารุงรักษา และฟื้นฟูป่าในพื้นที่ของรัฐ
โดยองค์กรภาคเอกชนจะได้รับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต ในอัตราราอยละ 90 และหน่วยงานเจ้าของพื้นที่จะได้รับในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อย 10 จากปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ TGO ให้การรับรอง ซึ่งเป็นการผลักดันและสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปลูกและดูแล รักษาป่าของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงจูงใจจากคาร์บอนเครดิตที่ภาคเอกชนจะสามารถนําไปใช้ในกิจกรรมการ ชดเชยคาร์บอน การแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต หรือใช้ประกอบในการรายงานดัชนีดคานความยั่งยืนขององค์กรต่ออไป