Online Program

บทเรียนบัตรพลังงาน ปัญหาสาธารณสุขชนบท?

บทเรียนบัตรพลังงาน ปัญหาสาธารณสุขชนบท?

25 มิ.ย. 2562

บทเรียนบัตรพลังงาน ปัญหาสาธารณสุขชนบท?

ต้นเดือนมิถุนายน หมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ตกเป็นข่าวโด่ดดัง หลังพบการใช้บัตรพลังงานเพื่อรักษาโรค นำมาสู่การพิสูจน์ว่าใช้รักษาได้จริงหรือไม่ ที่สุดแล้วหลายหน่วยงานยืนยันว่าเป็นบัตรลวงโลก แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหลอกขาย สิ่งที่อ้างว่ามีสรรพคุณในการรักษาโรค เรื่องนี้อาจสะท้อนปัญหาทัศนคติ และระบบสาธารณสุขในชนบท ไปติดตามจากรายงาน วชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

ชุมชนบ้านศาลาดิน เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่อยู่ในตำบลศรีสำราญ อำเภออุบลรัตน์ ห่างจากตัวเมืองจังหวัดขอนแก่นไปราว 50 กิโลเมตร ที่นี่เป็นหมู่บ้านแห่งแรกที่พบว่า มีการใช้บัตรพลังงานเพื่อรักษาโรค ก่อนที่จะกระจายไปยังชุมชนอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่บ้านหลังนี้ เราได้พบกับหญิงชราวัย 68 ปี เธอคือหนึ่งในชาวบ้านที่ซื้อบัตรพลังงานมาใช้เพื่อแก้อาการปวดเมื่อย ในราคา 1,100 บาท เราขอให้เธอเล่าให้ฟัง ว่าอะไรผลักดันให้เธอต้องพึ่งพาบัตรวิเศษใบนี้ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา บัตรพลังงาน เป็นข่าวดังต่อเนื่อง ไม่มีแพทย์ หรือนักวิทยาศาตร์คนไหนยืนยันว่ามันใช้รักษาโรคได้ มากไปกว่านั้น มีการตรวจพบรังสีเกินค่ามาตรฐาน จนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ข้อมูลนี้อาจไปไม่ถึงชาวบ้าน พวกเขายังคงเก็บบัตรพลังงานไว้อย่างหลบซ่อน จะไรไปจะเราจะขอยืมมาลองใช้ดูเราแตะบัตรนี้ที่หลังนานอยู่ราว 5 นาที ถ้ามันใช้รักษาโรคได้จริง เราอาจใช้เวลากับมันน้อยเกินไป ต่างจากหญิงชราคนนี้ที่ใช้มันมาเกือบ 6 เดือนแล้ว เธอรู้สึกว่ามันทำให้เธอกลับมานั่งขัดสมาธิแบบนี้ได้ ในความรู้สึกของชาวบ้าน เราไม่ใช่ผู้ตัดสิน แต่ถ้าบัตรพลังงานใบนี้เป็นบัตรลวงโลก หลอกขายจริงๆ เราอยากรู้ว่าทำไมจึงแพร่หลายในหมู่บ้านแห่งนี้ ที่นี่คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศรีสำราญ เจ้าหน้าที่สาธาณสุขที่นี่ มีหน้าที่ดูแลทั้งหมด 10 หมู่บ้าน หนึ่งในนั้นคือ บ้านศาลาดินที่บัตรพลังงานมาตีตลาด  เจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลว่าทั้งตำบล มีประชากร ราว 5,000 คน ในจำนวนนี้ 600 คนเป็นผู้สูงอายุ และคนวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ไปทำงานในเมือง โรคเบาหวานและความดัน เป็นอันดับโรคแรกที่ชาวบ้านเป็นกันมากสุด รองลงมาคือปวดกล้ามเนื้อ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นไม่อาจนิ่งเฉยให้มีการจำหน่ายบัตรพลังงานได้ นอกจากการแจ้งข้อกล่าวหาต่อตัวแทนจำหน่าย คือการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน และทำลายบัตรทิ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นคนที่ต้องทำหน้าที่สื่อสาร และทยอยเก็บบัตรจากชาวบ้านอีกเช่นเคย แต่จะมีชาวบ้านสักกี่คนที่คืนบัตร  ท่ามกลางความหวังในการรักษาตัวของผู้สูงอายุในชนบท นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการหลอกขายยาหรืออะไรก็ตามแต่ที่อ้างว่ามีสรรพคุณในรักษา  ตราบใดที่ทัศนคติ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขที่ต้องบ่อยให้คนไข้ต้องไปต่อคิวรอพบแพทย์นานๆ การปราบปรามบัตรพลังงานลวงโลก อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นสู่ปัญหาสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ เท่านั้นเอง .