โควิด-19

ไม่ผิดนัด "แอสตร้าฯ" แจงส่งมอบวัคซีนให้ไทย เป็นไปตามแผนการจัดหาวัคซีน

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

แอสตร้าเซนเนก้า ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดสให้กับไทยในเดือนสิงหาคม คาดส่งมอบครบ ทั้งหมด 61 ล้านโดสภายในสิ้นปี2564

วันที่ 3 กันยายน 2564 แอสตร้าเซนเนก้า เปิดเผยวันนี้ว่า ตลอดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทฯได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จำนวน 5.3 ล้านโดส ให้กับกระทรวงสาธารณสุข

 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ซีอีโอแอสตร้าฯ หารือ “นายกฯ” ส่งครบ 61 ล้านโดสภายในสิ้นปี

สธ. เผย "วัคซีนสูตรไขว้" ซิโนแวค - แอสตร้าเซนเนก้า ฉีดแล้วกว่า 1.5 ล้านโดส

“สุวัจน์” รับเข็ม 2 แอสตร้าฯ ย้ำวัคซีน คือ ทางออกของโควิด-19

 

 

รวมยอดส่งมอบวัคซีน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เป็นจำนวนทั้งสิ้น 16.6 ล้านโดส ตามแผนการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศไทย

 

 

 

โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบวัคซีนจำนวน ทั้งหมด 61 ล้านโดส ได้ภายในสิ้นปี2564 จำนวนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ส่งมอบในเดือนสิงหาคมนั้นเป็นไปตามแผนงานที่แอสตร้าเซนเนก้าได้ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ว่า จะสามารถจัดสรรและส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศไทยได้ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน

นายเจมส์ ทีก ประธาน บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า แอสตร้าเซนเนก้าตระหนักถึงหน้าที่สำคัญในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยสิ่งที่เราให้ความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดในขณะนี้ คือ การผลิตและส่งมอบวัคซีนที่มีคุณภาพ เพื่อปกป้องประชาชนชาวไทยและช่วยยังยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยความร่วมมือจากสยามไบโอไซเอนซ์ 

 

 

 

"เราจึงสามารถผลิตวัคซีนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงส่งมอบวัคซีนที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสูงได้ตามกำหนด ทั้งนี้ แอสตร้าเซนเนก้าจะพยายามอย่างสุดความสามารถในการจัดหาวัคซีนให้กับประเทศไทยโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”นายเจมส์ ทีก กล่าว

 

 

นับตั้งแต่มีการเริ่มใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าครั้งแรกในช่วงต้นปี 2564 วัคซีนได้สร้างประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการช่วยชีวิตผู้คนมากมายและป้องกันอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 ในระดับที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

 

 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิผลในการลดความรุนแรงของโรคโควิด-19 และการเจ็บป่วยในระดับที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในทุกกลุ่มอายุได้มากถึง 80%-90% และยังมีประสิทธิผลครอบคลุมไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ต่างๆ ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ รวมถึงสายพันธุ์เบต้าและสายพันธุ์เดลต้า

 

 

 

ผู้รับวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถทนต่อผลข้างเคียงของวัคซีนได้ดี มีการรายงานภาวะที่พบได้ยากคือลิ่มเลือดอุดตันผิดปกติร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia Syndrome หรือ TTS) เกิดขึ้นในระดับที่น้อยมากในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกภายใน 14 วัน และมีอัตราลดลงหลังการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ซึ่งไม่แตกต่างจากอัตราที่พบในประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีน

 

 

 

แอสตร้าเซนเนก้าและพันธมิตรผู้ผลิตได้ส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 กว่าหนึ่งพันล้านโดสให้แก่ประเทศต่างๆ กว่า 170 ประเทศทั่วโลก โดย 2 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า

 

 

 

วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า (ChAdOx1-S [Recombinant]) เดิมเรียก AZD1222 ถูกคิดค้นและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัท วัคซีเทค ซึ่งก่อตั้งโดยมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด วัคซีนดังกล่าวพัฒนาโดยการนำส่วนของสารพันธุกรรมที่ใช้ในการถอดรหัสการสร้างหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ใส่ในโครงของอะดีโนไวรัสซึ่งก่อให้เกิดโรคไข้หวัดทั่วไปในลิงชิมแปนซีที่ถูกทำให้อ่อนแรงลงและไม่สามารถแบ่งตัวได้

 

 

 

โดยหลังจากฉีดวัคซีนเซลส์ในร่างกายมนุษย์จะตอบสนองโดยการสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเดียวกันกับหนามโปรตีนผิวเซลล์ของไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในกรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง

logoline