"COVID Arm" คืออะไร อุบัติการณ์ แนวทางการรักษา ต้องเปลี่ยนชนิดวัคซีนมั้ย
23 ก.ย. 2564
ลักษณะอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนโควิด-19 "COVID Arm" คืออะไร อุบัติการณ์ แนวทางการรักษา ต้องเปลี่ยนชนิดวัคซีนเข็มที่ 2 มั้ย
ภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วเกิดอาการบวม แดง หรือ "COVID Arm" ซึ่งเป็นอาการไม่พึงประสงค์ โดยผู้ป่วยอาจเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนหรือใกล้เคียง และอาจมีอาการคันร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการแสดงอื่น ๆ เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นต้น มักเกิดอาการภายใน 7 วันหลังรับวัคซีน ส่วนใหญ่หายได้เอง
อุบัติการณ์
- มีการรายงาน "COVID Arm" หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ประมาณร้อยละ 1.1 ส่วนมากพบในเพศหญิง และภายหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 1
- นอกจากวัคซีนชนิด mRNA ยังพบรายงานการเกิด COVID Arm ภายหลังการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น แอสตร้าเซนเนก้า AstraZeneca
แนวทางรักษา
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ อาจใช้การประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการ ในผู้ที่มีอาการบวมแดง หรือคันมาก สามารถใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยากินแก้แพ้ได้
- ในผู้ที่เกิด "COVID Arm" สามารถรับวัคซีนชนิดเดิมในเข็มถัดไปได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชนิดของวัคซีน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดอาการซ้ำได้หลังรับวัคซีนชนิดเดิม
ข้อมูล : กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ออมสิน" ช่วยปิดบัญชีหนี้ดอกเบี้ยแพง ให้ยืม 1,000,000 ผ่อนแค่ 5,500 บาท
- หวยงวดนี้ 1/10/64 "สถิติหวย" 17 งวดปีนี้ ไม่พลาดเลขเด็ด วนออก 3 ตัวบนล่าง 2 ตัว
- รับเงิน 10,000 วันไหน "เช็คสิทธิประกันสังคม" ระวังสีแดง ล่าสุดปรับวันโอน
- "กรุงไทยใจดี" ให้ยืมเงินแสน 5 นาทีรู้ผล ช่องทางยื่นเอกสาร เช็คที่นี่
- "สินเชื่อบัวหลวงสุขใจ" ให้ยืม 50,000 ผ่อนเดือนละ 1,400 บาท เงื่อนไขสมัครคลิก