"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ถามซ้ำถามซาก เดิม ๆ เป็นเพราะคนไทยต้องฉีดซ้ำซาก
ถามซ้ำถามซาก เรื่องเดิม เพราะมนุษย์คนไทยต้องฉีดซ้ำซาก ทำไมไม่ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ประหยัดเงินได้มหาศาล
เกาะติด "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ทางเลือกก่อนแพ้ยา ในสถานการณ์ที่ต้องจับตา โควิด-19 Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน หรือ โอมิครอน ล่าสุด วันนี้ หมอธีระวัฒน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ถามซ้ำถามซาก เรื่องเดิม เพราะมนุษย์คนไทยต้องฉีดซ้ำซาก
หมอธีระวัฒน์ ระบุถึง "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ว่า กู้เงิน 35,000 ล้าน วัคซีน โควิด-19 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า 50% ไฟเซอร์ และ โปรตีนซับยูนิต ในที่เหลือ (ถ้าเข้าใจถูกต้อง)
ข้อสังเกต
- ทำไมไม่ฉีดเข้าชั้นผิวหนังซึ่งประหยัดเงินได้มหาศาล
- แอสตร้าเซนเนก้า ถึงแม้เก่งไม่เท่าตัวอื่น จากหนึ่งฉีดได้ห้า , ไฟเซอร์จากหนึ่งฉีดได้สาม , โปรตีนซับยูนิตยังไม่มีข้อมูล
- แถมชั้นผิวหนังปลอดภัยสูงสุด ผ่อนหนักเป็นเบาถ้าจะเกิดผลแทรกซ้อน
"ถามซ้ำถามซาก เรื่องเดิม เพราะมนุษย์คนไทยต้องฉีดซ้ำซาก"
นอกจากนี้ หมอธีระวัฒน์ ยังได้โพสต์เกี่ยวกับ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ก่อนหน้านี้ ระบุ วัคซีน โควิด-19 ฉีดเข้ากล้ามขนาดเต็มที่ ไม่ว่ายี่ห้อไหน จะมีผลข้างเคียงในบางคน ซึ่งถึงกับชีวิต หรือต้องเจ็บป่วยระยะยาว รักษาเป็นเดือน หรือแม้กระทั่งหัวใจวาย ต้องเปลี่ยนหัวใจ
"การฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนังใช้ปริมาณน้อยกว่ามาก เช่น โมเดอร์นา 10 ไมโครกรัม แทนที่จะเป็น 100 ไมโครกรัม เข้ากล้าม ภูมิที่สร้างขึ้นเท่ากัน และกลไกการกระตุ้นภูมิ เป็นคนละระบบ จึงอธิบายได้ว่าทำไมผลข้างเคียงจึง < อย่างน้อย 10 เท่าหรือไม่มีเลย"