"ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ข้อดี - ข้อเสีย ผลข้างเคียง สรุปย่อเข้าใจง่าย ๆ
โควิด-19 "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เด็ก ๆ ในครอบครัว ตนเองและญาติผู้ใหญ่ จริงหรือ ข้อดี - ข้อเสีย ผลข้างเคียง สรุปย่อเข้าใจง่าย ตัดสินใจได้เลย
เกาะติด "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" ทางเลือกก่อนแพ้ยา ในสถานการณ์ที่ต้องจับตา โควิด-19 Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน หรือ โอมิครอน ล่าสุด วันนี้ หมอธีระวัฒน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุ ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง เพื่อความปลอดภัยสูงสุด เด็ก ๆ ในครอบครัว ตนเองและญาติผู้ใหญ่
รอวัคซีน ? จะทำอย่างไรให้คนไทยได้ฉีดวัคซีนทั่วถึง...เรามีทางออก
- "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง" หรือ INTRADERMAL (ID) สามารถฉีดวัคซีน 1 โดส ได้ 3 - 5 คน
ทำไมการฉีดเข้าผิวหนัง ID (INTRADERMAL) ใช้โดสน้อยลงแต่ยังได้ผล ?
- เพราะในผิวหนังมีเซลล์ APC (ANTIGEN PRESENTING CELL) ที่ทำหน้าที่คอยจับเชื้อโรคแล้วส่งข่าวบอกให้เม็ดเลือดขาวออกไปต่อสู้ หรือสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่าในกล้ามเนื้อ
- เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปใต้ผิวหนัง APC ก็จะจับเชื้อในวัคซีนไปกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นดีกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ถ้าฉีดแบบ ID ใช้ปริมาณวัคซีนน้อยกว่า ทำไมไม่ฉีดแบบใต้ผิวหนังตั้งแต่ต้น ?
- ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ INTRA MUSCULAR (IM) สะดวกกว่า
- ฉีดเข้าผิวหนัง ID ฉีดยากกว่า อาจเกิดการอักเสบตรงตำแหน่งฉีดมากกว่า
จากการวิจัยในเบื้องต้น พบว่า ผลการฉีดแบบ ID ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นไม่ต่างกับ IM
* รู้หรือไม่ว่าการฉีดแบบ ID ทำกันอยู่แล้ว เช่น พยาบาลเด็ก พยาบาลภูมิแพ้ หรือการฉีด BOTOX โดยการฉีดแบบ ID พยาบาลต้องมีความเชี่ยวชาญพิเศษ
ข้อดีของการ "ฉีดวัคซีนเข้าชั้นผิวหนัง"
- ใช้ปริมาณวัคซีนที่น้อยมากเพียง 0.05 CC เท่ากับ 10 ไมโครกรัม
- Systemic Side effect (ผลข้างเคียงแบบฉีดเต็มโดส) น้อยกว่าแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่จะมี local side effects คือตุ่มนูนแดงที่ผิวหนังนาน 7 - 10 วัน ซึ่งจะยุบไปเอง
- ผลการขึ้นของภูมิคุ้มกันเท่ากันกับแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- มีผลกระทบข้างเคียงน้อยและปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวในหลาย ๆ โรค