หมอ เผย โอไมครอน" ไม่หนักเท่า ผลข้างเคียงจาก "วัคซีนโควิด"
นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ชี้ จากผลวิจัย "โอไมครอน" ไม่หนักเท่า ผลข้างเคียงจาก "วัคซีนโควิด" แนะฉีดเข้าชั้นผิวหนังเพื่อความปลอดภัย
นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ชี้ จากผลวิจัย "โอไมครอน" ไม่หนักเท่า ผลข้างเคียงจาก "วัคซีนโควิด" แนะฉีดเข้าชั้นผิวหนังเพื่อความปลอดภัย
เกาะติด "Omicron" โอไมครอน หรือ โอมิครอน โควิดสายพันธุ์ใหม่ ล่าสุด วันนี้ หมอธีระวัฒน์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha เผยว่า
สถานการณ์ "โอไมครอน" ที่ดูอาการไม่หนัก ดังนั้นต้องระวังผลข้างเคียงจากวัคซีน
29/12/64
โอไมครอนน่าจะดูดี เพราะที่อยู่โรงพยาบาลจำนวนไม่มากจากข้อมูลประเทศอังกฤษ และอาการไม่หนักมาก เสียชีวิต 39 ราย และหลังติดเชื้ออาการเกิดขึ้นเร็วภายในสองวัน และจบภายในแปดถึงเก้าวัน กักตัวถ้าไม่มีอาการ 5 วัน
จากข้อมูลในประเทศอังกฤษ
"โอไมครอน" ครองสัดส่วนเป็น 90%
(จาก ดร จอห์น แคมป์เบล 29/12/64 )
ดังนั้นในประเทศไทยถ้าเป็น ตามในประเทศอังกฤษ โอไมครอนเข้ามาแทนที่ เดลต้าโดยถ้ายังไม่ยกระดับความรุนแรง จาก
“ร้ายอาจกลายเป็นดี” ได้
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสายประหลาดเกืดใหม่ด้วย
เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีนที่ระดมมหาศาลขณะนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
โดยคุณต้องฉีดเป็นเข้าชั้นผิวหนัง
จากข้อมูล สปสช. มีผู้ขอชดเชยค่าเสียหาย ที่ได้รับผลกระทบจาก "วัคซีนโควิด" 11,911 ราย เป็นจำนวนเงินที่ต้องชดใช้ 955 ล้านบาท และยังมีกรณีที่อยู่ในการอุทธรณ์
เสียชีวิต 19.15% ของ 11,911 ราย นั่นคือ มากกว่า 2000 ราย
เกิดจากวัคซีน
- แอสตร้า 6,043
- ซิโนแวค 4,239
- ซิโนฟาร์ม 467
- ไฟเซอร์ 811
ทั้งนี้ต้องจับตา ไฟเซอร์ ที่เริ่มใช้ขณะนี้ และแอสตร้า ที่ใช้แต่แรก จนปัจจุบัน ในเรื่องผลข้างเคียงและการเสียชีวิต