โควิด-19

ผลตรวจ "โควิด-19" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%

ผลตรวจ "โควิด-19" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%

10 ม.ค. 2565

กรมการแพทย์ ขอความร่วมมือผู้ป่วย "โควิด-19" ที่มีอาการน้อย-ไม่มีอาการ เข้าระบบรักษา HI First เพื่อรักษาเตียงสีเขียว ให้กลุ่มเด็ก และกลุ่ม 608 ย้ำ ม.ค.อัตราครองเตียง สีเขียวเพิ่มขึ้น แต่มีเตียงว่างกว่า 95%

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวในการแถลงข่าวประเด็นแผนรับมือการแพร่ระบาดของโรค "โควิด -19" รอบเดือนมกราคม 2565 โอไมครอน ว่า การนำผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ "โควิด-19" เข้าสู่ระบบการรักษานั้น ขอเน้นย้ำว่าขณะนี้ "โอไมครอน" มามากขึ้น อาการส่วนใหญ่ของ "โอไมครอน" ไม่มีอาการถึง 48 % อาการ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วย "โอไมครอน" ครึ่งหนึ่งไม่มีอาการ ซึ่งส่วนนี้อยากขอเน้นย้ำให้ใช้  HI /CI First และขณะนี้จะเห็นได้ว่าอาการไข้ลดลง ดังนั้นการใช้สถานบริการต่างๆ ใช้การวัดอุณหภูมิอย่างเดียวไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการซักถาม อาการอะไรเพิ่มเติม ถ้ามีอาการก็ไม่ควรให้เข้าในสถานบริการเหล่านั้น หรือแม้กระทั่งห้างสรรพสินค้า

ผลตรวจ \"โควิด-19\" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%

สำหรับกระบวนการนำผู้ป่วยติดเชื้อเข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาล  เบื้องต้นผู้ติดเชื้อจะมาใน 3 รูปแบบ คือเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลหรือถูกตรวจจากหน่วยเชิงรุก ในกรณีนี้หากพบ ATK Positive จะให้หน่วยเหล่านั้น เช่น โรงพยาบาล คลินิก สถานพยาบาลหรือแม้กระทั่งแหล่งตรวจเชิงรุกเป็นคนประเมินอาการเลย ไม่ต้องติดต่อ 1330 อีก ยกเว้นผู้ป่วยที่ตรวจ Self ATK ถ้าผลเป็นบวก ให้โทร 1330 หรือจะ Add LINE หรือเว็บไซต์ของ สปสช. ทั่วประเทศโทรได้หมด ถ้าเป็นการตรวจเอง นอกเหนือจากนั้นปลัดสธ. ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจัด ตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ของจังหวัดเพื่อรับโทรศัพท์ ในกรณีที่ประชาชนตรวจATK ด้วยตนเอง ซึ่งทั้ง 3 ช่องทางจะต้องมีการประเมินอาการ หากพบว่าอาการไม่มาก หรือไม่มีอาการ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ Home isolation ถ้า Home Isolation ไม่ได้บ้านไม่สะดวก ก็นำเข้าสู่ Community isolation

ผลตรวจ \"โควิด-19\" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%

ในขณะเดียวกันหากมีประเมินอาการประเมินอาการแล้วพบว่ามีอาการมาก หน่วยประเมินอาการจะมีการส่งต่อ ผู้ป่วยไปยัง Hospitel หรือโรงพยาบาลสนามหรือรพ.หลักเองเลย รวมทั้งผู้ป่วย HI หรือ CI ที่มีอาการเปลี่ยนแปลง HIหรือ CI นั้นจะทำการส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาต่อ ยังรพ.สนาม hospitel หรือรพ.หลักเลย ซึ่งปัจจุบันยังใช้เวลาในการรักษา 10 วัน ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ฉีดวัคซีนเมื่อตรวจ พบว่ามีผลเป็นบวกจะใช้เวลาในการรักษา 10 วัน ถ้าหายดีก็กลับบ้านได้


สำหรับเกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วย "โควิด-19" เข้าโรงพยาบาล เมื่อผลการตรวจมีผลเป็นบวก หากมีอาการดังต่อไปนี้จะเข้าสู่เกณฑ์การส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลคือ

1. เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
2. หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
3. Oxygen saturation น้อยกว่า 94 %
4. โรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงกลุ่ม 608 ที่มีความเสี่ยงสูงหรือผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลพินิจของแพทย์
5. สำหรับในเด็กอาการหายใจลำบากซึมลงดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง

 

สำหรับการเตรียมความพร้อมการรักษาสำหรับผู้ป่วยเด็กโดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 5 - 11 ปีที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าเด็กจะป่วยมากขึ้น โดยมีการสนับสนุนการเตรียมยาน้ำฟาวิพิราเวีย โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , ทำคลิปวีดีโอแนวทางการเตรียมน้ำยาฟาวิพิราเวีย , การสนับสนุนยาน้ำฟาวิพิราเวียในระยะแรก , จัดผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษาในการดูแลผู้ป่วยเด็กแบบเครือข่าย HI และ CI , ประสานการจัดเตรียมเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา อาทิ แมสก์สำหรับเด็ก

 

ผลตรวจ \"โควิด-19\" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%

สำหรับ community isolation สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ต้องมีผู้ปกครองดูแล  โดยมีการประสานกับกรุงเทพมหานคร ขอให้ทำการจัดเตรียม CI อย่างน้อยคนละ 1 แห่ง และจัดระบบส่งต่อโรงพยาบาลเมื่อมีอาการรุนแรง ให้จัดเตรียมเตียงระดับ 3 ในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยเด็กที่มีอาการรุนแรงในเบื้องต้นกรุงเทพฯ 100 เตียง ขณะที่ในต่างจังหวัดได้มีการจัดเตรียม HI /CI สำหรับเด็ก เช่นเดียวกัน

สำหรับกระแสข่าว เกี่ยวกับเด็ก 6 เดือนและ 4 เดือน ที่ป่วยเป็นโควิด-19 ชื่อสถาบันเด็ก จากการประเมิน อาการพบว่าอยู่ในเกณฑ์สีเขียวทั้ง 2 ราย ไม่ได้มีอาการมาก ขณะนี้ได้ทำการขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่ง ถ้ามีผู้ป่วยเด็กไปที่โรงพยาบาลของท่าน ช่วยรับไว้ก่อนเนื่องจากเรามีเครือข่าย ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นหมอเด็ก สามารถให้คำปรึกษาอยู่แล้ว ไม่ควรให้ผู้ป่วยตระเวนหาสถานที่รักษาเองขอความร่วมมือทุกเครือข่าย ทั้งเอกชนและรวมถึงทุกแห่งทั้งในกรุงเทพฯต่างจังหวัดและปริมณฑล



นอกจากนี้กรณีการจัดเตรียมเตียงสำหรับแรงงานต่างด้าวที่ติดเชื้อ "โควิด 19" เป็นอีกส่วนที่มีความกังวลก็ได้ขอความร่วมมือ Factory isolation จากบริษัทกรณีติดเชื้อเป็นจำนวนมากอาทิแคมป์คนงาน community isolation 1 แห่งเบื้องต้นสำหรับแรงงานต่างด้าวและพร้อมขยายหากการติดเชื้อจำนวนมากซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานคร ได้จัดเตรียมไว้แล้ว

สำหรับอัตราการครองเตียงในปัจจุบัน เตียงทั้งหมดทั่วประเทศมีอยู่จำนวน 178,139 เตียง วันที่ 9 มกราคม 2560 5 ตัวเลขอัตราครองเตียง เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 เห็นได้ว่าอัตราการครองเตียงในเดือนมกราคมมีมากขึ้น จาก 11 เปอร์เซ็นต์เป็น 22 เปอร์เซ็นต์ในกรุงเทพฯมีอัตราการครองเตียงเพิ่มขึ้นจาก 12% เ เป็น 30% แต่ในขณะเดียวกันอัตราครองเตียงสีแดงและสีเหลือง มีอัตราการครองเตียงที่ลดลง แต่มีการครองเตียงสีเขียวเพิ่มมากขึ้น จึงขอความร่วมมือจากประชาชนในการใช้นโยบาย HI หรือ CI First เนื่องจากจำเป็นที่จะต้องรักษาเตียงสีเขียวเอาไว้เพื่อในกรณีผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยกลุ่ม 608

ผลตรวจ \"โควิด-19\" เป็นบวก ไม่มีอาการ-อาการน้อย ใช้HI First ยันเตียงว่าง95%
สำหรับตัวเลข HI / CI ในกทม มีผู้ที่เข้ารับบริการ Home isolation จำนวน 2,682 คน รับใหม่เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2564 788 คน
Community isolation จำนวน 41 แห่งจำนวนเตียง 5,158 เตียงมีผู้ติดเชื้อ 136 คนรับใหม่ 19 คนมีเตียงว่าง 4,995 เตียง หรือคิดเป็น 95.8% เปโรงพยาบาลสนาม 8 แห่งจำนวน 1,660 เตียงมีผู้ติดเชื้อ 82 คนรับใหม่ 19 คน มีเตียงว่าง 1,578 เตียงหรือคิดเป็น 95 .1 %