โควิด-19

"โอไมครอน" หมอเฉลิมชัย ชี้ กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยแล้ว

"โอไมครอน" หมอเฉลิมชัย ชี้ กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยแล้ว

11 ม.ค. 2565

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ชี้ "โอไมครอน" กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยแล้ว หลังจากโควิดระลอก 4 สัปดาห์ที่ 2

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ชี้ "โอไมครอน" กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยแล้ว หลังจากโควิดระลอก 4 สัปดาห์ที่ 2

 

นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ หรือ "หมอเฉลิมชัย" รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ลงบน เฟซบุ๊กส่วนตัว Chalermchai Boonyaleepun หัวข้อ "โอไมครอน" หัวข้อ "โอไมครอน กลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในไทยแล้ว หลังจากโควิดระลอก 4 สัปดาห์ที่ 2 โดยเนื้อหาทั้งหมดระบุดังนี้

11 มกราคม 2565 โควิดระลอกใหม่ ติดเชื้อ(PCR) 7133 ราย สะสม 61,174 ราย ติดเชื้อเข้าข่าย(ATK) 1545 ราย สะสม 17,024 ราย เสียชีวิต 12 ราย สะสม 152 ราย

 

สถานการณ์โควิดระลอกใหม่ หรือระลอกที่สี่ ที่เรียกโดยกระทรวงสาธารณสุขขณะนี้ว่า ระลอกมกราคม 2565 ซึ่งเริ่มต้นเมื่อ 1 มกราคม 2565 นั้น

 

ในช่วงสัปดาห์แรก มีการเพิ่มของผู้ติดเชื้อในอัตราเร็วที่ใกล้เคียงกับของประเทศต่างๆทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตค่อนข้างคงที่

 

เมื่อผ่านเข้ามาสู่สัปดาห์ที่ 2 จำนวนผู้ติดเชื้อ(ตรวจด้วย PCR) เริ่มมีการชะลอตัวไม่เพิ่มขึ้นในอัตราก้าวกระโดด แต่มีการเพิ่มขึ้นของผู้รักษาตัวอยู่ โดยอัตราการเสียชีวิตยังคงตัวเหมือนเดิม

 

ซึ่งน่าจะเกิดจากในระลอกที่สี่นี้ ไวรัสสายพันธุ์หลักเป็น "โอไมครอน" ซึ่งติดเชื้อง่ายแต่ไม่ค่อยแสดงอาการ อาจทำให้ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงจำนวนหนึ่งไม่ได้ทำการตรวจแบบ PCR แต่หันไปตรวจแบบ ATK ด้วยตนเองที่บ้านจึงทำให้ยอดรายงานผู้ติดเชื้อ (ที่ทำการตรวจด้วย PCR) ไม่ได้สูงมากนัก

 

แต่ไปปรากฏเป็นยอดผู้ติดเชื้อเข้าข่าย(ที่ทำการตรวจแบบ ATK) แล้วส่งผลมาถึงจำนวนผู้เข้ารับการรักษาในระบบที่เพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องติดตามตัวเลขผู้ติดเชื้อทั้งที่ตรวจด้วย PCR และตรวจด้วย ATK

 

เพราะขณะนี้ไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" ได้กลายเป็นสายพันธุ์หลัก โดยแซงไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการตรวจชนิดสายพันธุ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมา

วันนี้ 11 มกราคม 2565

  • ติดเชื้อเพิ่ม 7133 นาย
  • ติดในระบบ 6632 ราย
  • ติดจากตรวจเชิงรุก 45 ราย
  • ติดในสถานกักตัว 411 ราย
  • ติดในเรือนจำ 45 ราย
  • สะสมระลอกที่สี่ 61,174 ราย
  • สะสมทั้งหมด 2,284,609 ราย
  • ติดเชื้อเข้าข่าย(ATK) 1545 ราย
  • สะสมระลอกที่สี่ 17,024 ราย
  • รวมติดเชื้อทั้งหมด (PCR+ATK) สะสมระลอกที่สี่ 78,198 ราย
  • รักษาหาย 3306 ราย
  • สะสม 32,291 ราย
  • รักษาตัวอยู่ในระบบ 61,974 ราย
  • โรงพยาบาลหลัก 34,283 ราย
  • โรงพยาบาลสนาม 23,851 ราย
  • แยกกักที่บ้าน 3000 ราย
  • อาการหนัก 492 ราย
  • ใช้เครื่องช่วยหายใจ 110 ราย
  • เสียชีวิต 12 ราย
  • สะสมระลอกที่สี่ 152 ราย
  • สะสมทั้งหมด 21,850 ราย
  • ฉีดวัคซีนสะสม 107 ล้านโดส

 

  •