โควิด-19

เช็คอาการข้างเคียง "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" แสดงอาการแบบไหนเข้าข่ายอันตราย

เช็คอาการข้างเคียง "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" แสดงอาการแบบไหนเข้าข่ายอันตราย

20 ม.ค. 2565

อาการข้างเคียง "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" มักจะแสดงอาการมากน้อยเพียงใด และอาการแบบไหนเข้าข่ายอันตราย เช็คสัญญาณเตือนล่วงหน้า ก่อนถึงเวลาฉีดวัคซีน

อัปเดตความพร้อมสำหรับการ "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" ซึ่งขณะนี้ได้มีการอนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็กอายุ 5-11 ปี โดยชนิดวัคซีนที่ใช้นั้นเป็นวัคซีน "ไฟเซอร์" ขนาดสำหรับเด็ก ซึ่งก่อนหน้านี้ไฟเซอร์ได้รับอนุญาตให้ใช้วัคซีนในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปแล้ว ก่อนจะมีการขออนุญาตขยายอายุสำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี โดยขนาดการใช้วัคซีนลดลงเหลือ 1 ใน 3 (10 ไมโครกรัม) ด้วยการฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 2 เข็ม ห่างกัน 21 วัน วัคซีนโคเมอร์เนตี เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ตัวแรกที่ อย. อนุมัติให้ใช้ในกลุ่มเด็กอายุ 15-11 ปี เบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะสามารถเริ่ม "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" ในวันที่ 31 มกราคม นี้ โดยจะเป็นการให้วัคซีนป้องกันโควิดในเด็กลุ่มเสี่ยงก่อน วันนี้ "คมชัดลึกออนไลน์" ได้รวบรวมอาการข้างเคียงของการ "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" และแนวทางการปฏิบัตตัว มาให้ผู้ปกครองเตรียมความพร้อมก่อนลูกรับวัคซีน 

สำหรับผลข้างเคียง "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก" อาการข้างเคียงเบื้องต้น ดังนี้ 

  • เจ็บในตำแหน่งที่ฉีด 79-86 %
  • อ่อนเพลีย 60-66 % 
  • ปวดศีรษะ 55-66 %

ทั้งนี้พบว่ามักจะมีอาการสูงขึ้นหลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 มากกว่าแต่ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง ที่ส่งผลให้เสียชีวิต

อาการหลัง  "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก"  ที่ต้องเฝ้าระวัง มีดังนี้ 

  • อาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
  • หอบ เหนื่อยง่าย
  • ใจสั่น
  • หมดสติ เป็นลม รู้สึกอ่อนเพลียผิดปกติ

 

หากพบความผิดปกติดังกล่าวข้างต้น ให้รีบพบแพทย์ทันที นอกจากการสังเกตอาการในช่วง 30 นาทีแรกแล้ว ควรติดตามอาการอย่างต่อเนื่องอีก 30 วัน และภายใน 7 วัน หลังจากฉีดวัคซีนไม่แนะนำให้ออกกำลังกายหนักๆ เพราะจะทำให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น
 

สำหรับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังจากการ "ฉีดวัคซีนโควิดในเด็ก"  ซึ่งเป็นภาวะที่หลายคนอาจจะกังวล ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้คำแนะนำไว้ว่า อาการดังกล่าว มักจะเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง และมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับวัคซีนเข็ม 2  ดังนั้น การให้รับวัคซีนเข็ม 1 ควรชะลอการให้เข็ม 2 ไปก่อน จนกว่าจะมีข้อมูลความปลอดภัยมากกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากการฉีดเข็ม 2 ในเด็กกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบมากกว่าเข็มแรก แต่อาการดังกล่าวยังพบน้อยมาก