สธ.ประกาศ "โอไมครอน" ระบาดครอบคลุมทุกพื้นที่ คาดสิ้นเดือน ม.ค. ระบาด 100%
สธ.เผยสถานการณ์การ "โอไมครอน" ขณะนี้ระบาดแล้วทั่วพื้นที่ คาดไม่เกินสิ้นเดือนมกราคมกลายเป็นสายพันธุ์หลักระบาดในไทย 100 % เปิดชื่อ 10 จว.เจอไอไมครอนมากที่สุด
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลง ความคืบหน้าการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในประเทศไทย ว่า สำหรับการเฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน"
ในประเทศไทยขณะนี้ พบว่ามีการกระจายของสายพันธุ์ "โอไมครอน" ไป ทั้ง 77 จังหวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีจังหวัดที่ พบมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
1.กรุงเทพมหานคร 4,178 ราย
2.ชลบุรี 837 ราย
3.ภูเก็ต 434 ราย
4.ร้อยเอ็ด 355 ราย
5.สมุทรปราการ 329 ราย
6.สุราษฎร์ธานี 319 ราย
7.กาฬสินธุ์ 301 ราย
8.อุดรธานี 217 ราย
9.เชียงใหม่ 214 ราย
10.ขอนแก่น 214 ราย
สัดส่วนสายพันธุ์ที่เฝ้าระวัง แบ่งตามกลุ่มตัวอย่าง โดย กระทรวงได้มีการติดตามและตรวจหาสายพันธุ์ "โอไมครอน" จากกลุ่ม 7 กลุ่มตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 11-17 ม.ค. 65 ได้แก่
- กลุ่มตัวอย่างที่สะท้อนภาพรวมของประเทศ ตรวจพบโอไมครอน 83.7%
- คลัสเตอร์ใหม่ (มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 คนในคลัสเตอร์ ) ตรวจพบโอไมครอน 84.86%
- กลุ่มที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต ทุกราย ตรวจพบโอไมครอน 67.21%
- กลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ตรวจพบโอไมครอน 72.35 %
- กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ตรวจพบโอไมครอน 74.58%
- ลักษณะอื่น ๆ ที่สงสัยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ตรวจพบโอไมครอน 75.90%
- กลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อน (ติดเชื้อซ้ำ ) ตรวจพบโอไมครอน 100 %
นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ในภาพรวมจากการตรวจโควิด-19 เพื่อหาสายพันธุ์ "โอไมครอน" นั้น พบว่าขณะนี้ในประเทศมีการระบาดของ "โอไมครอน" แล้วกว่า 87% ส่วนที่เหลือ เป็นการระบาดของสายพันธุ์เดลตา ซึ่งจะพบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง และเสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เคยติดโควิด19 มาก่อนและเกิดการติดเชื้อซ้ำอีกการตรวจหาสายพันธุ์ระบุชัดเจนว่า เป็นการติดเชื้อโอไมครอน 100 % สำหรับสถานการณ์การระบาดในครั้งนี้ จาการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ จึงสรุปได้ว่า การแพร่ระบาดของโอไมครอน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบในกลุ่มผู้ทีเดินทางมาจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด 96.9% และพบว่ามีการติด "โอไมครอน" ในประเทศ 80.4% สธ.คาดการณ์ว่าภายในปลายเดือนมกราคม 2565 การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยจะกลายเป็นสายพันธุ์ "โอไมครอน" เกือบทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม สำหรับการป่วยในกลุ่มที่มีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ยังพบสัดส่วนการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาอยู่ในอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในกลุ่มทั่วไป ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แลพะในบุคลากรทางกาแพทย์ยังพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ในขณะที่ผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อโควิด-19มาก่อนพบว่าการติดเชื้อซ้ำเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ "โอไมครอน" ทั้งนี้ยังเน้นย้ำให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็ม 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อลดอัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต สำหรับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 หรือเข็มกระตุ้นนั้นได้มีการเปิดบริการประชาชนทั้งรุปแบบลงทะเบียน และรูปแบบวอล์กอิน โดยสามารถ คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่