โควิด-19

"โอไมครอน" BA.2 พบระบาดเร็วกว่าเดลตา 20 % และเร็วกว่าสายพันธุ์แรก 5 %

"โอไมครอน" BA.2 พบระบาดเร็วกว่าเดลตา 20 % และเร็วกว่าสายพันธุ์แรก 5 %

26 ม.ค. 2565

"โอไมครอน" BA.2 หมอธีระเผยพบอัตราการแพร่ระบาดไวกว่าเดลตา 20% และไวกว่าสายพันธุ์แรก BA.1 5% ขณะนี้ระบาดในกรุงเบอร์ลินถึง 30%

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat  ถึงสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ทั่วโลก รวมไปถึงการกลายพันธุ์ของ "โอไมครอน" BA.2 ที่พบการระบาดในประเทศแถบยุโรบมากยิ่งขึ้น โดยระบุว่า  

26 มกราคม 2565
ทะลุ 358 ล้านไปแล้ว
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,001,336 คน ตายเพิ่ม 8,416 คน รวมแล้วติดไปรวม 358,670,890 คน เสียชีวิตรวม 5,631,996 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และบราซิล 
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.72 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 82.8
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 53.31 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 43.13
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต 2 เรื่องน่ารู้
1. Omicron หรือ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2 
ข้อมูลจาก Prof.Moritz Gerstung จาก German Cancer Research Center 
พบว่าจำนวนคนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของเยอรมัน เป็น BA.2 มากกว่าเดลต้า (5% vs 2-3%)
หากเทียบอัตราการขยายตัวของการระบาดแต่ละสายพันธุ์ จะพบว่า Omicron BA.1 (สายพันธุ์แรก) จะเร็วกว่าเดลต้าราว 15% แต่ Omicron สายพันธุ์ BA.2 นี้จะเร็วกว่าเดลต้าราว 20% 
ตอนนี้เมืองที่มี BA.2 มากสุดคือ กรุงเบอร์ลิน มีสัดส่วนของ BA.2 ถึง 30%

\"โอไมครอน\" BA.2 พบระบาดเร็วกว่าเดลตา 20 % และเร็วกว่าสายพันธุ์แรก 5 %

2. อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจาก mRNA vaccines
Oster ME และคณะ ได้ตีพิมพ์การศึกษาติดตามผลหลังฉีดวัคซีน mRNA (Pfizer/Biontech: BNT162b2 และ Moderna mRNA-1273) ในวารสารวิชาการแพทย์สากล JAMA วันที่ 25 มกราคม 2565 
ตั้งแต่ธันวาคม 2563 ถึงสิงหาคม 2564 มีจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนที่อายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป จำนวน 192 ,405 ,448 คน ได้รับวัคซีนไป 354 ,100 ,845 โดส

มีรายงานจำนวนคนที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เป็นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบทั้งหมด 1,626 คน
อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น พบมากในช่วงอายุ 12-15 ปี (70.7 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโดส)
โดยสูงสุดในวัยรุ่นเพศชายอายุ 16-17 ปี (105.9 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโดส)
และในผู้ชายอายุ 18-24 ปี (52.4 รายต่อการฉีด BNT162b2 จำนวน 1 ล้านโดส และ 56.3 รายต่อการฉีด mRNA-1273 จำนวน 1 ล้านโดส)
ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบส่วนใหญ่ได้รับการดูแลรักษาจนหายดี โดยมักใช้ยาต้านการอักเสบ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDS)
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า ประโยชน์ที่ได้จากการฉีดวัคซีนนั้นมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เพราะหากมีการติดเชื้อโรคโควิด-19 จะเกิดความเสี่ยงต่อการป่วยและการเสียชีวิต รวมถึงผลแทรกซ้อนต่างๆ ตามมามากกว่า 

 

 

อ้างอิง
Oster ME et al. Myocarditis Cases Reported After mRNA-Based COVID-19 Vaccination in the US From December 2020 to August 2021. JAMA. 2022;327(4):331-340.