โควิด-19

สธ.ยืนยัน "โอไมครอน" BA.2 ไทยเจอแล้ว 14 ราย อย่าตกใจยังไม่พบความรุนแรง

สธ.ยืนยัน "โอไมครอน" BA.2 ไทยเจอแล้ว 14 ราย อย่าตกใจยังไม่พบความรุนแรง

26 ม.ค. 2565

"โอไมครอน" BA.2 ไทยเจอติดเชื้อแล้ว 14 ราย อย่าเพิ่งตระหนกยังไม่พบความรุนแรง ระบาดไว ติดแล้วเสียชีวิต ยืนยัน ATK และ RT-PCR ยังสามารถตรวจหาเชื้อเจอ

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 สายพันธุ์ "โอไมครอน"  BA.2 โดยระบุว่า สำหรับการกลายพันธุ์ "โอไมครอน" BA.2 ในประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มีการตรวจหาสายพันธุ์ และมีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบการรายงานการติดเชื้อไปแล้ว 

พบว่าขณะนี้ไทยเจอผู้ติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ BA.2 แล้วกว่า 14 ราย เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 9 ราย และติดเชื้อภายในประเทศ 5 ราย หนึ่งในนั้นมีผู้ติดเชื้อแล้วเสียชีวิต 1 ราย คือ หญิงสูงอายุที่ จ.สงขลา โดยสถานการณ์การระบาดของโอไมครอน BA.2 มีการตรวจพบมาแล้วกว่า 2-3 สัปดาห์ ส่วนความรุนแรง ความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันได้ดีเหมือนสายพันธุ์ BA.1 หรือไม่นั้น 

ขณะนี้ข้อมูลที่มีอยู่ยังน้อยเกินกว่าจะสามารถสรุปได้ว่าการกลายพันธุ์ของ "โอไมครอน" BA.2 นั้น มีการระบาดอย่างรวดเร็วหรือไม่  หรือไม่ความรุนแรงของไวรัสที่ส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตหรือไม่ โดยจากตัวอย่างการตรวจสอบจำนวน 7,000 คน ทางกรมการแพทย์ ได้มีการติดตามข้อมูล และพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโอไมครอนเพียง 7 ราย หรือประมาณ 0.1 % ซึ่งอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างต่ำมาก 

 

โดยเฉพาะในกลุ่มที่พบว่ามีการฉีดวัคซีน และมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว อัตราการเสียชีวิต และป่วยหนักจะยิ่งมีน้อย  ยืนยันว่า  กระบวนการตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR sหรือการตรวจหาเชื้อด้วย ATK ยังสามารถตรวจสอบได้ รวมไปถึงการกระบวนการตรวจหาสายพันธุ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีประสิทธิภาพมากพอ  


 

ส่วนกรณีการ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2 ทั่วโลกมีมากน้อยแค่ไหนจะเกิดการระบาดที่รุนแรงและรวดเร็วหรือไม่  ยังไม่ต้องกังวล เพราะแม้ว่าในต่างประเทศจะมีการระบาดแต่เชื้อไวรัสจะยังไม่เหนือกว่า BA.1 มากหนัก เพราะจำนวนผู้ติดเชื้อยังมีน้อย อยู่ ส่วนการกลายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลกจะต้องมีการจับตามากยิ่งขึ้น ยังไม่มีความน่ากังวล  

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ส่วนการระบาดของสายพันธุ์เดลตานั้น ขณะนี้พบว่ามีสายพันธุ์ย่อยไปแล้วกว่า 120 สายพันธุ์ โดยจากการถอดรหัสพันธุกรรมพบว่า เดลตาสายพันธุ์ KC17N มีความสามารถในการหลบวัคซีนมากที่สุด และพบว่า สายพันธุ์ย่อย AY.85 มีสัดส่วนการระบาดค่อนข้างเยอะในประเทศไทย และยังพบว่าบางตำแหน่งสามารถหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ ทั้งนี้หากในประเทศไทยมีการระบาดของโอไมครอนแทนที่เดลตาไปแล้ว การตรวจหาการกลายพันธุ์ย่อย อาจจะไม่ต้องดำเนิการต่อไป โดยกรมวิทยาศาสตร์จะจับตาการกลายพันธุ์ของโอไมครอนทดแทน  

 

อย่างไรก็ตามส่วนข้อมูลรายละเอียดเชิงลึกจากการติดเชื้อโอไมครอน การบันทึกข้อมูลอัตราการป่วยหนัก เสียชีวิต กรมการแพทย์จะมีการสรุปข้อมอีกครั้ง แต่ขณะนี้ยังยืนว่าประชาชนไม่ต้องเป็นกังวลเพราะการระบาดของสายพันธุ์ BA.2 ยังพบไม่มากพอ   ทั้งนี้การที่โควิด19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ไม่สามารถกำหนดวันได้ ต้องรอจนกว่าอัตราการเสียชีวิต ป่วยรุนแรงน้อยลง หากไม่มีการกลายพันธุ์ตัวใหม่