อัปเดต แผนเผชิญเหตุ "นักเรียนติดเชื้อโควิด" หลังเจอคลัสเตอร์ 11 จังหวัด
ศบค.ห่วงโควิด-19 ในโรงเรียน หลังพบ "คลัสเตอร์" แล้ว 11 จังหวัด เร่งอัปเดตแผนเผชิญเหตุ "นักเรียนติดเชื้อโควิด" ในโรงเรียนไม่จำเป็นตั้งปิดทั้งโรงเรียน
วันที่ 3 ก.พ. 2565 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิดประจำวันว่า โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" กำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดในไทย
ล่าสุด ศบค.ได้รับรายงานพบ "คลัสเตอร์" ในโรงเรียนและสถานศึกษาในพื้นที่ 11 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี ประจวบคีรีขันธ์ หนองบัวลำภู ยโสธร สุพรรณบุรี มหาสารคาม ศรีสะเกษ กรุงเทพฯ สระแก้ว และชลบุรี เป็นเหตุให้ผู้ปกครองเกิดความกังวล "นักเรียนติดเชื้อโควิด" ในความปลอดภัยที่ลูกหลานที่จะต้องไปเรียนที่โรงเรียน
ศบค.ต้องเน้นย้ำว่าในที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ว่า โควิดที่ระบาดเกิดในโรงเรียน แม้ว่าจะมาตรการคุมเข้มแล้วแต่ก็ยังพบ "คลัสเตอร์" เล็กๆ ไม่เกินจังหวัดละ 10 คน และส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชั้นเดียวกัน ทำให้ต้องมีการปิดการเรียนการสอนในระดับชั้นเรียนนั้นๆ เราไม่จำเป็นต้องปิดทั้งโรงเรียน และต้องเน้นมาตรการเป็นสำคัญ
สัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขได้หารือร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับแผนเผชิญเหตุ หากในโรงเรียนมีนักเรียนติดเชื้อ 1-2 รายในชั้นเรียน จะให้ปิดเฉพาะห้องเรียนนั้น ชั้นเรียนนั้น เป็นเวลา 3 วันทำการนำ "นักเรียนติดเชื้อโควิด" เข้าสู่กระบวนการรักษา ผู้ที่เสี่ยงสูงให้เรียนออนไลน์ และผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำเข้ามาเรียนในโรงเรียนได้
แต่ถ้าต้องการจะปิดทั้งโรงเรียนขอให้ปรึกษากับคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดด้วยก่อนเสมอ เพราะการศึกษาของบุตรหลานมีความจำเป็น
พญ.อภิสมัย กล่าวถึง แผนการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 "โอไมครอน" ไฟเซอร์ฝาสีส้ม เด็กอายุ 5-11 ปีในกลุ่มเสี่ยงว่า ในเดือน ก.พ.นี้ กระทรวงสาธารณสุขจะระดมฉีดวัคซีนให้กลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัวก่อน เริ่มฉีดแล้วที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ เพื่อให้หมอประจำตัวได้ดูแล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของพ่อแม่และผู้ปกครองด้วย
ส่วนเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวจะให้มีการฉีดในโรงเรียน โดยได้จัดสรรวัคซีนฉีดให้นักเรียนชั้น ป.6 ที่อายุต่ำกว่า 12 ปีก่อน จากนั้นจะฉีดไล่ลงไปจนถึงชั้น ป.1 เพื่อป้องกัน "นักเรียนติดเชื้อโควิด"