โควิด-19

"โอไมครอน" คล้ายไข้หวัด แต่ไม่เหมือน เช็คความต่างแบบไหนเข้าข่ายติด Omicron

"โอไมครอน" คล้ายไข้หวัด แต่ไม่เหมือน เช็คความต่างแบบไหนเข้าข่ายติด Omicron

19 ก.พ. 2565

"โอไมครอน" กับ "ไข้หวัด" ความเหมือนที่แตกต่าง เช็คให้ชัวร์ แบบไหนเข้าข่ายติด Omicron อาการต่างที่ชัด คือการเริ่มต้นของอาการ

ปัจจุบันโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่กำลังแพร่ระบาดแทนที่สายพันธุ์ "เดลตา" ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และด้วยคุณสมบัติ ที่โปรตีนหนามแหลม หรือ Spike Protein มีถึง 32 ตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ซึ่งพบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า นอกจากนี้ ยังพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ถึง 10 ตำแหน่ง นั่นจึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลของการกลายพันธุ์โควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" คือเชื่อกันว่าไวรัสจะแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา เข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น  หลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น รวมทั้งอาการที่พบไม่รุนแรง และแทบไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดา ทำให้หลายคนเริ่มแยกไม่ออกว่า เมื่อมีอาการแล้ว กำลังเป็นแค่ "ไข้หวัด" หรือ ติดโควิด "โอไมครอน" กันแน่ 

อาการไข้หวัด

 

  • คัดจมูก
  • น้ำมูกไหลลักษณะใส
  • ไอมีเสหะ
  • จาม
  • เจ็บคอ
  • เสียงแหบ
  • อาจมีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย

 

 

ทั้งนี้ ในผู้ใหญ่อาการจะน้อยมาก อาจมีแค่คัดจมูกและน้ำมูกไหล (ยกเว้นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคทางการหายใจ) อาการของโรคมักเป็นไม่เกิน 2-5 วัน แต่อาจมีน้ำมูกไหลนาน 10-14 วัน กล่าวคือ ติดต่อโดยการหายใจเอาละอองน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ไอ หรือ จาม และการสัมผัสมือ หรือการใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ร่วมกับผู้ป่วย
 

อาการ "โอไมครอน"

 

 

"โอไมครอน" หลังจากที่เกิดการระบาดไปอย่างรวดเร็ว แม้หลายหน่วยงานจะออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้ป่วยหลายรายที่ติดเชื้อ "โอไมครอน" มีอาการไม่รุนแรง เนื่องจากมีลักษณะอาการคล้ายเป็นไข้หวัด หรือคล้ายอาการภูมิแพ้ แต่ก็มีบางอย่างที่แตกต่างออกไป 
 

"อาการโอไมครอน" หากได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการดังนี้ 

 

  • มีอาการไอเล็กน้อย ระคายคอ
  • น้ำมูกไหล
  • จาม
  • จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี
  • ไม่ค่อยมีไข้
  • รู้สึกล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน แม้จะอยู่ในห้องแอร์
  • ปวดหลังส่วนล่าง

 

อาการโดยรวม เบื้องต้นพบว่าไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้ จากข้อมูล ผู้ป่วยจาก "โอไมครอน" ที่พบในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาการหลัก ๆ ที่พบ มีดังนี้

 

  • อาการไอ 54 %
  • เจ็บคอ 37 %  
  • มีไข้ 29 %
  • ปวดกล้ามเนื้อ 15 %
  • มีน้ำมูก 12 %
  • ปวดศีรษะ 10 %
  • หายใจลำบาก  5 %
  • ได้กลิ่นลดลงมีเพียง  2 %  
  • และพบว่า 48% ไม่มีอาการ

 

 

นอกจากนี้ อาการเฉพาะตัว "โอไมครอน" เป็นข้อมูลจาก ดร.จอห์น แคมพ์เบล แพทย์จากอังกฤษ ระบุว่า อาการเปลี่ยนจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ โดยอาการไข้ไม่ชัดเจน และไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับกลิ่นและรส ส่วนอาการหลัก ๆ ที่พบ มีดังนี้

 

  • ปวดหัว 65%
  • อ่อนเพลียอ่อนล้า 65% ตั้งแต่ไม่มากจนกระทั่งถึงลุกไม่ไหว
  • น้ำมูกไหล 65%
  • เจ็บคอ  57%
  • จาม 55%

 

 

ทั้งนี้ เมื่อเทียบดูอาการแล้วอาจดูไม่ค่อยแตกต่างมากนัก แต่ดูง่าย ๆ คือ อาการของ "โอไมครอน" มักเริ่มจาก มีน้ำมูก จาม และปวดหัว ต่อมามี อาการอ่อนเพลียปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเจ็บคอ อาจเหงื่อออกกลางคืน ถ้ามีอาการเหล่านี้ และมีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูง หรืออยู่ในพื้นที่ระบาด ควรตรวจ ATK เพื่อความชัดเจนน่าจะดีที่สุด

 

 

\"โอไมครอน\" คล้ายไข้หวัด แต่ไม่เหมือน เช็คความต่างแบบไหนเข้าข่ายติด Omicron

 

 

 

 

ขอบคุณที่มา : รพ.วิภาวดี