โควิด-19

เช็คเลย "ติดโควิด" ไม่ใช่ "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" Ucep อีกต่อไป เสียสิทธิอะไรบ้าง

เช็คเลย "ติดโควิด" ไม่ใช่ "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" Ucep อีกต่อไป เสียสิทธิอะไรบ้าง

12 ก.พ. 2565

เมื่อ ศบค.เตรียมยกเลิก "ติดโควิด" เป็น "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" หรือ UCEP อีกต่อไป เช็คเลย จะต้องเสียสิทธิ หรือ ได้สิทธิ อะไรบ้าง

หลังจากที่ ที่ประชุม ศบค.เตรียมออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกการกำหนดให้ผู้ "ติดโควิด" เป็น "ผู้ป่วยฉุกเฉิน" หรือ UCEP แล้วให้ไปใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล ทั้งบัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ที่จะเริ่มใน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้ หากยกเลิกให้ผู้ป่วยโควิด เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินแล้วจะเสียสิทธิอะไรบ้าง 

 

 

สำหรับ สิทธิ UCEP สิทธิ UCEP (Universal Coverage for Emergency Patients) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง

6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต

 

 

  • หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
  • หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
  • ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
  • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
  • แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
  • อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย

ขั้นตอนการใช้สิทธิ UCEP

 

 

  • ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
  • โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
  • ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
  • กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ UCEP ทันที แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
  • กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หมายเหตุ : Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต

 

 

แล้วหากผู้ป่วยโควิด ถูกยกเลิกให้เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน 1 มี.ค.65 ประชาชนจะเสียสิทธิ หรือได้รับสิทธิอะไรบ้าง 

 

 

กำหนดค่าตรวจหาเชื้อ 

 

 

  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะจ่ายชดเชยให้สถานพยาบาล โดยหากใช้วิธี RT-PCR จะอยู่ที่ 900 บาท และ 1,100 บาท ขึ้นกับวิธีการตรวจ 
  • ปรับค่าตรวจ ATK 2 ชนิด 250-350 บาท และปรับค่าใช้จ่าย hospitel 1,000 บาท/วัน 
  • บริการนอกเหนือจากสิทธิ หรือ โรงพบาบาลเอกชนจ่ายเอง

 

ขณะเดียวกัน สมาคมประกันชีวิตไทย แจงข้อปฏิบัติ "เคลมประกันโควิด-19" สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทประกันชีวิต จะปรับการเคลมประกันโควิดใหม่ ที่จะจ่ายชดเชยตามเกณฑ์ผู้ป่วยใน แต่ไม่จ่ายชดเชยสำหรับ Home Isolation ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ สธ. "ข้อใดข้อหนึ่ง" โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.65 ดังต่อไปนี้

 

 

  • เมื่อมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
  • หายใจเร็วกว่า 25 ครั้ง/นาทีในผู้ใหญ่
  • Oxygen Saturation น้อยกว่า 94%
  • โรคประจำตัวที่ต้องติดตามอาการใกล้ชิด ตามดุลยพินิจของแพทย์
  • สำหรับเด็ก หากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารน้อยลง