โควิด-19

"โอไมครอน" BA.2 เจอระบาดมากขึ้นในไทย ถอดพันธุกรรมรุนแรงหลบภูมิเก่งแค่ไหน

"โอไมครอน" BA.2 เจอระบาดมากขึ้นในไทย ถอดพันธุกรรมรุนแรงหลบภูมิเก่งแค่ไหน

15 ก.พ. 2565

"โอไมครอน" BA.2 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เจอระบาดในไทยเพิ่มขึ้นชัดเจนแพร่เร็ว รุนแรงหรือไม่ หลบภูมิคุ้มกันได้ดีแค่ไหน เร่งถอดรหัสพันธุกรรม

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวระหว่างการแถลง การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด19 และ "โอไมครอน"  สัปดาห์ที่ผ่านมาพบโอไมครอนในประเทศไทยแล้ว 98.2 %  ซึ่งการระบาดของสายพันธุ์ "โอไมครอน"  อย่างรวดเร็วทั่วโลก ทำให้มีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์ได้มาก 
ทั้งการเกิดสายพันธุ์ย่อยของ "โอไมครอน"  และเกิดสายพันธุ์ใหม่ ทั้งนี้จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของ  "โอไมครอน" ที่ผ่านมา พบว่า 

10 จังหวัดที่พบโอไมครอนมากที่สุด ได้แก่ 
1.กรุงเทพมหานคร 
2.ภูเก็ต
3.ชลบุรี
4.ร้อนเอ็ด
5.สมุทรปราการ
6.หนองคาย
7.สุราษฎร์ธานี
8.มหาสารคาม
9.กาฬสินธุ์
10.ขอนแก่น 

 

\"โอไมครอน\" BA.2 เจอระบาดมากขึ้นในไทย ถอดพันธุกรรมรุนแรงหลบภูมิเก่งแค่ไหน

นพ. ศุภกิจ กล่าวต่อว่า อัตราการตรวจเจอผู้ติดเชื้อแต่ละสัปดาห์มีความเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากขณะนี้พบว่าการติดเชื้อเดลตาในประเทศไทยเหลือเพียง  2.8 %  โดยในไทยมีอัตราการติด "โอไมครอน" สูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกไม่นานครบ 100 %   อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการระบาดค่อนข้างเร็ว มีการติดเชื้อซ้ำ ๆ จะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ค่อนไปจากเดิมโดยสายพันธฺุ์ดั่งเดิมของ โอไมครอนคือ เดิม BA.1.529 หรือ BA.1 ที่ผ่านมามี BA.2 และ BA.3 

\"โอไมครอน\" BA.2 เจอระบาดมากขึ้นในไทย ถอดพันธุกรรมรุนแรงหลบภูมิเก่งแค่ไหน

สำหรับการตรวจพบ "โอไมครอน" BA.2 เจอเดือนธันวาคม ในไทยตรวจเจอช่วงเดือนมกราคม   แน่นอนว่า BA.2 มีการแพร่เร็ว แต่ยังไม่มีข้อมูลข้อมูลชัดเจนว่าป่วยรุนแรงมากน้อยแค่ไหน  หลบวัคซีนได้ดีหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการทดสอบจากกลุ่มผู้ติดเชื้อตัวไป ซึ่งขณะนี้ไทยเริ่มมีอัตราผู้ติดเชื้อโอไมครอน BA.2 เพิ่มขึ้น

 

โดยสัปดาห์ที่ผ่านมาพบการติดเชื้อหาเชื้อ 1,975 รายในพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ พบว่า เจอโอไมครอน BA.2 ประมาณ 18.5% 
และสายพันธุ์เดิม BA.1 ประมาณ  81.5% 

 

"ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ขณะนี้ สายพันธุ์  "โอไมครอน"  BA.2 ในไทยเริ่มเพิ่มขึ้น หากมีการแพร่กระจายจำนวนมากจะทำให้เห็นสัดส่วนที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบัน แน่นอนว่าข้อมูลเบื้องต้นพบว่าสามารถแพร่กระจายได้ไวกว่า BA.1 โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ BA.2 ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว เพื่อทดสอบความรุนแรง ความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันจากวัคซีน  " นพ.ศุภกิจ กล่าว

 

ส่วนเดลตาครอน ขณะนี้  GSEP ถอนออกจากข้อมูลที่มีการรายงานไปแล้ว ไม่ได้มีการกำหนดว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่