"ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" หมอพูดบ่อย ใช่เราหรือเปล่า เช็คลิสต์เลี่ยง "โอไมครอน"
"ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" หมอพูดบ่อย หมายความว่ายังไง ใช่เราหรือเปล่า ตรวจแล้วผลเป็นลบ ต้องกักตัวมั้ย เปิดวิธีเช็คเลี่ยง "โอไมครอน"
อัปเดตสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ "โอไมครอน" ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว แถมมีคุณสมบัติพิเศษ ไม่แตกต่างจาก "ซอมบี้" ที่ไม่ต้องกัด แค่เปิดปาก ก็แพร่เชื้อได้ แม้เชื้อจะไม่ลงปอด ทำให้ความเสี่ยงในการป่วยหนักลดลง แต่เชื้อโอไมครอนกลับไปเกาะบริเวณเซลล์ผนังลำคอจำนวนมาก เมื่อผู้ติดเชื้อพูดคุย ตะโกน ไอ จาม เชื้อจึงกระจายออกมาง่าย และมากกว่า ทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้ง่าย และด้วยความติดง่าย แต่อาการไม่รุนแรง และสามารถแพร่เชื้อได้ ก่อนที่จะมีอาการ ทำให้หลายคนกลายเป็น "ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง" โดยไม่รู้ตัว และเรามักจะได้ยินคำนี้จากหมอบ่อย ๆ แล้วผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หมายความว่าอย่างไร จะใช่เราหรือเปล่า ทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. มีคำตอบมาให้
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือผู้อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อในระยะเวลาหนึ่ง และอาจไม่ได้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เช่น
- อาศัยร่วมห้องกับผู้ติดเชื้อ
- พูดคุยระยะใกล้กับผู้ติดเชื้อ นานกว่า 5 นาที
- เคยอยู่กับผู้ติดเชื้อในที่อากาศไม่ถ่ายเท เช่น รถปรับอากาศนานเกิน 15 น
แล้วไปสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิดมา ต้องตรวจ ATK เลยหรือเปล่า
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง
- ถ้ามีอาการให้ตรวจเอทีเคทันที
- ถ้าไม่มีอาการควรกักตัว 7 วัน
- สังเกตอาการต่ออีก 3 วัน และตรวจในช่วง 3-5 วัน หลังใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ
ทั้งที่ไปใกล้ชิดผู้ติดเชื้อมา แต่ตรวจเอทีเคแล้วผลเป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ) อย่าเพิ่งรีบวางใจ ควรทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่มีอาการ แต่ตรวจเอทีเคแล้วผลเป็นลบ อย่าพึ่งแน่ใจว่าไม่ติดเชื้อ ควรกักตัว 7 วัน สังเกตอาการต่ออีก 3 วัน และตรวจซ้ำภายใน 3-5 วัน หลังตรวจครั้งแรก