โควิด-19

"โควิดระดับ4" สธ.ยกระดับเตือนภัย ทั่วประเทศ งดไปที่เสี่ยง-เลี่ยงเดินทาง

"โควิดระดับ4" สธ.ยกระดับเตือนภัย ทั่วประเทศ งดไปที่เสี่ยง-เลี่ยงเดินทาง

22 ก.พ. 2565

สธ.ยกระดับการเตือนภัย "โควิดระดับ4" หลังติดเชื้อรายใหม่เพิ่มต่อเนื่องภายใน 2 สัปดาห์ ขอความร่วมมือประชาชนงดไปที่เสี่ยง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่มและเลี่ยงเดินทางข้ามจังหวัด

นพ.จักรรัฐ  พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่าระหว่างการแถลงอัปเดตสถานการณ์ "โควิด" เตือนภัย โควิดระดับ4 ทั่วประเทศ และแนวทางมาตรการควบคุมโรค  ว่า จากสถานการณ์การติดเชื้อ  "โควิด" มีแนวโน้มสูงขึ้น และคาดการณ์ว่าภายใน 1-2 สัปดาห์ห์ทรงตัวในระดับสูง

 

ดังนั้นกระทรวงสาธารณะจึงจำเป็นจะต้องมีการมาตรการและแนวทางเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดเพิ่มขึ้น โดยในเบื้องต้นสถานการณ์การระบาดของโควิด19 และการติดเชื้อของไทยพบว่า มีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ย 14 วัน ( 8-21 ก.พ.65 ) อยู่ที่ประมาณ  15,981 ราย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 796 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 202 ราย เสียชีวิตเฉลี่ย 14 วันอยู่ที่ประมาณ 25 ราย โดยที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุข ( สธ.) มีการเฝ้าระวังการติดเชื้อในลักษระคลัสเตอร์ แคมป์คนงาน โรงเรียนสถานประกอบการ มาอย่างต่อเนื่อง 

นพ.จักรรัฐ  กล่าวต่อว่า แต่จากการติดตามข้อมูลพบว่าขณะนี้ "โควิด" ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาด
 

สธ.จึงได้มีการยกระดับการเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ โดยจะต้องขอความร่วมมือประชาชนงวดเข้าสถานที่เสี่ยง  เลี่ยงการรวมกลุ่ม ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด
 

เพื่อควบคุมไม่ได้การแพร่เชื้อการจายเป็นวงกว้าง  อย่างไรก็ตามมีการเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วย พบว่าแนวโน้มการติดเชื้อทั่งประเทศยังเพิ่ใขึ้นต่อเนื่อง  อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นทุกกลุ่ม วันทำงานการทำงาน การกินข้าวร่วมกันทำให้แพร่เชื้อได้มากที่สุด  รวมไปถึงการแพร่เชื้อในวัยเด็ก 

ด้านนพ.ธงชัย  กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศอยู่ในช่วงการระบาดของ "โควิด" สายพันธุ์โอไมครอน แม้ว่าจะมีการติดเชื้อรายวันจำนวนมาก  แต่พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโอไมครอนมีความรุนแรงต่ำ มีการเสียชีวิตต่ำลง แต่หากมีการปล่อยให้เกิดการระบาดมากยิ่งขึ้นจะทำให้ควบคุมอยาก จากข้อมูลพบว่า ขณะนี้ผู้ติดเชื้อจะอยู่ในวัย 18 ขึ้นไป  ซึ่งพบมากในกลุ่มเด็กเล็ก วัยทำงาน  และเพื่อเป็นการลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ลดการแพร่ระบาดลงให้อยู่ในจุดที่สามารถควบคุมได้  สธ. ขอให้ประชาชนช่วยกันป้องกันตัวเอง เพราะโควิดสามาถติดต่อได้ง่ายในบางรายมีอาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการเลย เมื่อเดินทางไปพบปะผู้อื่นก็จะส่งให้มีการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัง  ดังนั้นหากมีความเสี่ยงขอให้กักตัวเอง มาตรการในการควบคุมโรคยังมีความสำคัญ  ดังนั้น สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกระดับการเตือนภัยโควิดเป็นระดับ 4  ทั่วประเทศ     โดยมีมาตรการดังนี้

  •  งดเข้าสถานที่เสี่ยง
  • งดทานอาหารร่วมกัน ดื่มสุราในร้าน
  • เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง
  • เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน
  •  งดร่วมกิจกรรม กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ
  •  มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-80
  • ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว
  •  เลี่ยงไปต่างประเทศ
  •  หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน

 

 

ระดับเตือนภัยป้องกันโควิด19 ของประเทศไทย จะมีทั้งหมด 5 ระดับ คือ 

ระดับ 1 ใช้ชีวิตได้ปกติ แบบ COVID-19 Free Setting ประชาชนสามารถ โดยสารขนส่งสาธารณะได้ การเดินทางเข้าประเทศโดยปกติ  

ระดับ 2 เร่งเฝ้าระวัง คัดกรอง เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 1,000 คนขึ้นไป  งดเข้าสถานบันเทิง เลี่ยงเข้าสถานที่ปิด/แออัด เลี่ยงร่วมกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มจำนวนมาก เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท

ระดับ 3 จำกัดการรวมกลุ่ม ทำงานจากที่บ้าน 20 – 50% เลี่ยงกิจกรรมรวมกลุ่ม 200 คนขึ้นไป เลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท งดไปต่างประเทศ 

ระดับ 4 ปิดสถานที่เสี่ยง ทำงานจากที่บ้าน 50 – 80% งดไปรับประทานร่วมกัน  งดดื่มสุราในร้าน งดเข้าสถานที่เสี่ยงทุกประเภท เลี่ยงเข้าใกล้ผู้อื่นนอกบ้าน คัดกรองก่อนเดินทาง  ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ ใช้ระบบกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ

ระดับ 5 จำกัดการเดินทางและกิจกรรมต่างๆ ทุกคนงดออกนอกบ้าน หากจำเป็นเพื่อการดำรงชีวิต เช่น ตรวจ รักษา ซื้ออาหาร ของใช้ งดรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน งดใกล้ชิดกันในบ้าน  รวมถึงเคอร์ฟิว ซึ่งจะมีการกำหนดมาตตรการตามระดับเตือนภัยทั้ง 5 ระดับด้วย

 

  • สถานการณ์เตียงว่างสำหรับรองรับผู้ติดเชื้อโควิด 

-จำนวนเตียงทั่วประเทศ 173,736 เตียง 

-อัตราการครองเตียง  85,389 เตียง 

-อัตราเตียงว่าง         88,347  เตียง 

เตียงสำหรับรองรับผู้ป่วยอาการหนัก 

-จำนวนเตียงทั้งหมด 2,160  เตียง 

-อัตราการครองเตียง 383 เตียง 

-อัตราเตียงว่าง    1,777 เตียง 

เตียงสำหรับผู้ป่วยระดับ 2.2 (Oxygen high flow) 

-จำนวนเตียงทั้งหมด  5,612 เตียง 

-อัตราการครองเตียง   673  เตียง 

-อัตราเตียงว่าง          4,939  เตียง 

เตียงผู้ป่วยระดับ 2.1 (Oxygen low flow) 

-จำนวนเตียงทั้งหมด        23,910  เตียง 

-อัตราการครองเตียง        4,679  เตียง 

-อัตราเตียงว่าง                19,231  เตียง  

เตียงรองรับผู้ป่วยระดับ 1 (กลุ่มที่ไม่ใช้อ็อกซิเจน)

-จำนวนเตียงทั้งหมด         142,054  เตียง 

-อัตราการครองเตียง          79,654  เตียง 

-อัตราเตียงว่าง                  62,400 เตียง  

 

\"โควิดระดับ4\" สธ.ยกระดับเตือนภัย ทั่วประเทศ งดไปที่เสี่ยง-เลี่ยงเดินทาง