โควิด-19

ไขข้อข้องใจ "โอไมครอน" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่

ไขข้อข้องใจ "โอไมครอน" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่

29 มี.ค. 2565

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ไขข้อข้องใจโควิด "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่

จากกรณีที่ "ทิม พิธา" พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกลแจ้งติดเชื้อ "โควิด" ครั้งที่สอง ในรอบ 1 เดือนติดต่อกัน โดยการตรวจ PCR ก็พบว่าติดเชื้อโควิดอีกครั้งหนึ่ง โดยมีค่า CT อยู่ที่ 19 ซึ่งแพทย์ระบุว่าหมายถึงปริมาณเชื้อมาก วินิจฉัยว่าเป็นการติดโควิด (reinfection) อีกครั้ง ไม่ใช่ซากเชื้อจากการเป็นโควิดครั้งก่อน และคาดว่าน่าจะเป็นสายพันธุ์ "โอไมครอน"

 

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่า เรามีโอกาสที่จะติดเชื้อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย "BA.2" ซ้ำ หลังจากเคยติดเชื้อ "BA.1" มาก่อนหรือไม่ โดยระบุว่า คำตอบคือเกิดขึ้นได้ แต่พบไม่บ่อย "เพียงร้อยละ 1" โดยมีรายงานจากหลายประเทศในยุโรป ถึงการติดเชื้อซ้ำในลักษณะนี้ ไม่พบอาการรุนแรงในผู้ติดเชื้อซ้ำ ที่จำเป็นต้องเข้ารักษาตัว
ในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต

 

 

สาเหตุที่มีการติดเชื้อซ้ำได้ เพราะทั้ง BA.1 และ BA.2 ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว หากเปรียบเทียบกับคนเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายคือ BA.1 และ BA.2 ไม่เหมือนกันทุกส่วน เหมือนเด็กแฝด (identical twin) แต่มีความเหมือนกันในระดับพี่น้องจากพ่อแม่คนเดียวกัน บริเวณหนามบางส่วนจะมีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน

 

  • BA.1 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.2 จำนวน 7 ตำแหน่ง
  • BA.2 บริเวณหนามกลายพันธุ์ต่างไปจาก BA.1 จำนวน 5 ตำแหน่ง

 

ไขข้อข้องใจ \"โอไมครอน\" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่


ทำให้ภูมิคุ้มกันแอนติบอดีที่ได้จากการติดเชื้อ BA.1 ไม่อาจปกป้องการติดเชื้อจาก BA.2  ได้ 100 %
 

 

ไขข้อข้องใจ \"โอไมครอน\" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่

 

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯตรวจหาสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยเทคโนโลยี “Mass Array” ภายใน 24-48 ชั่วโมง ยังพบสัดส่วนของ "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย  BA.1 และ BA.2 ใกล้เคียงกัน 

 

 

ไขข้อข้องใจ \"โอไมครอน\" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่
 

นอกจากนี้ จากผลวิจัยพบว่า หากผู้ติดเชื้อ "BA.1" แล้วหายอาการดีขึ้น (recovery) กลับมาติดเชื้อ " BA.2" ซ้ำได้อีก จะเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะขณะนี้ เรามีผู้ติดเชื้อเชื้อ BA.1 เป็นจำนวนมาก หากสามารถกลับติดเชื้อ BA.2 ซ้ำได้ ย่อมจะมีแนวโน้มจะเกิดการระบาดใหญ่ของ BA.2 เป็นคลื่น (wave) 
ลูกใหม่ตาม BA.1 มา อันแสดงว่าภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ BA.1 ตามธรรมชาติไม่อาจป้องกันการติดเชื้อ BA.2 สมควรที่ WHO จะตั้งชื่อและจัดแยก “BA.2” 
ให้เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์หลักที่น่ากังวล (variants of concern) หรือไม่?

 

แต่หากพบว่าผู้ติดเชื้อ "BA.1" แล้วอาการดีขึ้น (recovery) และไม่กลับมาติดเชื้อ "BA.2" ซ้ำอีก หรือเกิดติด BA.2 ซ้ำจำนวนไม่มาก เราก็ไม่น่ากังวลใจว่าจะเกิดการระบาดระลอกใหม่จาก BA.2 และโดยภาพรวมของไวรัสโคโรนา 2019 และ "โอไมครอน" ทั่วโลกในขณะนี้กำลังทยอยลดจำนวนลง BA.2 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.1 ไปกว่า 40  ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าอัลฟา ต่างจากไวรัสดั้งเดิม "อู่ฮั่น"และแพร่ระบาดได้เร็วกว่า BA.1 ถึง 1.5 เท่า จากการศึกษาในเดนมาร์กที่มีการระบาดของ BA.1 และติดตามมาด้วยการระบาด BA.2 จำนวนมากกว่า 1.8 ล้าน คน พบว่า

 

1. มีผู้ติดเชื้อ BA.1(โอมิครอน สายพันธุ์หลัก)  และตามมาด้วยการติดเชื้อซ้ำหรือ Re-infection”  ด้วย BA.2 (โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย) หลังจากหายจากการติดชื้อโอมิครอน BA.1 (recovery) แล้ว 60 วัน เพียงร้อยละ 0.0126 ซึ่งน้อยมากคือประมาณ 1 ใน 100 
2. แสดงให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อ BA.1 มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ BA.2 ซ้ำ
3. ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 ซ้ำที่มีจำนวนไม่มากนั้น ไม่มีคนใดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต
4. ผู้ที่ติดเชื้อ BA.2 ซ้ำนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 89 ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และมีอายุน้อย (0-19 ปี)

 

ไขข้อข้องใจ \"โอไมครอน\" BA.1 เป็นแล้ว ติด BA.2 ซ้ำได้มั้ย รุนแรงหรือไม่

 

 

สรุปว่า มีการติดเชื้อซ้ำจาก BA.2 หลังจากติดเชื้อ BA.1 ครั้งแรกได้ แต่พบได้ยาก (1 ใน 100) และจะพบยากในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน โดยผู้ติดเชื้อซ้ำด้วย BA.2 พบว่า มีอาการไม่รุนแรงต้องเข้าโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต 

 

 

ข้อมูลจากทั่วโลกในประเทศที่มีการติดเชื้อ BA.1 และตามด้วย BA.2 เช่นในแอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร  สหรัฐอเมริกา  นอร์เวย์ อินเดีย ฟิลิปปินส์ มีลักษณะเช่นเดียวกับที่เดนมาร์ก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม WHO ไม่จัดให้ “BA.2” เป็นสายพันธุ์ใหม่แยกจาก “BA.1” ผู้ติดเชื้อ "BA.1" แล้วอาการดีขึ้น (recovery) ส่วนใหญ่จะไม่กลับมาติดเชื้อ " BA.2" ซ้ำ แม้จะพบผู้ที่ติดเชื้อซ้ำอยู่บ้าง แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก (1 ใน 100)  จึงไม่น่ากังวลใจว่าจะเกิดการระบาดระลอกใหม่จาก "BA.2" และโดยภาพรวมของไวรัสโคโรนา 2019 และโอมิครอนทั่วโลกกำลังทยอยลดจำนวนลง