โควิด-19

"เคลมโควิด" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

"เคลมโควิด" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

07 เม.ย. 2565

"เคลมโควิด" คปภ. เเจงติดโควิดหลัง 1 เม.ย. ยื่น เจอ จ่าย จบ "อาคเนย์ประกันภัย - ไทยประกันภัย" ได้หรือไม่ พร้อมขั้นตอนการยื่นเอกสารแบบละเอียด ก่อนกรมธรรม์หมดอายุเดือนมิถุนายนนี้

หลังจากเมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ส่งผลให้ผู้ทำประกันภัยโควิด -19 แบบ เจอ จ่าย จบ เป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถ "เคลมโควิด" ยังไม่ได้รับเงินสินไหมทดเเทน จนถึงขณะนี้ หลายคนพยายามติดตามตามช่องทางที่มีการประกาศไว้ก็ยังไม่สามารถติดต่อเพื่อสอบถามรายละเอียดได้ 
 


โดยล่าสุด เเฟนเพจ PR OIC ของ ปคภ. ซึ่งได้เเจ้งขั้นตอนการดำเนินการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยที่ต้องการ "เคลมโควิด" กรณีการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย ของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไว้ มีคนเข้าไปคอมเมนต์สอบถามข้อมูลจำนวนมาก โดยเฉพาะประเด็นรายละเอียดและวันที่สามารถยื่นเอกสารได้ นอกจากนี้ บางรายได้ยื่นเอกสารฉบับจริงให้บริษัทประกันภัยไปแล้ว หากต้องยื่นเอกสารใหม่จะต้องเสียค่าใช้เพิ่มเติมในการดำเนินการขอเอกสารจากต้นทาง เหตุใด "กองทุนประวินาศภัย" และ คปภ. ไม่สามารถเช็คข้อมูลจากบริษัทประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตได้  และที่สำคัญคือ มีหลายคนพยายามติดต่อเเต่ไม่สามารถติดต่อได้


\"เคลมโควิด\" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

 

\"เคลมโควิด\" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

\"เคลมโควิด\" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

ทั้งนี้ได้มีการชี้เเจงจาก คปภ. ว่า การที่กองทุนประกันวินาศภัยต้องขอเอกสารตัวจริงสำหรับการยื่นเคลมใหม่ทั้งหมด เนื่องจากไม่สามารถหาเอกสารตัวจริงจาก 2 บริษัทที่ถูกเพิกถอนประกันได้ เพราะไม่ได้มีการลงเคลมไว้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ทำให้บริษัทถูกเพิกถอนใบอนุญาต อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือกรมธรรม์ประกันภัยโควิด -19 ที่ยังมีผลบังคับใช้ยังสามารถยื่นเคลมประกันได้ เเม้ว่าจะตรวจพบว่าติดเชื้อหลังจากวันที่ 1 เมษายนก็ตาม จนกว่ากองทุนประกันวินาศภัยจะประกาศเป็นอย่างอื่น เช่น กรณีให้ผู้ที่ถือกรมธรรม์เเสดงความประสงค์ขอเงินคืน โดยจะมีเอกสารเเจ้งไปยังผู้ที่กรมธรรม์ให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขภายในระยะเวลาที่กำหนด เเต่ขณะนี้ ผู้ที่ถือกรมธรรม์โควิด เจอ จ่าย จบ ยังสามารถ"เคลมโควิด" ได้กรณีติดเชื้อและกรมธรรม์ยังไม่หมดอายุ     

 

ทั้งนี้ ยอดกรมธรรม์โควิด - 19 "อาคเนย์ประกันภัย" นั้นมีจำนวน 897,242 กรมรรรม์ ส่วน "ไทยประกันภัย" มีจำนวน จำนวน 279,531 กรมธรรม์ ซึ่งกรมธรรม์ประกันภัยโควิดส่วนใหญ่ จะหมดอายุภายในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนนี้  
 

โดยกรณีผู้เอาประกันที่ได้รับความเสียหายเเล้ว ให้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดเเทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประโยขน์ ผู้มีสิทธิเรียกร้อง ตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดเเทนไว้เเล้ว 
 

ส่วนกรณียังไม่ได้ยื่นเรียกร้องความเสียหาย ให้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนจะพิจาณาค่าสินไหมทดเเทนตามกรมธรรม์ประกันภัย 
 

สำหรับ ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COViD-19) ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ สามารถขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย ให้ยื่นขอรับชำระหนี้จากกองทุนจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากทองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัยให้ตามระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่

 

\"เคลมโควิด\" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่

 


สำหรับช่องทางการดำเนินการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัย สามารถติดต่อขอรับการบริการข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ตามช่องทาง จำนวน 124 คู่สาย ดังนี้
 

  1. กองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) ผ่านช่องทางโทรศัพท์พื้นฐานหมายเลข 0-2791-1444
     
  2. สำนักงาน คปภ. ผ่านระบสายด่วน คปภ. 1186
     
  3. สำนักงาน คปภ. ผ่านระบบช่องทางโทรศัพท์พื้นฐานหมายของส่วนกลาง หมายเลข 0-2515-3995 ถึง 0-2515-3999 กด 0
     
  4. สำนักงาน คปก. ภาคและสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ ตามหมายเลขโทรศัพท์ของสำนักงาน คปภ. ภาค และสำนักงาน คปภ. จังหวัด
     
  5. สมาคมประกันวินาศภัยไทย ฝ่านระบบช่องทางโทรศัพท์พื้นฐาน หมายเลข 02-108-8399
     
  6. กองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ชั้น 15 เลขที่ 1010 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 
     

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางช่องทางออนไลน์ @oicconnect 
เว็บไซต์ สำนักงาน คปภ.  www.oic.or.th


นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้เตรียมศูนย์ในการให้คำเเนะนำรับเรื่องร้องเรียนและอำนวยความสะดวกในการรับชำระหนี้ทั่วประเทศ จำนวน 81 ศูนย์
 

ขั้นตอนการรับบริการของศูนย์ฯ มีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ติดต่อรับแบบ "ค่าขอรับชำระหนี้"
ขั้นตอนที่ 2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แบบฟอร์ม และหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่จะออกเลขที่ดำขอรับชำระหนี้ และออกเอกสารไว้ให้เกับเป็นหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 4 เจำหน้าที่ จัดเก็บข้อมูลเจ้าหนี้ นำส่งกองทุนประกันวินาศภัย
 

หากเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของบริษัท ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อกองทุนประกันวินาศภัยในฐานะผู้ชำระบัญชีของทั้งสองบริษัท ภายใน 60 วันนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยกำหนดในประกาศ โดยให้นำเอกสารต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 2 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้
 

1) กรมธรรม์ประกันภัย
2) บัตรประจำตัวประชาชน
3) ใบเคลม ใบนัดชำระหนี้ หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงถึงมูลหนี้ และ
4) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)
 

และหากเป็นเจ้าหนี้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยให้นำเอกสารแสดงความเป็นเจ้าหนี้ ต้นฉบับพร้อมทั้งสำเนา จำนวน 1 ชุด ประกอบการยื่นขอรับชำระหนี้ ดังนี้
 

1) หลักฐานแสดงถึงมูลหนี้
2) บัตรประจำตัวประชาชน และ
3) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล)

ผู้เอาประกันภันสามารถยื่นคำขอทวงหนี้ต่อกองทุนฯ หรือศูนย์รับคำขอที่สำนักงาน คปภ. จัดตั้งได้ทั่วประเทศ หรือผ่านออนไลน์ ได้ที่ https://rps-sev.gif.or.th/Login


\"เคลมโควิด\" อาคเนย์ประกันภัย ไทยประกันภัย หากติดเชื้อหลัง 1 เม.ย. ได้หรือไม่