โควิด-19

มี "เสมหะในลำคอ" ตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโควิดมั้ย หรือเป็นโรคร้ายแรงอย่างอื่น

มี "เสมหะในลำคอ" ตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโควิดมั้ย หรือเป็นโรคร้ายแรงอย่างอื่น

11 พ.ค. 2565

เช็คอาการมี "เสมหะในลำคอ" ตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโควิดหรือไม่ หรืออาการมีเสมหะจะเสี่ยงทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างอื่นดูชัด ๆ ให้แน่ใจ

สำหรับสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ที่กำลังเริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มจำนวนมากยิ่งขึ้น และยิ่งเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์มีการเดินทางไปเที่ยวตังหวัด เดินทางกลับภูมิลำเนา จึงอาจจะส่งผลให้ประชาชนเกิดความเสี่ยงมากกว่าที่ผ่านมา ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ฝุ่นควันที่สะสมในอากาศมากยิ่งขึ้น ทำให้หลายคนประสบกับภาวะอาการคล้ายเป็นหวัด หรือไม่สบาย ในบางคนมี "เสมหะในลำคอ" ตลอดเวลา ซึ่งก็ทำให้เกิดความกังวลว่าอาการมี "เสมหะในลำคอ" ตลอดเวลา เสี่ยงติดเชื้อโควิดหรือไม่ หรือลักษณะอาการดังกล่าวจะเข้าข่ายเป็นโรคร้ายหรือไม่ วันนี้ "คมชัดลึกออนไลน์" รวบรวมโรคที่ทำให้เกิดอาการ "มีเสมหะในลำคอ" ตลอดเวลา เพื่อให้ประชาชนใช้สำหรับเป็นข้อมูลในการสังเกตุอาการตนเองในเบื้องต้น  
 

การมี "มีเสมหะในลำคอ" หรือสเลดในลำคอนั้น เกิดจากกรณีที่ร่างกายสร้างออกมา จากต่อมสร้างสารคัดหลั่ง ที่อยู่ในเยื่อบุทางเดินหายใจ  โดยกรณีที่มีเสมหะ หรือสเลดในคอเรื้อรัง อาจเกิดจากโรค หรือภาวะบาง   ดังนี้ 


-โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้  และจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้ โดยหากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่างๆ จะกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในจมูก ซึ่งอาจไหลออกมาทางจมูกส่วนหน้า หรือไหลลงคอ  ซึ่งน้ำมูกที่ไหลลงคอ ก็จะกลายเป็นสเลด หรือเสมหะในคอ ลักษณะของเสมกะจะมีสีขาวใส หรือขุ่น  ยกเว้นเวลาเช้าที่อาจมีสีเหลืองขุ่นได้ เนื่องจากมีการคั่งค้างของน้ำมูก หรือเสมหะ อยู่ในจมูก หรือคอเป็นระยะเวลานาน

 

-โรคไซนัสอักเสบ โรคนี้เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุจมูก และไซนัส  ซึ่งจะมีการกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูก ให้มีเสมหะไหลลงคอได้  นอกจากนี้สารคัดหลั่งที่ออกจากไซนัส อาจผ่านรูเปิดของไซนัสในโพรงจมูกออกมา และไหลลงคอ กลายเป็นเสมหะ  ลักษณะของซึ่งมักจะมีสีเขียว หรือเหลืองตลอดเวลา 

 

-โรคกรดไหลย้อน  เมื่อกรดไหลขึ้นมาที่คอหอยจากหลอดอาหาร จะกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในลำคอให้ทำงานมากขึ้น ทำให้มีเสมหะในลำคอ  นอกจากนั้นกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาที่คอ จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุลำคอ  ทำให้กลไกในการกำจัดเสมหะของเยื่อบุลำคอผิดปกติไป ทำให้มีเสมหะค้างอยู่ที่ลำคอได้  นอกจากนั้น ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอ และกล่องเสียง กรดไหลย้อนที่ออกไปนอกหลอดอาหาร อาจไปถึงเยื่อบุจมูกทางด้านบน และกระตุ้นต่อมสร้างน้ำมูกในโพรงจมูกให้ทำงานมากขึ้นทำให้นีน้ำมูก หรือมีเสมหะไหลลงคอ

-โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคหืด โดยทั้ง 2 โรคจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมของผู้ป่วยโรคนี้มีความไวผิดปกติ เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งระคายเคืองต่างๆ จะกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในเยื่อบุหลอดลม ทำให้มีเสมหะในหลอดลม หรือคอตลอดได้

 

-การติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ เช่นจากเชื้อรา, เชื้อวัณโรค, เชื้อซิฟิลิส, เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส  ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังของเยื่อบุลำคอ ซึ่งอาจกระตุ้นต่อมสร้างเสมหะในลำคอให้ทำงานมากขึ้น ทำให้มีเสมหะในลำคอได้  


อย่างไรก็ตามโควิด-19 หรือการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถือว่าเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งอ่าจจะส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อในลำคอทำให้เกิดอาการมี "มีเสมหะในลำคอ" ตลอดเวลาได้เช่นกัน หากรู้ว่ามีความเสี่ยง หรือมีอาการดังต่อไปนี้ ควรแยกกักตัว และทำการตรวจหาเชื้อเบื้องต้นด้วย ATK ทันที 

อาการโควิด

-มีไข้สูง ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
-มีอาการของระบบทางเดินหายใจ + อาการร่วมอื่น ๆ เช่น
-จาม คัดจมูก มีน้ำมูก
-แสบคอ เจ็บคอ
-ไอ แบบมีเสมหะ และไม่มีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ
-ปวดศีรษะ
-อ่อนเพลีย
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
-คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
-บางรายอาจมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
-สูญเสียการรับรส หรือรับกลิ่น ทำให้จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รับรส

โดยจะมีการแสดงอาการหลังรับเชื้อประมาณ 5 วัน 

 

ขอบคุณข้อมูล: คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ,โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม