โควิด-19

"โอไมครอน" เปิด 4 ข้อหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดดีกว่า เชื้อกลายพันธุ์-ระบบ สธ.ล่ม

"โอไมครอน" เปิด 4 ข้อหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดดีกว่า เชื้อกลายพันธุ์-ระบบ สธ.ล่ม

15 เม.ย. 2565

โควิด "โอไมครอน" Omicron ศบค.เปิด 4 เหตุผลหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดจะดีกว่า หวั่นเชื้อกลายพันธุ์-ระบบสาธารณสุขล่ม

อัปเดตโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ Omicron ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วอยู่ในขณะนี้ ทำให้ยังพบตัวเลขผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นรายวัน และด้วยคุณสมบัติที่ไม่ค่อยแสดงอาการ มีระยะฟักตัวสั้น และข้อมูลอาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา ทำให้หลายคนเริ่มผ่อนคลายการดูแลตัวเอง และกลับไปใช้ชีวิตตามปกติมากขึ้น 

 

 

 

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ได้โพสต์ข้อมูลแนะนำว่า ถึงแม้ว่า "โอไมครอน" Omicron ดูเหมือนว่าอาการจะไม่รุนแรง แต่ไม่ติดจะดีกว่า ด้วยเหตุผล 4 ข้อ ดังนี้

 

  1. ปล่อยให้ติดเชื้อ ส่งเสริมให้เชื้อกลายพันธุ์ แพร่กระจายง่ายขึ้น
  2. Omicron เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดภาวะ Long COVID ระยะยาวได้
  3. ยังมีคนไทยอีกหลายล้านคน ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 เสี่ยงติดเชื้อและอาจเสียชีวิต
  4. ถ้าผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเร็ว อาจทำให้ระบบสาธารณสุขรองรับไม่ทัน

\"โอไมครอน\" เปิด 4 ข้อหลัก ไม่แรงแต่ไม่ติดดีกว่า เชื้อกลายพันธุ์-ระบบ สธ.ล่ม

โดยเฉพาะภาวะอาการ Long Covid นั้น แพทย์หลายคน ได้ให้ความเป็นห่วง เพราะ "โอไมครอน" Omicron เป็นสายพันธุ์กลายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดภาวะ Long COVID ระยะยาวได้ หรือผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว มึนงง ไม่สดชื่น ความจำสั้น สมาธิสั้น แสบตา คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสชาติอาหารเปลี่ยนไป หรือพบอาการชาที่ลิ้นในบางราย มีอาการไอ หอบเหนื่อย หายใจไม่ทัน ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก
มีไข้ ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดข้อ กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะสมองล้า นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง วิตกกังวล ซึมเศร้า

 

10 อาการ ที่พบมากที่สุดใน Long COVID คือ 

 

  1. เหนื่อยล้า 
  2. หายใจไม่อิ่ม
  3. ปวดกล้ามเนื้อ
  4. ไอ
  5. ปวดหัว
  6. เจ็บข้อต่อ
  7. เจ็บหน้าอก
  8. การรับรู้กลิ่นเปลี่ยนไป
  9. อาการท้องร่วง 
  10. การรับรสเปลี่ยนไป