อาการ "Long COVID" มีความผิดปกติแบบไหนเสี่ยงเกิดภาวะลองโควิดมากที่สุด
อาการ "Long COVID" เช็คความผิดปกติของร่างกายแบบไหนเสี่ยงเกิดภาวะลองโควิดหลังติดเชื้อมากที่สุด มี 4 ข้อบ่งชี้สังเกตได้ด้วยตัวเอง
โควิดติดแล้วไม่ใช่แค่หาย แต่ยังมีความเสี่ยงระยะยาวตามที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "หมอธีระ" เคยให้ข้อมูลได้เกี่ยวกับ อาการ "Long COVID" ซึ่งเป็นภาวะคงค้างที่เกิดขึ้นภายหลังติดเชื้อโควิด-19 โดยอาการ "Long COVID" หรือภาวะลองโควิด คือการที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีอาการต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือนหลังติดเชื้อ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงตั้งแต่ตั้น และมักพบในผู้หยิงมากกว่าผู้ชาย ระยะเวลาของอาการมีตั้งแต่หลายเดือนไม่จนถึงหลายปี หลายอาการรักษาได้ แต่หลายอาการต้องรักษาระยะยาว และอาจมีผลต่อร่างกายถาวร
ลักษณะแบบไหนเสี่ยงเกิด อาการ "Long COVID" โดยผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้วสามารถสังเกตอาการตัวเองได้ดังนี้
-เจ็บหน้าอก
-ใจสั่น
-ชามือ
-เหนื่อยจนไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้ด้วยตนเอง
อาการผิดปกติเหล่านี้จะมีอาการหลังจากติดเชื้อโควิดนาน 2 เดือน
สำหรับอาการ "Long COVID" ที่เกิดขึ้นแล้วส่วนใหญ่จะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป โดยข้อมูลระบุว่า สามารถพบอาการลองโควิดได้มากถึง 200 อาการ แบ่งอาการที่พบบ่อยได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1.อ่อนเพลีย
2หายใจไม่เต็มอิ่ม ทำกิจกรรมปกติได้ลดลงเหนื่อยง่ายขึ้น
3.ภาวะสมองเสื่อม เช่น ขาดสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อในสิ่งที่จะทำ ความจำลดลง มีปัญหาการนอนหลับ ความสามารถในการควบคุม ความคิด อารมณ์และพฤติกรรมลดลง
นอกจากนี้อาจพบอาการอื่น ๆ อีก เช่น
-ในสั่นหัวใจเต้นผิดจังหวะ
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-เส้นเลือดในสมองอุดตัน
-ลิ้มเลือดอุดตันภายในอวัยวะต่าง ๆ
-ปวดหู หรือมีเสียงในหู
-ปวดท้อง ท้องเสีย กินอาหารได้น้อยลง
-ชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
-ไม่ได้กลิ่นรับรส ได้ไม่ดี
-ผื่นตามตัว
-ผมร่วง
-รอบประจำเดือนมาไมาปกติ
ทั้งนี้ในปัจจุบันพบว่ามี 4 ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการ "Long COVID"
1.มีเชื้อไวรัสหลงเหลือในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบต่อเนื่อง
2.การอักเสบในหลายอวัยวะ ทำให้อวัยวะผิดปกติแบบถาวรส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว
3.ผลกระทบจากการรักษาและนอนโรงพยาบาลในระยะเวลานาน
4.ระบบภูมิคุ้นกันทำงานผิดปกติ ภายหลังการติดเชื้อ
ที่มา : เพจ หมอพร้อม , สสส.