โควิด-19

"โควิด" เช็คสถานะเป็นโรคประจำถิ่น ไม่ต้องถามหาไทม์ไลน์เพราะกระจายไปทั่ว

"โควิด" เช็คสถานะเป็นโรคประจำถิ่น ไม่ต้องถามหาไทม์ไลน์เพราะกระจายไปทั่ว

21 เม.ย. 2565

"โควิด" หมอยงเช็คสถานะ 10 ข้อก่อนเป็นโคประจำถิ่น ไม่ต้องหาไทม์ไลน์เพราะกระจายไปทั่ว ระบาดในครอบครัว โรงเรียน สถานที่คนเยอะ ต่อไปเหมือนไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan"  
"โควิด" 19 สถานะปัจจุบันก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือโรคประจำฤดูกาล  ยง ภู่วรวรรณ  21 เมษายน 2565  "โควิด" 19 ก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น

1. เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัส covid-19 ให้หมดไปจากโลกใบนี้ของเราได้ เราจะต้องอยู่กับไวรัสนี้ตลอดไป
2. การระบาดของโรคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการติดต่อง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคลดลง จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด
3. ระยะฟักตัวของโรคสั้น 2 ถึง 5 วัน แนวโน้มในการกักตัวสั้นลง เป็น 7 + 3 หมายถึงกักตัวแค่ 7 วัน และอีก 3 วันใช้วิธีการดูแลป้องกันการแพร่กระจายโรค

ศ.นพ.ยง ระบุต่อว่า สถานะ "โควิด" ก่อนจะเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น จะต้องมีลักษณะ เพิ่มเติม 

4. ไม่มีการหา time line เพราะโรคกระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นการยากที่จะบอก
5. การระบาดเกิดกลุ่มในครอบครัว ได้ง่าย จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน ในอนาคตการระบาดในโรงเรียน สถานที่มีคนหมู่มากเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่เราได้พบเห็น 
6. ความรุนแรงของโรค จะพบในกลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัว

7. การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยวัคซีนมีความจำเป็น ลดความรุนแรงของโรค จำเป็นที่จะต้องมีเข็มกระตุ้น
8. ยาต้านไวรัส จะมีการพัฒนาออกมา และจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง
9. การศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ มาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรค ป้องกัน รักษามีความจำเป็น
10. มาตรการในการป้องกันโรค สุขอนามัย ล้างมือ หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่าง ยังมีความจำเป็น จนกว่า โรคนี้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือประจำฤดูกาลเช่นโรคทางเดินหายใจทั่วไป การใช้ต่อไปก็มีประโยชน์ต่อโรคทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น  หรือตามฤดูกาล ก็ยังคงต้องติดตามความรุนแรงของโรค การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ของโรคให้อยู่ในสภาวะควบคุมได้