โควิด-19

อึ้งมั้ย ภาวะ "Long Covid" หมอธีระ เปิดผลวิจัยเจอถึง 2 ล้านราย

อึ้งมั้ย ภาวะ "Long Covid" หมอธีระ เปิดผลวิจัยเจอถึง 2 ล้านราย

03 มิ.ย. 2565

"หมอธีระ" เปิดผลงานวิจัย ช่วงอายุ พบภาวะ "Long COVID" มากที่สุด เจอถึง 2 ล้านราย ส่วนใหญ่จากสายพันธุ์ โอไมครอน Omicron

(3 มิ.ย.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” เปิดงานวิจัยจากประเทศอังกฤษ ถึงการศึกษา ภาวะ Long COVID ซึ่งพบว่า มีมากถึง 2 ล้านราย และผลกระทบที่มีต่อร่างกายยะยาว มีรายละเอียดดังนี้..

อัพเดต Long COVID 

 

Office for National Statistics ของสหราชอาณาจักร รายงานล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา จากการประเมินจนถึงต้นเดือนพฤษภาคม 2565 พบว่า มีประชากรราว 2 ล้านคน ที่รายงานว่าประสบปัญหา Long COVID อยู่ ทั้งนี้ช่วงอายุที่ประสบปัญหามากที่สุดคือ 35-69 ปี และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

 

 

ทั้งนี้ จำแนกเป็น 376,000 คน ที่มีอาการมานานอย่างน้อย 2 ปี, 826,000 คนที่มีอาการมานานอย่างน้อย 1 ปี, 1,400,000 คน ที่มีอาการมานานกว่า 12 สัปดาห์ และอีก 442,000 คน ที่เพิ่งมีอาการผิดปกติมานานน้อยกว่า 12 สัปดาห์ ในกลุ่มที่รายงานว่ามีอาการ Long COVID ทั้งหมดนั้น 30% เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อก่อนที่ สายพันธุ์อัลฟา จะระบาด, 12% ติดเชื้อในช่วงอัลฟาระบาด, 21% ติดเชื้อในช่วง สายพันธุ์เดลตาระบาด, และ 31% ติดเชื้อในช่วงสายพันธุ์ โอไมครอน 1,400,000 คน รายงานว่า การประสบปัญหา Long COVID นั้น กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอีกเกือบสี่แสนคนรายงานว่า ทำให้เกิดผลกระทบอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน การป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอไม่ให้ติดเชื้อ คือหนทางที่จะป้องกัน Long COVID ได้ ใส่หน้ากากนะครับ สำคัญมาก 

ขณะเดียวกัน "หมอธีระ" อัปเดตสถานการณ์โควิด วันที่ 3 มิถุนายน 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 513,531 คน ตายเพิ่ม 1,312 คน รวมแล้วติดไป 533,946,017 คน เสียชีวิตรวม 6,317,051 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีเหนือ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และบราซิล เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 66.92 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 55.1 การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 43.74 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 18.9

 

สถานการณ์ระบาดของไทย 

 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนติดเชื้อที่รายงานของไทยนั้นไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่นได้ เพราะหลัง 1 มิ.ย. มีการประกาศปรับมารายงานเพียงจำนวนคนป่วย ไม่ใช่รายงานการติดเชื้อใหม่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย ถึงแม้ สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมา จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

 

 

ทั้งนี้ จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานคิดเป็น 13.7% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย (อย่างไรก็ตามหากปรับตามคาดประมาณสัดส่วนของคนที่มีโรคร่วมเหมือน UK จะพบว่าอาจพุ่งไปถึง 19.75%)