เดือนเดียว คนติด โอไมครอน BA.4 พุ่งเกินครึ่ง พีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2
ศูนย์จีโนมทางการเเพทย์ ถอดรหัสพันธุกรรม โอไมครอน พบ 30 วันที่ผ่านมา เจอคนติดโควิด 5 สายพันธุ์ BA.4 มาเเรงคนติดเกินครึ่ง พีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2 และยังไม่พบสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รายงานข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรม "โควิด" ตลอด 2 ปี พบว่า จากการถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจาก รพ. ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบการติดเชื้อ โอไมครอน สายพันธุ์ย่อย 5 สายพันธุ์
- BA.1 ร้อยละ 2.2
- BA.2 ร้อยละ 13
- BA.4 ร้อยละ 54.3
- BA.5 ร้อยละ 26.1
- BA.2.12.1 ร้อยละ 4.3
ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75
โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า ได้ดำเนินการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม (Whole SARS-CoV-2 genome sequencing) และจีโนไทป์ (MassARRAY Genotyping) มาตลอด 2 ปี เพื่อตรวจสอบสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของ "โควิด" อันมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินประสิทธิภาพรวมทั้งการปรับเปลี่ยน ยาต้านไวรัส และ แอนติบอดีสังเคราะห์(monoclonal antibody) เพื่อการรักษาอย่างจำเพาะ (precision medicine) ให้สอดคล้องกับโอไมครอน สายพันธุ์ย่อยที่ผู้ป่วยกำลังติดเชื้อ
จากการถอดรหัสพันธุกรรมสิ่งส่งตรวจจาก รพ. ต่างๆในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบโอไมครอน สายพันธุ์ย่อย
- BA.1 ร้อยละ 2.2
- BA.2* ร้อยละ 13
- BA.4* ร้อยละ 54.3
- BA.5* ร้อยละ 26.1
- BA.2.12.1 ร้อยละ 4.3
ยังไม่พบโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5.3.1 และ BA.2.75
โอไมครอน BA.4 และ BA.5 พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ในเดือนมกราคม 2565 จากนั้นได้มีแพร่ระบาดไปทั่วโลก
สัดส่วนการแพร่ระบาดของ BA.4 และ BA.5 ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน
- ประเทศแอฟริกาใต้ พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
- ประเทศโปรตุเกส พบ BA.5>BA.4 ในสัดส่วน 4 ต่อ 1
- ประเทศสหราชอาณาจักร พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 2.3 ต่อ 1
- ประเทศสหรัฐอเมริกา พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 1 ต่อ 1
- ประเทศไทย พบ BA.4>BA.5 ในสัดส่วน 4.4 ต่อ 1
ทั้งนี้ยังพบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4 ในไทย ขณะนี้มีพีกสูงกว่า BA.1 และ BA.2 ที่ระบาดผ่านมาในอดีต
BA.4 ที่ระบาดในประเทศไทยในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมามีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ถึง 157% เปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน (BA.5)
BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 7 ตำแหน่ง
BA.5 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.4 จำนวน 1 ตำแหน่ง
บริเวณหนาม BA.4 กลายพันธุ์ต่างจาก BA.5 จำนวน 1 ตำแหน่ง
ยังไม่มีข้อมูลทางคลินิกของ BA.4 และ BA.5 จากทั่วโลกมากพอที่จะสรุปว่าโอไมครอนสองสายพันธุ์ย่อย มีความรุนแรงในการก่อโรค หรือมี “severity” (เข้ารักษาตัวใน รพ. หรือ เสียชีวิต) ต่างกันหรือไม่
เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่
Website - www.komchadluek.net
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057