"โควิดรีบาวด์" ภาวะใหม่เจอเชื้อซ้ำ เช็คอาการเป็นยังไง ใครคือกลุ่มเสี่ยง
"โควิดรีบาวด์" ภาวะใหม่เจอเชื้อซ้ำอีกครั้ง เช็คอาการ ภาวะโควิดรีบาวด์ เป็นอย่างไรรุนแรงหรือไม่ เป็นแล้วต้องรักษาอีกรอบมั้ย ใครบ้างเป็นกลุ่มเสี่ยง
ช่วงนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า "โควิดรีบาวด์" มากขึ้น เริ่มต้นมาจากที่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตรวจเจอเชื้อโควิด19 อีกครั้ง หลังจากที่หายจากโควิดประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ตรวจแล้วกลับมาเจอเชื้อ โควิด ซ้ำอีกรอบซึ่งกรณีการเกิด "โควิดรีบาวด์" ได้สร้างความตกใจให้แก่ประชาชนอย่างมาก สำหรับประเทศไทยเองวานนี้กระทรวงสาธารณสุขได้มีการแถลงข่าว ว่า ไทยเจอผู้ป่วยโควิดที่เจอภาวะ "โควิดรีบาวด์" โดยพบในผู้ติดเชื้อสูงอายุ หลายคนคงเกิดความสับสนกับภาวะรีบาวด์ ว่าจะอันตรายหรือเทียบเท่ากับการกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกรอบหรือไม่
ศ.นพ.ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ หมอธีระวัฒน์ ให้สัมภาษณ์ กับ "คมชัดลึกออนไลน์" เกี่ยวกับ "โควิดรีบาวด์" ว่า ภาวะดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ติดเชื้อโควิดหายแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรือบางรายเกิดขึ้นนานกว่า 30 วัน โดยลักษณะอาการที่พบ และสามารถบอกได้ว่าคือ ภาวะรีบาวด์ จะมี 3 ลักษณะ คือ
1.มีเชื้อกลับมาใหม่ จากการตรวจด้วยวิธี RT-PCR และตรวจ ATK หลังจากหายติดเชื้อแล้ว
2. มีอาการกลับมาใหม่ ได้แก่ ไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจไม่เต็มอิ่ม เหนื่อยล้า ปวดกล้ามเนื้อปวดหัว เจ็บคอ จมูกคัด น้ำมูกไหล ไม่รับรส กลิ่น อาเจียน ท้องเสีย ผื่น
3.ต้องเข้าโรงพยาบาล เนื่องจากอาการหลัก
โดยภาวะ "โควิดรีบาวด์" มักจะเกิดจากหารใช้ยาต้านไวรัส 2 ตัว คือ โมลนูพิราเวียร์ และ แพ็กซ์โลวิด โดยผู้ติดเชื้อที่ใช้ยาต้านไวรัสทั้ง 2 ตัว มีโอกาสการเกิดภาวะโควิดรีบาวด์ ดังนี้
สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ยาแพ็กโลวิด (paxlovid) เกิด ภาวะโควิดรีบาวด์ ในช่วง 7 วัน และ 30 วัน แยกตามลักษณะที่เกิด ดังนี้
- ลักษณะที่หนึ่ง 3.53% และ 5.4%
- ลักษณะที่สอง 2.31 % และ 5.87%
- ลักษณะ ที่ สาม 0.44% และ 0.77%
เกิด ภาวะโควิดรีบาวด์ ในช่วง 7 วัน และ 30 วัน แยกตามลักษณะที่เกิด ในช่วง 7 วัน และ 30 วัน ดังนี้
- ลักษณะที่หนึ่ง 5.86% และ 8.59%
- ลักษณะที่สอง 3.75% และ 8.21%
- ลักษณะที่สาม 0.84% และ 1.39%
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า ภาวะ "โควิดรีบาวด์" ไม่ได้เกิดกับทุกคนที่ติดเชื้อโควิด ซึ่งผู้ที่พบว่ามีอัตราการเกิดภาวะโควิดรีบาวด์มักจะเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีโรคหัวใจ ความดันสูง มะเร็งโรคอัมพฤกษ์ โรคปอด โรคไตโรคตับ อ้วน เบาหวาน โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน การได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ รวมถึงการให้ยาต้านภูมิคุ้มกัน และไม่เกี่ยวพันกับการได้รับวัคซีนหรือไม่ ทั้งนี้ภาวะดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นอันตรายหากมีอาการโควิดกลับมาเป็นอีกรอบก็ให้รักษาตามอาการได้เลย แต่ส่วนใหญ่อาการมักจะสงบไปเอง ดังนั้นประชาชนไม่ต้องตื่นตระหนก เพราะภาวะโควิดรีบาวด์ไม่ได้เป็นอันตราย และไม่ใช่ภาวะที่อยู่คงที่ตลอดไป