โควิด-19

เทียบ "อาการโควิด" และ "ไข้หวัดใหญ่" ก่อนเป็น โรคติดต่อ เฝ้าระวังลำดับที่ 57

เทียบ "อาการโควิด" และ "ไข้หวัดใหญ่" ก่อนเป็น โรคติดต่อ เฝ้าระวังลำดับที่ 57

09 ส.ค. 2565

เทียบชัด "อาการโควิด" และ "ไข้หวัดใหญ่" ก่อนประกาศให้เป็น โรคติดต่อ เฝ้าระวังลำดับที่ 57 โรคระบาด เหมือนกันแต่ระดับความรุนแรง อาการ ต่างกัน

ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีแนวทาง กำหนดให้ โควิด เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังลำดับที่ 57 เช่นเดียวกับ ไข้หวัดใหญ่ และ ไข้เลือดออก โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ผู้ติดเชื้อเริ่มลดลง สำหรับการปรับลดระดับความอันตรายของ โควิด ให้เทียบเท่ากับ ไข้หวัดใหญ่ นั้น คงทำให้หลายคนเกิดความสับสนถึงแนวทางการปฏิบัติตัว ว่าจะต้องทำอย่างไรต่อไป รวมไปถึงลักษณะ "อาการโควิด" และ อาการ "ไข้หวัดใหญ่" ว่ามีความรุนแรง และ มีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) 


เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน "อาการไข้หวัดใหญ่" ที่พบนั้น มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไข้หวัดใหญ่ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ และโรคติดเชื้ออุบัติซ้ำ เนื่องจากเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก (pandemic) มาแล้วหลายครั้ง  


ไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อได้ทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด  นอกจากนี้การแพร่เชื้ออาจเกิดโดยการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย (droplet transmission) จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก สาเหตุของการติดเชื้อในคนที่พบในปัจจุบันได้แก่ A(H1N1), A(H1N2), A(H3N2), A(H5N1) และ A(H9N2) 

 

โดย ไข้หวัดใหญ่ จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่นตั้งแต่ 1 วันก่อนมีอาการ ส่วนเด็กอาจจะแพร่เชื้อได้นาน 7 วัน คนที่ไม่ได้รับเชื้อและไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้เช่นกัน  

โควิด19 (COVID-19)


เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนา (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอของไวรัสชนิดนี้มาจากสัตว์ที่เป็นตัวกลางที่แพร่เชื้อสู่คนสามารถแพร่เชื้อจากสารคัดหลั่ง เช่น การไอหรือจาม น้ำลาย อาการเบื้องต้นหากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้และพบความผิดปกติด้านระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่าบางรายที่มีโรคประจำตัวหรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้โควิดยังสามารถกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา ทำให้เมื่อติดเชื้อเข้าไปในร่างกาย มักจะลามไปสู่ปอดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวม ปอดอักเสบได้มากกว่าไข้หวัดใหญ่มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย จะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ  2-14 วัน 

 

สำหรับ "อาการโควิด"  และ "ไข้หวัดใหญ่"   มีความคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน สามารถสังเกตได้ดังนี้  

"อาการไข้หวัดใหญ่" 
-มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเชียส 
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก 
-ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย หนาวสั่น 
-คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ  ไอแห้ง 
-บางรายอาเจียน คลื่นไส้

"อาการโควิด" 
-มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส 
-เหนื่อยล้ามาก ปวดเกล้ามเนื้อ 
-ปวดศรีษะ  
-เบื่ออาหาร 
-เจ็บคอ มีน้ำมุก ไอแห้ง หายใจลำบาก
-แพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 48 ชั่วโมงก่อนมีอาการ 

 

ขอบคุณข้อมูล:  ศิครินทร์ ,กรมควบคุมโรค

ติดตาม คมชัดลึก ที่นี่
Facebook : https://www.facebook.com/komchadluek/
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote ได้ที่นี่ (https://awards.komchadluek.net/#)