โควิด-19

"LAAB" ยาฉีดป้องกันโควิด ผลทดลองระยะที่ 3 ช่วยลด ติดโควิด แบบมีอาการได้ดี

"LAAB" ยาฉีดป้องกันโควิด ผลทดลองระยะที่ 3 ช่วยลด ติดโควิด แบบมีอาการได้ดี

06 ก.ย. 2565

"LAAB" ยาฉีดป้องกันโควิด แอสตร้าเซนเนก้า เผยผลทดลองระยะที่ 3 ช่วยลดอัตราการ ติดโควิด แบบมีอาการได้ 77 % ล้างฤทธิ์โอไมครอน BA.5 ได้ดี

ยาแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวแบบผสม AZD7442 (ส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีสองชนิด ได้แก่ tixagevimab และ cilgavimab) หรือ "LAAB" ของ แอสตร้าเซนเนก้า ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้สำหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 และการรักษา โควิด-19 แบบมีอาการ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติยานี้เพื่อวัตถุประสงค์เพื่อการรักษา

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่น (MHLW) ได้อนุมัติใช้ยา "LAAB" ในกรณีฉุกเฉินสําหรับผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยจะใช้กับผู้ป่วยที่ไม่แนะนําให้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 และผู้ที่อาจมีการตอบสนองต่อวัคซีนป้องกันโควิด-19ไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยผู้รับยา "LAAB" เพื่อการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อจะต้องไม่เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อในขณะรับยา หรือเพิ่งสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

ในด้านการรักษา ยา "LAAB" ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และมีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม โดยเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 รุนแรงซึ่งไม่ต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน

ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ คาซึฮิโระ ทาเทดะ แห่งภาควิชาจุลชีววิทยาและโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยโทโฮ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า โควิด-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในวงกว้าง ประชากรในประเทศญี่ปุ่นจำนวนมาก รวมทั้ง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคประจําตัว และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรงจาก โควิด-19 ยา "LAAB" จึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่จําเป็นยิ่งในการป้องกันในระยะยาวแก่ผู้ที่มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ไม่เพียงพอหลังการฉีดวัคซีน และจะช่วยป้องกันอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 และลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ที่ติดเชื้อได้  


ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ อิตารุ มัตสึมูระ ประธานภาควิชาโลหิตวิทยาและโรคไขข้อ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยคินได เมืองโอซึกะ กล่าวว่า  แม้ประเทศญี่ปุ่นจะมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและมาตรการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีผู้ป่วยติดเชื้อใหม่เป็นจํานวนมาก คาดว่าการอนุมัติใช้ยา "LAAB" จะเป็นทางเลือกในการป้องกันโรคสําหรับผู้ที่ไม่สามารถตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ได้เพียงพอ เช่น ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด 

เมเน แพนกาลอส รองประธานบริหารฝ่ายวิจัยและพัฒนาด้านยาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceuticals) ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “การอนุมัติใช้ยา "LAAB" ในประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นความสำเร็จก้าวสําคัญของเราที่พยายามเสาะหาทุกวิถีทางในการต่อสู้กับโควิด-19 ปัจจุบัน "LAAB" เป็นยาที่มีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาวสองชนิดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้สำหรับทั้งการป้องกันและการรักษาโควิด-19 ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการปกป้องผู้ป่วยกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากโรคร้ายแรงนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น”


การอนุมัติครั้งนี้พิจารณาจากข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากโครงการศึกษาทางคลินิกของ LAAB รวมถึงการทดลองการป้องกันโรคก่อนการสัมผัสเชื้อพรูฟเวนท์ (PROVENT) ในระยะที่ 3 และการทดลองการรักษาผู้ป่วยนอกแท็คเคิล (TACKLE) ในระยะที่ 3 และการศึกษาระยะที่ 1 ในประเทศญี่ปุ่น จากการศึกษาพรูฟเวนท์ ยา "LAAB" สำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาด 300 มก. (IM) ในการวิเคราะห์ผลเบื้องต้นพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 แบบมีอาการได้ถึง 77% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) อย่างมีนัยสำคัญ (95% ช่วงความเชื่อมั่น การวิเคราะห์ผลด้วยการติดตามที่ยาวนานขึ้นแสดงให้เห็นว่ายา LAAB สามารถลดความเสี่ยงสัมพัทธ์ (RRR) ในการติดเชื้อ โควิด-19 แบบมีอาการได้ถึง 83% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 66, 91) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยมีค่ามัธยฐานในช่วงระยะเวลาติดตามหลังการได้รับยาไปแล้วถึง 6 เดือน1 

ผลลัพธ์หลัก (primary endpoint) ของการทดลองแท็คเคิล พบว่า ยา "LAAB" สำหรับฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ยูนิต ขนาด 600 มก. สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ) ได้ถึง 50% (95% ช่วงความเชื่อมั่น หลังจากได้รับยาไปแล้ว 29 วัน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ในผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีอาการในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน2

จากการวิเคราะห์แบบ pre-specified ผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการ และได้รับยาภายในช่วง 3 วันแรก พบว่า LAAB สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรครุนแรง หรือเสียชีวิต (จากทุกสาเหตุ) ได้ถึง 88% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 9, 98) และยังลดความเสี่ยงถึง 67% (95% ช่วงความเชื่อมั่น (CI) 31, 84) ในกลุ่มที่ได้รับยาภายใน 5 วันหลังแสดงอาการ2

"LAAB" มีผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ดี ปริมาณการใช้ยาที่แนะนําสําหรับการป้องกันโรคโควิด-19 แบบมีอาการ ในประเทศญี่ปุ่น คือ tixagevimab และ cilgavimab อย่างละ 150 มก. โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสองจุดต่อเนื่องกัน ในบางกรณีอาจมีการใช้ที่ปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นอย่างละ 300 มก. ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ระบาด ส่วนปริมาณการใช้ยาที่แนะนำเพื่อการรักษาโควิด-19 คือ tixagevimab และ cilgavimab อย่างละ 300 มก. โดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสองจุดต่อเนื่องกัน

ผลการศึกษาในห้องทดลองพบว่ายา "LAAB" สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอนที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึงสายพันธุ์ย่อย BA.5 และ BA.2.3,4

"LAAB" ยังได้รับอนุมัติให้ใช้เพื่อการป้องกันโรคก่อนการสัมผัสเชื้อโรคโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา (อนุมัติการใช้ในกรณีฉุกเฉิน) สหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ โดยในปัจจุบัน มีการยื่นเรื่องขออนุมัติใช้ยาเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและการรักษามากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก  


จากการศึกษา พรูฟเวนท์ (PROVENT) ระยะที่ 3 ในการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of Medicine มีข้อมูลเบื้องต้น สนับสนุนว่า AZD7442 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน แสดงถึงการลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคโควิด-19 แบบมีอาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (77% ของการวิเคราะห์เบื้องต้น 83% การวิเคราะห์มัธยฐานที่ระยะเวลา 6 เดือน) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo)  การทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงการป้องกันไวรัสที่ยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน1 มากกว่า 75% ของจำนวนผู้เข้าร่วมการศึกษาพรูฟเวนท์ (PROVENT) มีโรคประจำตัว ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรง ซึ่งรวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและอาจมีภูมิคุ้มกันตอบสนองไม่เพียงพอต่อการรับวัคซีน

ผลการทดลองแท็คเคิล (TACKLE) การศึกษาระยะที่ 3 สำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ในกลุ่มผู้ป่วยนอก ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Respiratory Medicine แสดงให้เห็นว่า AZD7442 ของแอสตร้าเซนเนก้า สามารถป้องกันการการเกิดโรคแบบรุนแรง หรือการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกและทางสถิติ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (Placebo) โดยการรักษาด้วย AZD7442 ในระยะเริ่มต้นของโรคนั้น สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น 2  การทดลองแท็คเคิลดำเนินการศึกษาผู้ร่วมโครงการที่เป็นผู้ป่วยนอก ซึ่งมีอาการเจ็บป่วยจากโรคโควิด-19 เล็กน้อยถึงปานกลางในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน นอกจากนั้น 90% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีโรคประจำตัวและภาวะต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงจากโรคโควิด-19 เช่น มะเร็ง เบาหวาน โรคอ้วน โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิ